แผลในปาก ลูกน้อย สาเหตุและวิธีการดูแลรักษา - amarinbabyandkids
แผลในปาก

แผลในปาก ลูกน้อย สาเหตุและวิธีการดูแลรักษา

event
แผลในปาก
แผลในปาก

3 วิธีป้องกันแผลในปาก ลูกน้อย

  • แผลหรือเชื้อราในช่องปากสามารถป้องกันให้ลูกน้อยได้โดยการรักษาความสะอาดในช่องปากหากเป็นเด็กที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ควรดื่มน้ำเพื่อล้างคราบนมออก เนื่องจากนมแม่มีสารต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา ในขณะที่เด็กซึ่งดื่มนมผสม จำเป็นต้องดื่มน้ำตาม เพื่อล้างคราบนมออกเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับโรคติดเชื้อไวรัส เช่น การไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น การเดินเล่นในสถานที่ซึ่งมีผู้คนแออัด หรือการนำเด็กไปฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็ก
  • หากแผลในปากของลูกเกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส และเชื้อในกลุ่มเริม วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ทั้งตัวลูก คุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยง ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำร่วมกัน เวลารับประทานอาหารควรใช้ช้อนกลาง ในกรณีเด็กเล็กควรระวังของเล่นที่ลูกมักจะเอาเข้าปาก ก็ต้องมีการล้างทำความสะอาดด้วย หากลูกเป็นโรคมือเท้าปาก หรือเริ่ม ไม่ควรให้ไปเล่นกับเด็กคนอื่น เพราะเชื้อแพร่ติดต่อได้ง่าย สถานเลี้ยงเด็กอ่อนและโรงเรียนโดยเฉพาะอนุบาลจะให้เด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากหรือเริม หยุดเรียน เพื่อจะได้ไม่เกิดการระบาดในโรงเรียน

 

เมื่อใดต้องพบแพทย์

  • โรคเชื้อราในปากที่เป็นซ้ำหลายครั้ง หรือหากพบในเด็กโต
  • แผลที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่และมีจำนวนมาก
  • แผลมีอาการเจ็บรุนแรง แผลมีเลือกออก หรือแผลไม่หายภายใน 1 สัปดาห์
  • เด็กดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลียมาก หรือปัสสาวะลดลง

 

Good to know… “แผลร้อนในชนิดคล้ายเริม (Herpetiform ulceration) เป็นแผลร้อนในที่พบได้ประมาณ 5-10% มีความรุนแรง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเริม มักเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่หรือในกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 2 ชนิดดังกล่าว และมักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในช่วงแรกจะขึ้นเป็นตุ่มใสขนาดเล็กๆ (ขนาดประมาณ 0.1-0.3 มิลลิเมตร) หลายตุ่ม แล้วแตกแผ่รวมเป็นแผลเดียวขนาดใหญ่ (คล้ายแผลร้อนในใหญ่) ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดค่อนข้างรุนแรง พบได้ในตำแหน่งต่างๆ ในช่องปากแบบเดียวกับแผลร้อนในใหญ่ แผลชนิดนี้สามารถหายได้เอง แต่จะใช้เวลานานกว่า 10 วันขึ้นไปจนถึง 2 เดือน ส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วมักต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ เพราะผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแผลมากจนกระทบต่อการกินอาหารและการดื่มน้ำ เมื่อได้รับการรักษาแล้วแผลมักจะหายไปภายใน 1 เดือน และมักจะไม่เกิดเป็นพังผืดหรือแผลเป็น3

 

การดูแลสุขภาพลูกน้อยเป็นอย่างดีในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องอาหารการกิน สุขอนามัย การนอนหลับพักผ่อน เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ ฯลฯ หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลใส่ใจลูกดีก็จะไม่มีเจ็บป่วยได้ง่าย และที่สำคัญหากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติทางสุขภาพถึงแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ควรนิ่งนอนใจและปล่อยทิ้งไว้ แต่ควรต้องรีบพาไปโรงพยาบาลพบคุณหมอทันที …ด้วยความห่วงใยค่ะ

 

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!

ยารักษาโรคซาง ปลอดภัยดีแล้วจริงหรือ?
กระหม่อมทารก ปิด-เปิด-โป่ง-ยุบ เรื่องสำคัญ แม่ต้องสังเกต
วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นไข้

 


ขอบคุณข้อมูลจาก 1,2,3medthaiwww.thaihealth.or.thwww.bejame.comwww.oknation.net

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up