อัปเดตล่าสุด! ตารางวัคซีน 2562 ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย ประจำปี 2562 จาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ลูกน้อยอายุเท่าไหร่ ต้องฉีดตัวไหนบ้าง? แม่ ๆ เช็กเลย
อัปเดต ตารางวัคซีน 2562
พ่อจ๋าแม่จ๋า รีบเซฟเก็บไว้ดูเลยค่ะ นี่คือ ตารางวัคซีน 2562 จาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โดย ตารางวัคซีน 2562 นี้ ทางสำนักโรคติดต่อมีการสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนได้ฟรี!! สำหรับเด็กไทย อายุตั้งแต่ แรกเกิด ถึง 12 ปี ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องคอยดูอย่าละเลย เพราะการเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กด้วยการรับวัคซีน ก็เพื่อป้องกันโรคร้ายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วเป็นอันตรายต่อเด็กได้
โดยวัคซีนในแต่ละชนิดนั้นสร้างมาจากไวรัสหรือแบคทีเรีย ที่ถูกทำให้สิ้นฤทธิ์ด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์จนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้แล้ว แต่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของเด็กเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันเข้ามา สำหรับป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายได้
กำหนดการฉีดวัคซีน ตารางวัคซีน 2562 ของเด็กในวัยต่างๆ
การฉีดวัคซีนของเด็กนั้นจะต้องให้ตามแบบแผนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ โดย ตารางวัคซีน 2562 ทางเพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ได้อัปเดตข้อมูล และ สรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ ตารางวัคซีน 2562 แต่ละตัวที่ลูกน้อยควรได้ในฟรี ไว้ดังนี้…
(1) บรรจุ วัคซีนฮิป ในวัคซีนหลัก ฟรี!! (EPI) ใน ตารางวัคซีน 2562
- ฉีด 3 เข็มที่อายุ; 2,4,6 เดือน
- DTP-HB-Hib
(2) วัคซีนผู้ใหญ่ ของ ตารางวัคซีน 2562
- ให้ dT อายุ 20 ปีขึ้นไป และลงท้ายด้วย 0 ได้แก่ 20,30,40,50,60,70..
- ให้ไข้หวัดใหญ่ในคนท้องอายุครรภ์ 4 เดือน
- ให้ MR ในนักศึกษาปี 1 สายสาธารณสุข
(3) ตารางวัคซีน 2562 มี MMR หรือ วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม
- เข็ม1; ฉีด 9-12 เดือน
- เข็ม2; ฉีด 2-2 1/2 ปี
- (WHO แนะนำอายุ 18 เดือน)
- เข็ม 2 ต้องห่างมากกว่า 3 เดือน
- และอายุต้องมากกว่า 12 เดือน
ดูรายละเอียดแต่ละวัคซีน พร้อมเช็กสถานที่ขอรับวัคซีนฟรี คลิกหน้า 2
รายละเอียดแต่ละวัคซีน ของ ตารางวัคซีน 2562
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (เริ่มอายุ 6เดือน-ผู้ใหญ่)
- ฉีดเริ่มอายุ 6 เดือน โดยเฉพาะ <2ปี
- อายุ <9ปี ฉีดปีแรกต้อง 2 เข็มห่าง 1 เดือน ถ้าปีแรกได้แค่1เข็ม ปีถัดมาต้องฉีด 2 เข็ม ถัดมาจึงค่อยปีละเข็ม
- กลุ่มเสี่ยง; หญิงตั้งครรภ์ (อายุ4เดือนขึ้นไป ปีนี้ตั้งเป้า 500,000 คน)
- อายุ <2ปี, >65ปี อ้วน BMI>35
