เด็ก ติดเชื้อในลำไส้ เพราะคายเสมหะไม่เป็น! - amarinbabyandkids

แชร์จากเรื่องจริง! ลูกติดเชื้อในลำไส้ เพราะคายเสมหะไม่เป็น

event

เด็ก ติดเชื้อในลำไส้

ด้วยสายดูด

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังดูดเสมหะ
  • ในกรณีเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือ ให้ใช้ผ้าห่อตัวเพื่อเก็บแขนทั้ง 2 ข้างป้องกันไม่ให้เด็กเอามือมาปัดและดันขณะดูด ทำให้ดูดเสมหะได้สะดวกและนุ่มนวล
  • ก่อนดูดเสมหะให้ตรวจเครื่องดูดเสมหะว่าทำงานดีหรือไม่
  • ใช้สายดูดเสมหะขนาดพอดีไม่ใหญ่-เล็กเกินไป และใช้แรงดูดและใช้แรงดูด (90 – 120 mmHg) ในขนาดพอที่จะดูดเสมหะได้ดี
  • ขณะดูดเสมหะให้จับหน้าเด็กหันเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กสะบัดหน้าไปมาขณะดูด และป้องกันไม่ให้เด็กสำลักเสมหะหรือเศษอาหารลงปอดเมื่อเด็กมีอาเจียนขณะดูด ค่อย ๆ สอดสายดูดเสมหะเข้าทางปากหรือ ช่องจมูกให้ถึงบริเวณคอหอยหลังโพรงจมูก (ประมาณความลึกของสายโดยวัดระยะจากปลายจมูกถึงติ่งหูความลึกของสายเท่ากันไม่ว่าจะสอดสายดูดเสมหะเข้าทางปากหรือช่องจมูก)  ซึ่งเด็กมักจะเกิดอาการไอเมื่อใช้สายดูดเสมหะกระตุ้นบริเวณนี้  เมื่อเด็กไอเสมหะจะหลุดจากปอดขึ้นมาในคอ ทำการดูดเสมหะในคอและปากออกให้หมดโดยขณะดูดให้ค่อย ๆ ขยับสายขึ้นลงอย่างช้า ๆ และนุ่มนวล
  • ทำการดูดเสมหะจนกระทั่งไม่มีเสมหะในปอด
  • สังเกตลักษณะ จำนวน และสีของเสมหะ

√ ข้อแนะนำเพิ่มเติม 

  • ถ้าเด็กไม่มีน้ำมูกให้สอดสายดูดเสมหะผ่านปาก  เพราะการสอดสายเข้าทางช่องจมูก จะทำให้เด็กเจ็บมากกว่าการสอดสายเข้าทางปาก
  • การสอดสายเข้าในช่องจมูกให้ค่อย ๆ สอดสายอย่างนุ่มนวล  โดยสอดสายให้โค้งขึ้นด้านบนเล็กน้อยแล้วย้อนลงสู่ด้านล่างสายจะค่อย ๆ เคลื่อนไปตามช่องจมูก ถ้าสอดสายแล้วรู้สึกติด ห้ามกระแทก หรือดันให้ถอนสายออกมาเล็กน้อย แล้วจึงค่อย ๆ พยายามสอดใหม่หากสอดสายไม่เข้าให้เปลี่ยนไปใส่ช่องจมูกอีกข้างแทน
  • ขณะสอดสายดูดเสมหะเข้าในช่องจมูก  ให้ทำการดูดเมื่อมีน้ำมูกในโพรงจมูก หรือเด็กมีอาการไอ เพราะถ้าไม่มีน้ำมูกในโพรงจมูกสายดูดเสมหะจะดูดเนื้อเยื่อในโพรงจมูกทำให้เกิดการอักเสบและบวมได้
  • อย่าลืมให้เด็กพักเป็นระยะ ๆ ในระหว่างทำการดูดเสมหะเพื่อไม่ให้เด็กเหนื่อย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

การทำความสะอาดสายดูดเสมหะ

ภายหลังดูดเสมหะเสร็จให้นำสายดูดเสมหะดูดน้ำประปาเพื่อล้างเสมหะที่ติดภายในสายออกให้มากที่สุด  แล้วนำไปแช่ในน้ำยาล้างจาน หรือน้ำสบู่จากนั้นนำมาทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจานหรือน้ำสบู่อีกครั้ง   โดยใช้ฟองน้ำลูบเสมหะที่ติดภายนอกสายออกให้หมด เปิดน้ำประปาให้ไหลผ่านสายเพื่อชะล้างคราบเสมหะออกให้หมด  ส่วนคราบเสมหะที่อาจติดอยู่ภายในสาย  ให้ใช้กระบอกฉีดยาฉีดน้ำเข้าไปในสายแรง ๆ เพื่อดันคราบเสมหะที่ติดออกให้หมด  สะบัดน้ำที่คาในสายออกให้มากที่สุด  แล้วนำมาเก็บไว้ในกล่องสะอาดที่มีฝาปิดเพื่อเตรียมไว้ใช้ต่อไป  หลังดูดเสมหะเสร็จอย่าลืมปลอบโยนเด็กโดยการอุ้ม  หรือโอบกอดจนเด็กสงบ และหยุดร้องไห้

การดูดเสมหะมีอันตรายหรือไม่

การดูดเสมหะที่ถูกวิธีจะมีอันตรายน้อยมาก  ส่วนมากจะมีปัญหาเลือดออกถึงแม้จะระวังเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม  แต่เลือดที่ออกนี้สามารถหยุดได้เองถ้าเลือดออกมากผิดปกติให้ปรึกษาแพทย์

อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นลูกมีอาการหอบ ไข้สูง เสมหะเหนียว เบื่ออาหาร การให้สารน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งจำเป็น และควรพาลูกไปพบแพทย์   ในรายที่แพทย์ตรวจพบกว่ามีการหายใจเร็ว หอบ ชายโครงบุ๋ม กระวนกระวาย หรือซึม มีออกซิเจนต่ำ อาจพิจารณาให้ออกซิเจนด้วย หากได้ยินเสียงวี๊ดให้ใช้ยาขยายหลอดลม และพิจารณาให้ยาขับเสมหะหรือยาละลายเสมหะในรายที่อาการไอและมีเสมหะมาก ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดทรวงอก ได้แก่ การจัดท่าระบายเสมหะ การเคาะปอด และช่วยดูดเสมหะเพื่อช่วยระบายเสมหะที่คั่งค้างในหลอดลมออกมาได้

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณเรื่องราวและภาพจาก : เฟสบุ๊คชื่อ ไอ่’ ลูก น้ำ

ขอบคุณข้อมูลจาก : med.mahidol.ac.th , www.thaipedlung.org

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up