AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

วิธีลงโทษลูก อย่างไรให้ได้ผลดี โดยไม่ต้องลงมือตี

วิธีลงโทษลูก แบบไหนที่ว่าดี หรือแบบไหนที่เรียกว่าเหมาะสมกับวัย วันนี้ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำแนะนำดีๆจากคุณหมอมาฝากแม่ๆกันค่ะ

 

ถ้าพูดถึงการทำโทษเด็ก ต้องบอกว่า วันก่อนเห็นคลิปน้องเรซซิ่งกำลังเล่นสนุกสนานอยู่กับ น้าบูม พิธีกรเพื่อนสนิทของแม่แพท ณปภา อยู่ดีๆ ก็มีช็อตที่เฮียเรซตีหน้าผากน้าบูมเข้าอย่างจัง เท่านั้นแหละพี่เลี้ยงก็ทำโทษน้องด้วยการตีที่มือทันที แต่เรื่องไม่จบแค่นี้สิคะ เพราะกลับกลายเป็นดราม่า มีคนเข้ามาคอมเม้นท์ถึงพี่เลี้ยงมากมายว่า ตีน้องแรงเกินไปไหม ตีน้องหนักไปรึเปล่า?

 

ขอบคุณคลิปจากไอจี pn_nopat

 

เรียกว่ามีหลายคอมเม้นท์ที่เข้ามาติงพี่เลี้ยงว่าตีน้องแรงเกินไป อาจจะเป็นเพราะความเอ็นดู และสงสารน้องเรซซิ่งมากกว่าค่ะ แต่ก็มีอีกหลายคอมเม้นท์ที่เห็นด้วย ซึ่งเรื่องของการเลี้ยงดูลูกในแต่ละบ้านก็ย่อมแตกต่างกันไป ไม่มีถูก ไม่มีผิดหรอกค่ะ อยู่ที่ความเหมาะสม และเห็นสมควรของการเลี้ยงลูกแต่ละบ้านว่าจะมี วิธีลงโทษลูกอย่างไรจึงจะเหมาะสม เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งดราม่ากันไปเลยนะคะ

แต่ในยุคปัจจุบัน คุณแม่ๆบางท่านอาจจะไม่นิยมใช้ วิธีลงโทษลูกด้วยการตีมากนักแบบคนโบราณ ซึ่งคุณหมอสุธีรา หรือป้าหมอ ก็มีอีกทางเลือกหนึ่งมาแนะนำแม่ๆสำหรับ วิธีลงโทษลูกอย่างไรให้ได้ผลดี โดยไม่ต้องลงมือตี

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีลงโทษลูก อย่างไรให้ได้ผลดี โดยไม่ต้องลงมือตี

หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนว่า ในการอบรมสั่งสอนลูกให้โตมาเป็นเด็กดี เป็นคนดีของสังคมได้นั้นต้องมี วิธีลงโทษลูก ด้วยการตีเมื่อทำผิด แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไปก็มี วิธีลงโทษลูก ในแบบอื่นๆมากขึ้นโดยที่อาจจะไม่ต้องใช้วิธีการตีลูกก็ได้ ซึ่งแพทย์หญิงสุธีราหรือป้าหมอ กุมารแพทย์ชื่อดัง ได้เคยให้คำแนะนำกับแม่ๆว่า ในปัจจุบันมี วิธีลงโทษลูก โดยไม่ตีแต่ยังได้ผลดีอีกด้วย

โดยป้าหมอแนะนำว่า  “เวลาที่เด็กทารกตีหน้าแม่ ทำให้เจ็บ เด็กจะถูกวางลงที่พื้นทันที เป็นการลงโทษด้วยการถูกแยกจากแม่ พ่อแม่ที่ใช้วิธีนี้เมื่อเกิดพฤติกรรมคุกคาม จะช่วยให้ทารกควบคุมตัวเองได้ ที่จริงแล้วเด็กทำพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อเรียกร้องความสนใจ ดังนั้นหากพ่อแม่ตอบสนองโดยการไม่สนใจลูกทันทีที่เขาทำสิ่งไม่ดี เป็นเวลา 2-3 นาที จะช่วยให้เขาเรียนรู้ว่าพฤติกรรมนี้ไม่ควรทำอีก”

แต่สำหรับคุณแม่ๆที่มีลูกโตขึ้นมาอีกนิด อยู่ในวัย 2 – 3 ขวบ ป้าหมอก็ได้แนะนำอีกหนึ่งวิธี ที่ได้ผลดีและเป็นที่นิยมเหมือนกันค่ะ

