เกิดอะไรขึ้นบ้างกับลูกน้อย หลังคลอด …เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้หญิงอย่างเราจะกลัวการเจ็บท้องคลอดลูก
แต่ทันทีที่ลูกคลอดออกมาสู่โลกกว้างและเราได้เห็นเขาเป็นครั้งแรกก็ทำให้เราปลาบปลื้ม เต็มไปด้วยความรักและความยินดีจนลืมความเจ็บปวดไปทันที และสำหรับบรรดาคุณแม่มือใหม่ก็คงอดตื่นเต้นไม่ได้กับการมีลูกในครั้งแรก เราไปดูกันดีกว่าค่ะ เมื่อเวลานั้นมาถึงคุณแม่และลูกน้อยที่คลอดเสร็จต้องเจอกับอะไรบ้าง
- สิ่งที่รู้ ๆ กันแน่ ๆ หากคุณจะคลอดลูกโดยวิธีธรรมชาติคือการปวดท้องคลอด ความรู้สึกบางคนก็บอกว่าเหมือนปวดท้องประจำเดือนแต่มากกว่าประมาณ 10 เท่า บางคนก็บอกว่ามันเหมือนปวดท้องอยากถ่ายอุจจาระ เมื่อปากมดลูกเปิดเต็มที่ก็ถึงเวลาคลอดลูก ณ จุดนี้ประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนคลอดลูกง่าย บางคนคลอดลูกยาก แล้วแต่สภาพร่างกายและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง
- แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่จะไว้ใจทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลทั้งคุณแม่และคุณลูกเป็นอย่างดีในห้องคลอด แต่การรู้กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยหลังคลอดลูกก็จะช่วยให้ทั้งคุณพ่อและคุณแม่เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
หลังคลอด ลูกออกมาแล้ว
- สิ่งแรกที่คุณหมอทำด้วยความระมัดระวังก็คือ การตัดสายสะดือของทารกที่ลำเลียงอาหารและออกซิเจนจากรกในครรภ์มารดาสู่ลูก แต่คุณหมอจะต้องแน่ใจเสียก่อนว่า ทารกได้รับเลือดจากรกในครรภ์ที่เพียงพอและไม่เสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางและขาดธาตุเหล็ก
- หลังจากการตัดสายสะดือเสร็จสิ้นลง พยาบาลก็จะทำความสะอาดเจ้าตัวน้อยอย่างคร่าว ๆ เพื่อกำจัดเมือกที่ห่อหุ้มตัวทารก
- จากนั้นพยาบาลก็จะดูดน้ำคร่ำในปากและจมูกของทารกเพื่อเป็นการกระตุ้นและช่วยให้ทารกเริ่มหายใจ และคุณแม่ก็จะได้ยินเสียงร้องไห้ครั้งแรกของเจ้าตัวเล็ก
- ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจคัดกรองสุขภาพของทารกแรกเกิด เพื่อเช็คอัตราการเต้นของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบการหายใจ การตอบสนองของกล้ามเนื้อ และความซีดจางของสีผิวเด็ก ขั้นตอนนี้นับว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากหลังคลอดลูก เนื่องจากแพทย์จะตรวจพบความผิดปกติต่าง ๆ และเร่งดำเนินการรักษาต่อไปอย่างทันท่วงที ในโรงพยาบาลบางแห่งแพทย์อาจตรวจความสมบูรณ์ของทารกขณะที่อยู่ในอ้อมกอดของคุณแม่ในห้องทำคลอด แต่โรงพยาบาลบางแห่งก็มีห้องปฏิบัติการเฉพาะสำหรับทารก
- คุณหมอก็จะทำการคลอดรกเสร็จคุณหมอก็จะตรวจสอบแผล การฉีกขาดของช่องคลอด และทำการเย็บแผล ระหว่างนี้คุณพยาบาลก็มักจะนำลูกมาให้คุณแม่ดูหน้า ดูเพศ และอาจให้ลูกดูดนมครั้งแรกเพื่อเป็นการกระตุ้นน้ำนม
อ่าน >> ขั้นตอนต่อไปหลังจากคลอดลูก
พร้อมชมคลิป >> เหตุการณ์จริงหลังคลอดลูกน้อยออกมา คลิกเลย
- คุณหมอจะหยอดหรือป้ายยาปฏิชีวนะที่ตาของทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้น จากนั้นพยาบาลจะชั่งน้ำหนัก วัดความสูงของทารกและฉีดวิตามินเคเพื่อให้เลือดจับตัวได้ดีและมีประสิทธิภาพ