- โรคประจำตัว (HIV DM Thalassemia COPD Asthma Heart disease) ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (เริ่ม 9-45 ปี)
- ฉีดทั้งชาย/หญิงได้ 9-26ปี เน้น 11-12 ปี จำนวน 3เข็ม (0,1-2,6เดือน) อาจจะ 2หรือ 4 สายพันธุ์ก็ได้
- และอายุ <15 ปีทั้งชายและหญิงสามารถฉีดได้ 2 เข็ม (0,6 เดือน)
- แผนกระทรวงฉีด ป.5 จำนวน 2เข็มห่าง 6-12 เดือน
- เด็กชายฉีดเพราะป้องกันหูดหงอนไก่
- บีซีจี วัคซีนป้องกันวัณโรค (เด็กแรกเกิด)
- ฉีด 1 ซีซี หัวไหล่ซ้าย
- ไม่ควรฉีดสะโพก,ส้นเท้า ถ้าเคยฉีดแล้วไม่มีแผล ไม่ต้องฉีดซ้ำ
- ป้องกันวัณโรค 50%, สมอง 64%, แพร่กระจาย 71%
- ถ้าฉีดแล้วมีหนอง ห้าม I and D รักษาโดย aspirate พิจารณา INH+- Rifam 1-3 เดือน
- ตับอักเสบบี
- ทุกคนต้องได้อย่างน้อย 3 เข็มและเข็มสุดท้ายอายุมากกว่าเท่ากับ 6 เดือน
- เด็กที่แม่เป็น HBsAg-positive (โดยเฉพาะแม่ HBeAg+) ให้ HBIG ภายใน 12 ชม.และไม่เกิน 7 วัน
- ต้องตรวจเลือดลูกอายุ 9-12 เดือน (HBsAg และ Anti-HBs ถ้า neg ต้องฉีด 1 เข็มแล้วอีก 2 เดือน ตรวจซ้ำ
- ถ้าเมื่อเป็นพาหะตับบี viral load >200,000 ต้องให้ TDF ตั้งแต่ GA 26 week ขึ้นไป ถึงหลังคลอด 4 week
- คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ (เริ่มอายุ 2 เดือน)
- DTP มีภูมิดังนี้ D=100%, T 95%, P 80-85%
- DTaP แทน DTwP ได้ทุกเข็ม
- 3 เข็มแรกควรเป็นชนิดเดียวกัน ถ้าหาไม่ได้ต่างชนิดก็ได้
- อายุ 4-6 ปี อาจใช้ Tdap แทนได้
- อายุ 10-15 ปี ควรได้ Td หรือ Tdap (boostrix, Adacel) หรือ TdaP (Boostagen) ไม่ว่าจะเคยได้ Tdap ตอน 4-6 ปี มาก่อนหรือไม่
- หญิงตั้งครรภ์ควรได้ Tdap, หรือ dT ที่อายุ 27-36 สัปดาห์ ทุกการตั้งครรภ์ เพื่อลด pertussive ไอกรนในเด็กแรกเกิด – 6 เดือน
- dT ฉีดทุก 10 ปี เริ่มอายุ > 20,30,40,50,60.. โดย – พฤษภาคม 2562 จัดตั้งคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่
- aP Pertagen อายุ 11 ปี ขึ้นไป
- โปลิโอ
- หยอด 2 สายพันธุ์ (type 1,3) 5 ครั้ง+ IPV (มี1,2,3สายพันธุ์) 1 ครั้งอายุ 4 เดือน
- IPV สามารถแทน OPV ได้ทุกโด๊ส
- (ยังพบเคสในประเทศอาฟกานิสถาน,ปากีสถาน,ไนจีเรีย)
- ชนิดฉีดแทนกินได้ทุกครั้ง กรณีฉีดอย่างเดียว ให้แค่ 4 ครั้งได้ (ยกเว้นโด๊ส 18 เดือน)
- หัด หัดเยอรมัน คางทูม
- เข็มแรก อายุ 9-12 เดือน (ฉีด 9 เดือน; มีfailure 20%, ฉีด 12 เดือน; มี failure 5%) ครั้งที่สอง อายุ 2-2 1/2 ปี
- กรณีระบาดและสัมผัสฉีดเข็มแรกอายุ 6 -9 เดือนให้ฉีดเข็มสองที่อายุ 12 เดือน และเข็มสามอายุ 2-4 ปี
- ถ้าเริ่ม 9-12 เดือน ให้เข็ม 2 ห่างเข็ม 1 อย่างน้อย 3 เดือน (ถือว่าให้ครบ 2 เข็ม)
- ถ้าฉีดเข็มแรกหลังอายุ 12 เดือน ฉีดเข็มสองห่างเข็มแรก 1 เดือน
- มิ.ย.62 เริ่มให้ MR ใน นศ.สายสาธารณสุขเช่นคณะแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช พยาบาล
- กรณีระบาด บุคลากรการแพทย์ที่อายุ <40 ปี ควรให้วัคซีน MR กระตุ้น
- ไข้สมองอักเสบ JE เชื้อมีชีวิต
- เข็มแรก 9-12 เดือน เข็ม 2 ดังนี้
- IMOJEVหรือ THAI JEV เข็มสองห่าง 12-24 เดือน
