AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

การเลือกของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

การเล่น ของเล่น กับเด็กเป็นสิ่งที่คู่กัน มีผู้ให้คำจำกัดความของการเล่นว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ อีกทั้งเป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานแก่เด็ก และยังทำให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์และความรู้ให้แก่เด็ก โดยประสบการณ์ที่เด็กได้จากการเล่นจะนำไปสู่การรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ดังนั้นการเล่นจึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ของเด็ก   เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเมื่อเด็กเติบโตขึ้น

การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นก็เรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย และผลต่อพัฒนาการที่จะตามมา ในขณะที่ผู้ผลิตของเล่นต่างแข่งขันผลิตออกมาขายจำนวนมาก บางครั้งผู้บริโภคไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้แต่คำอธิบายจากตัวสินค้าก็ไม่ละเอียดพอที่จะเข้าใจ ทำให้บางคนซื้อของเล่น ให้ลูกเพราะคิดว่ามันน่าจะดีเท่านั้น ซึ่งของเล่นสำหรับเด็ก  ควรมีลักษณะดังนี้

  1. ของเล่นเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นของเด็ก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการ
  2. ของเล่นเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ในชีวิต
  3. ของเล่นที่เหมาะสมจะส่งเสริมความสามารถและทักษะทางการเคลื่อนไหวที่ดี

หลักในการเลือกของเล่นที่ดี

1. เลือกของเล่นให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก โดยมีหลักการ ดังนี้

ยกตัวอย่าง : ของเล่นที่ง่ายเกินไป จะทำให้เด็กเบื่อ ไม่อยากเล่น ไม่ให้ความสนใจ ของเล่นที่ยากเกินไป จะบั่นทอนความสนใจ ทำให้เด็กรู้สึกท้อถอย

2. คำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ โดย

3. คำนึงถึงส่วนประกอบและวัสดุที่ใช้

อ่านต่อ >> “ของเล่นสำหรับเด็กช่วงวัยต่าง ๆ” คลิกหน้า 2 

ของเล่นสำหรับเด็กช่วงวัยต่าง ๆ

ช่วงอายุแรกเกิด –  6 เดือน

เด็กเริ่มพัฒนาระบบประสาทสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใส แกว่งไกว มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง จะช่วยให้เด็กกรอกสายตา ฝึกการมองเห็นและการฟัง

ของเล่นของเด็กวัยนี้: ของเล่นที่มีสีสดใส และมีเสียง

ช่วงอายุ 6 เดือน – 1 ขวบ

เด็กวัยนี้เริ่มมีวัตถุประสงค์และทิศทางในการหยิบของเล่น พัฒนาการด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือพัฒนาขึ้น เด็กรู้จักการสังเกต เริ่มแยกสีและรูปร่างได้ สังเกตความลึกของสิ่งของ เช่น กล่องหรือแก้วได้ ส่งของเล่นจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้   เด็กสามารถทรงตัวนั่งได้มั่นคง และมีการสำรวจสิ่งแวดล้อมโดยการคืบหรือคลาน

ของเล่นของเด็กวัยนี้: ของเล่นที่มีสีสัน มีเสียง ขนาดเหมาะกับมือ และของเล่นที่เคลื่อนไหวได้

ช่วงอายุ 1 ปี – 2 ปี

เด็กเริ่มเดินได้ด้วยตนเอง โดยช่วงแรก ๆ ยังไม่มั่นคงนัก ชอบเกาะเครื่องเรือน เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง กล้ามเนื้อในการทรงตัว แขนขา มีการพัฒนามากขึ้น เมื่อเดินได้เองจะเริ่มสำรวจสิ่งแวดล้อม ปีนป่าย ขึ้นบันได ต้องระมัดระวังความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด

ของเล่นสำหรับวัยนี้: ของเล่นที่ลากจูงไปมาได้ เช่น รถไฟ หรือรถลากต่อ

ช่วงอายุ 2- 4 ปี

เป็นวัยอยากรู้อยากเห็น เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดี เพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงมากขึ้น กล้ามเนื้อในมือมีความแข็งแรงมากขึ้น ชอบการเล่นที่มีการออกกำลัง เช่น การวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย เตะลูกบอล

ของเล่นสำหรับวัยนี้: ของเล่นที่ใช้นิ้วมือหยิบจับ ของเล่นที่หมุนได้ ภาพตัดต่อ  block ไม้  ลูกบอล

ช่วงอายุ 4 – 6 ปี

การเคลื่อนไหวของร่างกายคล่องแคล่วขึ้น ชอบเล่นกลางแจ้ง สนามเด็กเล่น และเครื่องเล่นที่ขับขี่ได้ ชอบเล่นเป็นกลุ่มชอบเลียนแบบชีวิตในบ้าน และสังคม สิ่งแวดล้อม

การเล่นของเด็กวัยนี้: เน้นการเล่นเป็นกลุ่ม และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

นอกจากจะเลือกของเล่นให้เข้ากับอายุลูกแล้ว พ่อแม่ยังต้องดูด้วยว่าลูกสนใจอะไรหรือมีพัฒนาการเรียนรู้ด้านไหน ที่อาจสูงหรือต่ำกว่าวัยก็ได้ เพราะเด็กทุกคนมีความสนใจและความสามารถในการเรียนรู้แต่ละด้านแตกต่างกัน


www.พัฒนาการเด็ก.com/2012/02/choose-toys.html

http://www.academic.hcu.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=297&UID=