- ถ้าหากว่าเจ้าตัวน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ดีและร่างกายมีอุณหภูมิปกติ พยาบาลจะอาบน้ำสระผมและห่อเจ้าตัวเล็กให้อบอุ่นก่อนจะพาทารกไปยังห้องเด็กอ่อน
- แต่ก่อนไป พยาบาลจะทำการติดป้ายชื่อที่ข้อมือของคุณแม่และทารก ขั้นตอนนี้นับว่ามีความสำคัญเช่นกัน ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่ควรสังเกตให้แน่ใจว่าพยาบาลติดป้ายชื่อที่ถูกต้องให้ลูกก่อนที่จะพาลูกออกจากห้องทำคลอด
- ปัจจุบันนี้โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีการถ่ายภาพคู่ครั้งแรกของคุณกับลูกน้อย และจัดทำกรอบรอยเท้าเพื่อมอบให้คุณแม่เป็นที่ระลึกจำนวนหนึ่งชุด และอีกหนึ่งชุดจะเป็นรอยเท้าที่ทางโรงพยาบาลจะเก็บเอาไว้เพื่อเป็นฐานข้อมูลประจำตัวเด็ก
- หลังคลอดหากคุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ เช่นอาการตกเลือดหลังคลอด คุณแม่ก็จะถูกพาตัวไปที่ห้องพักฟื้นคนไข้ และใช้เวลาอยู่ร่วมกับลูกน้อย ตราบใดที่คุณทั้งคู่แข็งแรงดี พยาบาลจะตรวจลูกน้อยเป็นระยะเพื่อดูว่าทารกปรับตัวกับชีวิตแรกเกิดได้ดีมากน้อยเพียงใด รวมทั้งวัดชีพจร กดท้อง ตรวจว่าอวัยวะเพศสมบูรณ์ดีและมีนิ้วมือนิ้วเท้าครบ
ขอบคุณวีดีโอจาก : thegolddustwoman
สิ่งที่ควรสังเกตตัวเองให้ช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ก็คือ
– การแข็งตัวของมดลูก: หลังคลอดมดลูกจะหดตัวลงมาเป็นก้อนในท้องน้อยต่ำกว่าสะดือ
เอามือคลำจะรู้สึกได้ค่ะ หมอมักแนะนำให้คุณแม่คอยนวดคลึงมดลูกตัวเอง เพราะจะช่วยป้องกันการตกเลือดได้ร่วมกับการให้ยามันอาจจะรู้สึกปวดบีบๆบ้างจากการที่มดลูกหดตัว แต่นั่นคือวิธีการห้ามเลือดที่เป็นธรรมชาติที่สุด และดีที่สุดแล้ว
– อาการปวดแผล: หลังคลอดคุณแม่อาจจะรู้สึกระบบที่แผลตรงช่องคลอดบ้าง แต่ไม่ควรจะมากจนรู้สึกว่านั่งไม่ได้ ถ้าปวดมากๆให้ระวังว่าอาจมีห้อเลือด (hematoma) เกิดขึ้นที่ช่องคลอด อาการที่อาจพบร่วมกันคือรู้สึกปวดเบ่ง ปวดถ่ายตลอดเวลา หรือบางคนก็จะปัสสาวะไม่ออก
– การถ่ายปัสสาวะ: การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นแถวๆช่องคลอดอาจจะทำให้รู้สึกปัสสาวะลำบาก แต่ถ้าปัสสาวะไม่ออกในช่วง 4-6 ชั่วโมงแรก อาจจะต้องได้รับการประเมินว่ามีห้อเลือดเกิดขึ้น หรืออาจจำเป็นต้องได้รับการสวนปัสสาวะค่ะ
สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งสำหรับคุณแม่และคุณลูกในช่วงนี้ คือการกระตุ้นให้ลูกดูดนมแม่ค่ะโดยช่วงแรกๆนี้นมแม่อาจจะยังมีไม่มากนัก คุณแม่มักจะกังวลว่านมจะไม่พอสำหรับลูก แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กแรกเกิดนั้นยังไม่ต้องการน้ำนมปริมาณมากมายอะไรคุณแม่จึงไม่ต้องกังวล การให้ลูกดูดนมตั้งแต่แรก จะเป็นการกระตุ้นฮอร์โมน oxytocin ให้คุณแม่มีการสร้างน้ำนมมากขึ้นๆ เพราะฉะนั้น ยิ่งเริ่มดูดเร็ว ดูดบ่อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นผลดีมากเท่านั้นค่ะ
⇒ ชมคลิป คลอดเองแบบธรรมชาติ ตอนที่ 1 คลิก
⇒ ชมคลิป การทำคลอดแบบผ่าตัด ตอนที่ 2 คลิก
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก Munna Hossain