- CD-JEVAX ห่าง 3-12 เดือน
- แต่กระทรวงสาธารณสุข เข็ม 2 ห่าง 12-18 เดือน
- เชื้อไม่มีชีวิต kill vaccine
- JEVAC เริ่มได้อายุ 6 เดือน ฉีด 3 เข็ม 0, 1-4 สัปดาห์เดือน เข็ม 3; 1 ปี
- กรณีได้แบบมีชีวิตมาก่อน 1 เข็ม สามารถให้ JEVAC 1 เข็มห่างเข็มแรก 1ปี
- ตับอักเสบเอ
- เป็นเชื้อตาย เช่น Vaqta, Avaxim จำนวน 2 เข็มห่าง 6 เดือน ชนิดใหม่ชื่อ
- MEVAC เป็นเชื้อเป็น อายุน้อยสุดคือ 18 เดือน ให้เพียง 1 เข็ม
- สุกใส
- อายุน้อยสุด 1 ปี แนะนำ 12-18 เดือน
- เข็ม 2 แนะนำใหม่ให้เมื่ออายุ 2-4 ปี
- อาจฉีดเข็ม 2 ก่อนอายุ 4 ปี กรณีมีการระบาด อายุ 1-12 ปีฉีด2เข็มห่าง 3-12 เดือน
- อายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ถ้าไม่เคยเป็นฉีด 2 เข็มห่าง 1 เดือน
- ไอพีดี
- มี 10 กับ 13 สายพันธุ์
- 1/2ปีแรกให้ 3+1
- 1/2ปีหลัง ให้ 2+1
- ปีที่ 1-2 ให้ 1+1
- ปีที่ 2-5 ให้ 1 (PCV10ให้ 1+1)
- เด็กเสี่ยง;- 2-6ปี;PCV13ให้ 1+1 +PS 23 : 1 dose
- >6-18ปี; ให้ PCV13 สูตร 1+PS23 ;1dose
- ป้องกันท้องเสียโรต้า
- Mono valent มี 2 ชนิด (1)Rotarix กิน 2 ครั้ง 2,4 เดือน และ (2) Rotavac กิน 3 ครั้ง 2,4,6 เดือน
- Pentavalent 3 ครั้ง 2,4,6 เดือน ยี่ห้อ Rotateq
- ทั้ง 2 ชนิดเริ่มให้ 6-15สัปดาห์ ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 8 เดือน และต้องห่างระหว่างเข็มมากกว่า 4 สัปดาห์
- ไข้เลือดออก
- อายุ 9-45 ปี จำนวน 3 เข็ม 0,6,12 เดือนในผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน
- ผู้ที่ไม่เคยเป็นไข้เลือดออก ควรตรวจเลือดก่อนการฉีด (อ่านเพิ่มคำแนะนำในเว็บสมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก)
- วัคซีน Hib
- ใน EPI เริ่ม มิถุนายน 2562
- ให้ 3 ครั้ง; 2,4 ,6 เดือน
- เข็ม 4 ไม่จำเป็นต้องฉีดถ้าแข็งแรงดี แต่ถ้าเป็นผู้มีความเสี่ยงเช่นภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่มีม้าม ควรให้เข็ม 4 ที่อายุ 18 เดือน
- ไม่จำเป็นต้องให้วัคซีนฮิปในเด็กปกติอายุ >2 ปี
โหลด ตารางวัคซีน ปี 2562 pdf คลิก!
สถานที่ขอรับวัคซีน
ทั้งนี้จาก ตารางวัคซีน 2562 คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปรับการฉีดวัคซีนได้ที่คลินิกเด็กทั่วไป เทศบาลในท้องถิ่นบางแห่ง สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาล และถึงแม้ว่าลูกน้อยจะมีอาการน้ำมูกไหลหรือเป็นหวัดเล็กน้อยก็ยังสามารถรับได้ โดยผลข้างเคียงจากวัคซีนอาจมีบ้าง แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อยและใช้เวลาไม่นานก็จะหายไป โดยก่อนรับวัคซีนควรปรึกษาหรือสอบถามคุณหมอผู้ให้บริการได้
อ่านต่อบทความดีๆ น่าสนใจ คลิก!
- 5 วัคซีนเด็ก สำคัญ! ป้องกัน 9 โรคร้ายให้ลูกตอนโต
- วัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี ที่พ่อแม่ต้องรู้
- อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก Facebook เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่