ป้าหมอ “อีกวิธีหนึ่งของการลงโทษโดยไม่ตี ที่ใช้ได้ผลสำหรับเด็กวัย 2 – 3 ขวบ ก็คือ time-out เป็นการแยกเด็กเข้าคอก หรือมุมเพื่อสงบสติอารมณ์ เช่น ถ้าเด็กพยายามจะเล่นปลั๊กไฟ และไม่นำพาต่อคำห้าม เมื่อพยายามเบี่ยงเบนให้เล่นของเล่นอื่นแล้ว ก็ไม่สนใจ จะพุ่งไปที่ปลั๊กไปตลอดเวลา คล้ายกับจะเล่นเกมส์กันว่าใครจะไปถึงปลั๊กไฟก่อนกัน พ่อแม่สามารถหยุดเขาโดยเอาไปไว้ในคอก แล้วพูดด้วยเสียงธรรมดาว่า time out ให้เขาอยู่ในคอกนานประมาณ 2-3 นาที เด็กจะร้องไห้แน่นอน แต่วิธีนี้เป็นการสอนว่า คำห้ามมีความหมายอย่างนั้นจริงๆ”

“พ่อแม่อาจเลือกบริเวณในการทำ time out เป็นส่วนที่แยกจากบริเวณที่มีการทำกิจกรรม ไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลาง แต่เป็นมุมห้องที่คุณยังสามารถเห็นว่าลูกกำลังทำอะไร และลูกจะต้องนั่งบนเก้าอี้จนกว่า คุณจะบอกว่าหมดเวลาแล้ว”

(เวลา time out คือ 1 นาทีต่ออายุ 1 ขวบ ถ้าเวลานานเกินไป เด็กเล็กๆจะลืมว่า ทำไมถึงถูก time out ถ้าลูกลุกก่อนถึงเวลา จะต้องเริ่มต้นใหม่)

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ป้าหมอ ยังเผยต่ออีกว่า “สำหรับพ่อแม่บางคนอาจใช้วิธีให้ลูกเข้าไปอยู่ในห้องนอน (โดยที่ห้องนอนต้องไม่มีโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์) แล้วบอกว่า เขาจะออกมาได้เมื่อลูกพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับพ่อแม่ ซึ่งพบว่าได้ผลดี เพราะเป็นการสอนให้เด็กรู้ว่าการได้อยู่ร่วมกลุ่มกับคนอื่นๆเป็นอะไรที่วิเศษ แต่หากรู้สึกโกรธหรือหัวเสีย การได้อยู่ในห้องคนเดียวเพื่อสงบสติอารมณ์ นั่งคิดทบทวนการกระทำของตัวเอง ก็เป็นวิธีการที่ดีกว่าการอาละวาดใส่ผู้อื่น แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจทำให้ห้องนอนเป็นห้องที่เด็กไม่ชอบ เพราะเป็นเหมือนที่กักขัง”

♦♦♦ การลงโทษลูก หากพ่อแม่อยากให้ได้ผลดีนั้น ต้องทำการลงโทษทันทีหลังทำผิด ตัวอย่างเช่น หากลูกไม่เก็บของเล่นหลังจากเล่นเสร็จ โดยที่บอกแล้ว ยังไม่ทำ ให้พ่อแม่เก็บของเล่นไปไว้ในที่ๆ เขาหยิบเองไม่ได้ เพื่อไม่ให้เล่นนาน 2-3 วัน เขาจะได้ไม่กล้าทำอีก หรือ หากลูกที่เริ่มโตขึ้นมาอีกหน่อย ไม่นำเสื้อผ้าที่ใช้แล้วใส่ไว้ในที่เตรียมซัก เขาก็จะไม่มีเสื้อสะอาดใส่ไปโรงเรียน หรือ หากกลับบ้านดึกโดยไม่โทรบอกก่อน จะไม่ได้อนุญาตให้ออกไปเที่ยวกับเพื่อนอีก จนกว่าเขาจะแสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น

นอกจากวิธีที่ป้าหมอแนะนำแม่ๆไปแล้ว บางครอบครัวก็อาจจะใช้วิธีอื่นๆร่วมด้วยได้ ตามความเหมาะสมของลูก และเหมาะสมกับวัยของเด็กแต่ละคนค่ะ เช่น 

แต่ละวิธีที่ได้แนะนำกันไปคุณแม่ๆก็อย่าลืมลองนำไปใช้กันได้เลยนะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกใช้วิธีทำโทษลูกในแบบต่างๆ ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย หรือเหมาะสมกับลูกของเราด้วยนะคะ เชื่อว่า อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับคุณแม่บางคน แต่ถ้าคุณแม่อดทน ยอมใจแข็งในการทำโทษลูก ลูกน้อยก็จะเติบโตมาเป็นเด็กที่ดีแน่นอนค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก FB : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

สู่ขวัญ บูลกุล เผย เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนเก่งและดี

พ่อแม่เช็กด่วน! หลังจิตแพทย์เตือน! เลี้ยงลูกระวังเสี่ยง ภาวะเด็กถูกเร่ง

รวม 84 พฤติกรรม ทำร้ายจิตใจลูกสร้างบาดแผลในใจให้ลูกไปจนโต

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids