ป้าหมอ ยังเผยต่ออีกว่า “สำหรับพ่อแม่บางคนอาจใช้วิธีให้ลูกเข้าไปอยู่ในห้องนอน (โดยที่ห้องนอนต้องไม่มีโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์) แล้วบอกว่า เขาจะออกมาได้เมื่อลูกพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับพ่อแม่ ซึ่งพบว่าได้ผลดี เพราะเป็นการสอนให้เด็กรู้ว่าการได้อยู่ร่วมกลุ่มกับคนอื่นๆเป็นอะไรที่วิเศษ แต่หากรู้สึกโกรธหรือหัวเสีย การได้อยู่ในห้องคนเดียวเพื่อสงบสติอารมณ์ นั่งคิดทบทวนการกระทำของตัวเอง ก็เป็นวิธีการที่ดีกว่าการอาละวาดใส่ผู้อื่น แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจทำให้ห้องนอนเป็นห้องที่เด็กไม่ชอบ เพราะเป็นเหมือนที่กักขัง”
♦♦♦ การลงโทษลูก หากพ่อแม่อยากให้ได้ผลดีนั้น ต้องทำการลงโทษทันทีหลังทำผิด ตัวอย่างเช่น หากลูกไม่เก็บของเล่นหลังจากเล่นเสร็จ โดยที่บอกแล้ว ยังไม่ทำ ให้พ่อแม่เก็บของเล่นไปไว้ในที่ๆ เขาหยิบเองไม่ได้ เพื่อไม่ให้เล่นนาน 2-3 วัน เขาจะได้ไม่กล้าทำอีก หรือ หากลูกที่เริ่มโตขึ้นมาอีกหน่อย ไม่นำเสื้อผ้าที่ใช้แล้วใส่ไว้ในที่เตรียมซัก เขาก็จะไม่มีเสื้อสะอาดใส่ไปโรงเรียน หรือ หากกลับบ้านดึกโดยไม่โทรบอกก่อน จะไม่ได้อนุญาตให้ออกไปเที่ยวกับเพื่อนอีก จนกว่าเขาจะแสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น
นอกจากวิธีที่ป้าหมอแนะนำแม่ๆไปแล้ว บางครอบครัวก็อาจจะใช้วิธีอื่นๆร่วมด้วยได้ ตามความเหมาะสมของลูก และเหมาะสมกับวัยของเด็กแต่ละคนค่ะ เช่น
- ให้งดกิจกรรมที่ลูกชื่นชอบหรือต้องการ เช่น ถ้าทำการบ้านไม่เสร็จ ก็จะอดเล่นของเล่น หรืออดทำกิจกรรมที่ชอบ ซึ่งสามารถใช้ได้กับเด็ก 6 ขวบขึ้นไป เพราะเริ่มเข้าใจเงื่อนไขง่ายๆ ได้แล้ว
- ควรสอนให้ลูกรับผิดชอบและชดเชยในสิ่งที่ทำผิด เช่น เมื่อทำลายข้าวของต้องรู้จักที่จะเก็บกวาด ทำความสะอาด หรือถ้าทำร้ายคนอื่นต้องรู้จักขอโทษและสำนึกผิดจริงๆ พ่อแม่ควรสอนลูกในเรื่องความผิดชอบชั่วดีแบบง่ายๆได้ เช่น แม่รักลูกเพราะหนูใจดีกับน้อง ให้รางวัลลูกเมื่อลูกทำความดี รวมถึงใช้เหตุผลกับลูกมากกว่าที่จะใช้อารมณ์ค่ะ
แต่ละวิธีที่ได้แนะนำกันไปคุณแม่ๆก็อย่าลืมลองนำไปใช้กันได้เลยนะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกใช้วิธีทำโทษลูกในแบบต่างๆ ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย หรือเหมาะสมกับลูกของเราด้วยนะคะ เชื่อว่า อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับคุณแม่บางคน แต่ถ้าคุณแม่อดทน ยอมใจแข็งในการทำโทษลูก ลูกน้อยก็จะเติบโตมาเป็นเด็กที่ดีแน่นอนค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก FB : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
สู่ขวัญ บูลกุล เผย เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนเก่งและดี
พ่อแม่เช็กด่วน! หลังจิตแพทย์เตือน! เลี้ยงลูกระวังเสี่ยง ภาวะเด็กถูกเร่ง
รวม 84 พฤติกรรม ทำร้ายจิตใจลูกสร้างบาดแผลในใจให้ลูกไปจนโต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่