AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

โรคเท้าปุก คืออะไร พร้อม 4 วิธีสังเกต

เครดิต: drmichael

โรคเท้าปุก โรคที่พบได้ในเด็กแรกเกิด พร้อมวิธีสังเกตดูว่าลูกหลานเป็นปุกแท้หรือว่าปุกเทียม

 

 

เท้าปุก  หรือเรียกอีกอย่างว่า Clubfoot ในทางการแพทย์ได้อธิบายถึงอาการดังกล่าวว่า เป็นความผิดปกติของรูปเท้าแต่กำเนิดชนิดหนึ่ง อาจเกิดขึ้นได้กับเท้าเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ และมักจะเกิดขึ้นในเด็กที่ไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจจะส่งผลให้เด็กมีความพิการ ทำให้ต้องเดินด้วยหลังเท้าหรือปลายเท้า รวมถึงไม่สามารถใส่รองเท้าได้ด้วยเช่นกัน

จากสติถิทั่วโลกนั้นพบว่า โรคเท้าปุก พบได้ในทารกแรกเกิด 1 คนจากจำนวนทารกทั้งสิ้น 1,000 คน และถ้าหากในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคดังกล่าว โอกาสที่ลูกจะเป็นนั้นก็มีโอกาสสูงกว่าปกติเช่นกัน

 

โรคเท้าปุก เกิดได้อย่างไร?

แม้แต่นักวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ก็ยังไม่ทราบว่า เท้าปุกที่พบในเด็กที่ร่างกายส่วนอื่นปกติและเป็นตั้งแต่กำเนิดนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร แต่พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนั้นมาจากการที่คุณพ่อคุณแม่เป็นโรคดังกล่าว หรือเคยมีลูกที่เป็นเท้าปุก ลูกที่จะคลอดออกมาก็มีความเสี่ยงในการเป็นเท้าปุกมากกว่ากรณีพ่อแม่ที่ไม่เป็น แต่ก็พบได้น้อยมากกับทารกที่เกิดในครอบครัวที่ไม่มีประวัติค่ะ

อาการของโรคเป็นอย่างไร คลิก

 

อาการของโรค

โรคนี้ไม่มีอาการอะไรนอกเสียไปจากการที่ผู้ป่วยมีรูปเท้าที่บิดเบี้ยวจนดูเหมือนไม้ตีกอล์ฟ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถเดินได้เหมือนคนปกติ และหากไม่รีบรักษาก็จะมีอาการเจ็บปวดเมื่อโตขึ้น สาเหตุนั้นเป็นเพราะเกิดการสึกหรอของกระดูกและข้อต่อที่บิดเบี้ยว หรือผิวหนังเท้าส่วนที่หนาตัวขึ้นเพื่อรับน้ำหนักทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรังเพิ่มขึ้นมาได้

โรคเท้าปุกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.เท้าปุกเทียม คือ ไม่มีความผิดปกติที่แท้จริงกับโครงสร้างเท้า แต่รูปเท้าบิดเกิดจากเด็กขดตัวแน่นอยู่ในครรภ์ เท้าถูกกดอยู่ในท่าบิดเข้าด้านในเป็นเวลานาน อาจทำให้เอ็นเท้าด้านในตึง ในขณะที่เอ็นเท้าด้านนอกหย่อน เท้าปุกชนิดนี้พบได้บ่อยในทารก

2.เท้าปุกแท้ คือ เท้าแข็ง ถ้าไม่ได้รับการรักษา เท้าจะบิดแข็ง มากขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อเด็กโตขึ้นจะใช้หลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักเวลาเดิน ซึ่งทำให้เดินลำบาก ทรงตัวยาก เจ็บปวดได้บ่อย ใส่รองเท้าทั่วไปไม่ได้

 

โรคเท้าปุกแท้หรือเทียมสังเกตอย่างไร?


รักษาได้หรือไม่ คลิก!

เครดิต: Advanced Foot And Ankle Center of San Diego

 

เท้าปุก รักษาได้หรือไม่?

ในปัจจุบันโรคนี้ สามารถรักษาให้หายจนปกติหรือเกือบปกติได้โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดใหญ่เลยละค่ะ ขอเพียงแต่ได้รับการรักษากับแพทย์ที่ได้ฝึกฝนการรักษาด้วยวิธีพอนเซตี้เท่านั้น เรียกได้ว่าการรักษาด้วยการผ่าตัดที่เคยเป็นที่นิยมในอดีตนั้นได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วละค่ะ

เด็กที่เป็นเท้าปุก ควรได้รับการรักษาภายใน 2-3 อาทิตย์แรกหลังคลอด อาศัยความได้เปรียบในขณะที่เนื้อเยื่อของ เอ็นข้อ เอ็นกระดูก เอ็นกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อหุ้มข้อ ยังพอมีความยืดหยุ่นอยู่ ด้วยการดัดที่ถูกต้องทุก ๆ อาทิตย์ ซึ่งเนื้อเยื่อเหล่านี้จะค่อย ๆ ยืดออก ภายหลังการดัดแต่ละครั้ง เท้าจะได้รับการเข้าเฝือกจากปลายเท้าจนถึงโคนขาในท่าที่เข่างอ 90 องศา เพื่อบังคับเท้าให้อยู่ในท่าที่ดัดได้ ดังนั้น เท้าจะค่อย ๆ ถูกดัดให้เป็นปกติในที่สุด

และต่อให้เด็กกลับจะมามีเท้าปกติแล้วก็ตาม ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่นะคะ ดังนั้น หลังสิ้นสุดการเข้าเฝือก จะต้องใส่กายอุปกรณ์เท้า (Abduction foot orthosis) (รูป 6) ทั้งวันทั้งคืน 2-3 เดือน และใส่เฉพาะกลางคืนหรือเวลานอนอีก 4 ปี ก็จะหายเป็นปกติหรือเกือบปกติ สามารถดำเนินชีวิตและเล่นกีฬาได้เหมือนเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ปกติทั่ว ๆ ไปเลยละค่ะ

มาถึงตอนนี้แล้วสำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่กำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ ไม่ต้องกังวลไปนะคะ โรคเท้าปุก รักษาหายได้หากรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่สำคัญต้องมีวินัยในการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์กันด้วยนะคะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

เครดิต: หาหมอ และ นาวาอากาศเอก นายแพทย์อำนวย จิระสิริกุล กองออร์โธปิดิกส์ รพ. ภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ., พ.ญ.ปาริชาต เทียบรัตน์ ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อ (เฉพาะทางโรคกระดูกในเด็ก) โรงพยาบาลเวชธานี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาศัลศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยแห่งไอโอว่า เมืองไอโอว่าซิตี้

อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids