AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แผลในปาก ลูกน้อย สาเหตุและวิธีการดูแลรักษา

แผลในปาก  เป็นสิ่งที่พบได้ไม่น้อยในเด็ก มักพบพร้อมกับการติดเชื้อไวรัสหรือไข้หวัด เด็กมักงอแง ไม่อยากกินอาหาร ซึ่งบางครั้งทำให้พ่อแม่เข้าใจผิดว่าลูกเจ็บคอหรือคออักเสบ และหากตรวจในช่องปากจะพบแผล ซึ่งอาจอยู่ที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก หรือเหงือก ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีวิธีดูแล แผลในปากของลูกน้อยมาให้ได้ทราบกันค่ะ

แผลในปาก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?

โรคแผลในปาก (Mouth ulcers) หรือที่เรียกกันว่าแผลร้อนใน (Aphthouos ulcers) เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ที่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่พักผ่อนน้อย นอนดึก เครียด และดื่มน้ำน้อย หรือในช่วงก่อนจะมีรอบเดือนก็มักจะเกิดแผลร้อนในขึ้นในช่องปาก แต่สำหรับเด็กเล็กๆ พบว่าการเกิดแผลในปาก มักมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคและอายุของเด็ก ได้แก่

1. โรคเชื้อราในปากหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าโรคซาง พบได้ในเด็กอายุขวบปีแรก โดยโรคเชื้อราในช่องปากจะมีลักษณะเป็นปื้นขาวและแผลที่กระพุ้งแก้มร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการเจ็บและดื่มนมได้น้อยลง ซึ่งโรคนี้ต้องแยกให้ออกจากอาการลิ้นขาว มักพบได้ในเด็กปกติทั่วไป

2. อาการแผลร้อนในภายในช่องปาก พบได้ในเด็กทุกวัย มักเกิดจากการกระแทกของอาหาร ขนแปรงสีฟันที่แข็ง หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือมาจากหลายสาเหตุปนกันระหว่างที่ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง เช่น ไม่สบาย เป็นหวัด แผลชนิดนี้มักจะจู่โจมและเกิดในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ หากลูกเป็นแผลในปากแบบแผลเดี่ยว ถ้าดูแล้วจะเห็นเป็นแผลเล็กๆ แค่แผลเดียว หรืออาจ 2 แผล แต่ลูกยังเป็นปกติแข็งแรงดี ไม่มีอาการอื่นๆ ก็อาจจะไม่ต้องไปทำอะไร ปล่อยให้หายเองได้ ไม่มีอันตรายใดๆ แต่หากลูกเริ่มเจ็บมากไม่ยอมกินนมหรืออาหาร ควรไปพบแพทย์เพื่อดูว่าเป็นโรคอื่นหรือไม่

3. แผลจากเชื้อเริม ในเด็กอาจจะเป็นตุ่มใสๆ หรือตุ่มแตกเป็นแผลเหมือนกับแผลร้อนใน บางคนเป็นหลายๆ แผล ในปาก ทั้งบนลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดาน แผลเหล่านี้มักเจ็บมาก บางคนเป็นมากจนรับประทานอะไรไม่ได้ มักเกิดในเด็กเล็กก่อนวัยเรียน การได้รับเชื้อส่วนใหญ่มักบอกไม่ได้ว่าได้รับเชื้อจากที่ใคร เพราะคนที่ส่งเชื้อให้มักไม่ค่อยมีอาการหากมีเชื้อในน้ำลาย เช่น ผู้ใหญ่ที่มีเชื้อนี้แล้วไปหอมเด็ก เด็กจะติดเชื้อได้ หรือบางครั้งเด็กๆ ก็อาจติดกันเองจากของเล่น เวลาที่เด็กเล่นด้วยกัน หรือติดจากการดื่มน้ำแก้วเดียวกัน ดูดน้ำจากหลอดเดียวกัน เป็นต้น

 

4. โรคติดเชื้อบางอย่างโดยเฉพาะที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส อาจทำให้เกิดแผลในปากได้ เช่น โรคหัด โรคเริม โรคมือ-เท้า-ปาก และโรคเฮอร์แปงไจน่า (อ่านต่อข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโรคเฮอร์แปงไจน่าตุ่มแผลในปากเด็ก กลุ่มเดียวกับโรค มือ เท้า ปาก คลิก)

5. ลิ้นแผนที่ ในเด็กปกติบางคน อาจพบปื้นขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายแผลที่ลิ้น ที่เรียกกันว่า“ลิ้นแผนที่”ซึ่งปื้นลักษณะดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ ปื้นอาจจะนูนขึ้นเวลาที่เด็กไม่สบาย ทำให้พ่อแม่คิดว่าเด็กเจ็บมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะไม่รู้สึกเจ็บหรือรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 

Good to know… “แผลร้อนในเล็ก (Minor aphthous ulcers) เป็นแผลร้อนในที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 80% ของแผลร้อนในทั้งหมด จะเป็นแผลตื้นลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่ มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร หรือไม่เกิน 1 เซนติเมตร พื้นแผลจะเป็นสีขาวหรือเหลือง และมีคราบไฟบริน (Fibrin) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวปกคลุมอยู่ มีวงสีแดงเป็นขอบอยู่โดยรอบแผล มักเป็นแผลเรียบ ไม่นูน หรือขอบอาจบวมเล็กน้อย และเมื่อใกล้หายพื้นแผลจะกลายเป็นสีเทาๆ ส่วนตำแหน่งที่เกิดของแผลนั้นมักขึ้นบริเวณริมฝีปาก กระพุ้งแก้มและลิ้น (ด้านข้างและด้านใต้) นอกจากนี้ยังอาจพบได้ที่เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ผนังคอหอย พื้นปาก (เนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ลิ้นและเหงือก) แต่มักจะไม่พบได้ที่เหงือก เพดานแข็ง และลิ้นด้านบนเหมือนชนิดที่ 2 โดยอาจจะเป็นเพียงแผลเดียวหรือเป็นหลายแผล (2-5 แผล) พร้อมกันก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดไม่รุนแรง และแผลมักจะหายไปได้เองภายใน 7-14 วัน โดยส่วนใหญ่จะไม่ทำให้เป็นแผลเป็น และอาจกำเริบเป็นซ้ำได้ทุก 1-4 เดือน1

 

อ่านต่อ >> “การดูแลบรรเทาอาการแผลในปากให้ลูกน้อย” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เมื่อลูกน้อยเกิดมี แผลในปาก ต้องดูแลรักษาอย่างไร?

 

Good to know… “แผลร้อนในใหญ่ (Major aphthous ulcers) เป็นแผลร้อนในที่พบได้ประมาณ 10-15% ของแผลร้อนในทั้งหมด พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่เลยช่วงวัยรุ่นไปแล้ว แผลจะมีลักษณะแบบเดียวกับแผลร้อนในเล็ก แต่แผลจะมีขนาดใหญ่มากกว่า 1 เซนติเมตรขึ้นไป และมักเป็นแผลลึก ขอบแผลบวม มีอาการเจ็บปวดรุนแรงกว่า นอกจากจะพบในตำแหน่งเดียวกับแผลร้อนในเล็กแล้ว ยังอาจพบแผลได้ที่เพดานแข็งและลิ้น (ด้านบน) ได้ด้วย แผลชนิดนี้มักจะหายได้ช้านานเป็นเดือนๆ (ปกติจะใช้เวลาประมาณ 10-40 วัน) และเมื่อหายแล้วอาจเป็นแผลเป็น (ก่อให้เกิดพังผืดของเนื้อเยื่อที่เกิดแผล) และมักกำเริบเกิดซ้ำได้บ่อยมาก ในบางครั้งอาจพบได้ในผู้ป่วยเอดส์ ถ้าหลังจากดูแลตนเองแล้วแผลร้อนในไม่ดีขึ้นภายใน 2 อาทิตย์ ควรรีบไปพบแพทย์เสมอ เพื่อแยกจากแผลอักเสบติดเชื้อหรือแผลมะเร็ง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป2

 

อ่านต่อ >> “3 วิธีป้องกันแผลในปากให้ลูกน้อย” หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

3 วิธีป้องกันแผลในปาก ลูกน้อย

 

เมื่อใดต้องพบแพทย์

 

Good to know… “แผลร้อนในชนิดคล้ายเริม (Herpetiform ulceration) เป็นแผลร้อนในที่พบได้ประมาณ 5-10% มีความรุนแรง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเริม มักเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่หรือในกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 2 ชนิดดังกล่าว และมักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในช่วงแรกจะขึ้นเป็นตุ่มใสขนาดเล็กๆ (ขนาดประมาณ 0.1-0.3 มิลลิเมตร) หลายตุ่ม แล้วแตกแผ่รวมเป็นแผลเดียวขนาดใหญ่ (คล้ายแผลร้อนในใหญ่) ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดค่อนข้างรุนแรง พบได้ในตำแหน่งต่างๆ ในช่องปากแบบเดียวกับแผลร้อนในใหญ่ แผลชนิดนี้สามารถหายได้เอง แต่จะใช้เวลานานกว่า 10 วันขึ้นไปจนถึง 2 เดือน ส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วมักต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ เพราะผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแผลมากจนกระทบต่อการกินอาหารและการดื่มน้ำ เมื่อได้รับการรักษาแล้วแผลมักจะหายไปภายใน 1 เดือน และมักจะไม่เกิดเป็นพังผืดหรือแผลเป็น3

 

การดูแลสุขภาพลูกน้อยเป็นอย่างดีในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องอาหารการกิน สุขอนามัย การนอนหลับพักผ่อน เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ ฯลฯ หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลใส่ใจลูกดีก็จะไม่มีเจ็บป่วยได้ง่าย และที่สำคัญหากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติทางสุขภาพถึงแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ควรนิ่งนอนใจและปล่อยทิ้งไว้ แต่ควรต้องรีบพาไปโรงพยาบาลพบคุณหมอทันที …ด้วยความห่วงใยค่ะ

 

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!

ยารักษาโรคซาง ปลอดภัยดีแล้วจริงหรือ?
กระหม่อมทารก ปิด-เปิด-โป่ง-ยุบ เรื่องสำคัญ แม่ต้องสังเกต
วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นไข้

 


ขอบคุณข้อมูลจาก 1,2,3medthaiwww.thaihealth.or.thwww.bejame.comwww.oknation.net