สิ่งที่คุณแม่ที่มีลูกน้อยวัยเบบี๋เป็นกังวลนอกจากเรื่องสุขภาพและพัฒนาการทางร่างกายของเจ้าตัวน้อยแล้ว เรื่องการขึ้นของฟันลูก ก็เป็นอีกเรื่องที่คุณแม่เฝ้ารอว่า เมื่อไหร่นะที่ฟันซี่แรกของลูกจะขึ้น เราจะพาคุณแม่ไปดู ลำดับการขึ้นของฟัน และลำดับการหลุดของฟันน้ำนม พร้อมคำแนะนำในการดูแลฟันลูกอย่างถูกวิธีตั้งแต่ซี่แรกกันค่ะ
ลูกฟันขึ้นตอนกี่เดือน
ฟันชุดแรกหรือฟันน้ำนมมักจะเริ่มโผล่พ้นเหงือกให้คุณเห็นตอนเจ้าตัวเล็กอายุราวๆ 6 เดือน แต่ฟันซี่แรกอาจจะขึ้นเร็ว (ตอน 3 เดือน) หรือ ช้ากว่านั้น (ตอน 12 เดือน) ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติค่ะ และมีกรณีที่ฟันซี่แรกขึ้นหลังอายุ 1 ขวบด้วย แต่พบไม่บ่อย
เด็กส่วนใหญ่จะมีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ ตอน ราว 3 ขวบ โดยฟันหน้าล่างมักจะขึ้นเป็นอันดับ ตามด้วยฟันหน้าบนในอีก 1-2 เดือน
ลำดับการขึ้นของฟัน มีดังนี้
- ฟันหน้าล่าง 2 ซี่ (ฟันตัดซี่กลาง)
- ฟันหน้าบน 4 ซี่ (ฟันตัดซี่กลางและฟันตัดซี่ข้าง)
- ฟันตัดซี่ข้าง 2 ซี่ล่าง
- ฟันกรามซี่ที่ 1
- ฟันเขี้ยว 4 ซี่ (ติดกับฟันตัดซี่ข้างแต่ละด้าน ทั้งซี่บนและซี่ล่าง)
- ฟันกรามซี่ที่เหลือบนแต่ละด้านของแนวฟัน

ฟันแท้ขึ้นตอนกี่ขวบ
ฟันแท้มักจะเริ่มขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมตอน อายุราว 6 ขวบ มีลำดับการขึ้นเช่นเดียวกับฟันน้ำนมค่ะ และตอนขึ้นก็มักจะดันฟันน้ำนมให้หลุดออกไป
ส่วนใหญ่ฟันจะขึ้นและหลุดตามเวลาที่คาดหมาย แต่ลำดับและจังหวะเวลาที่แน่นอนในเด็กแต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกัน
บทความแนะนำ ฟันน้ำนมหลุดช้า เป็นเพราะอะไร
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ >> ทำไม ลูกฟันขึ้นช้า และวิธีสังเกตอาการ ลูกฟันขึ้น คลิกหน้า 2
ทำไม ลูกฟันขึ้นช้า ?
ฟันของเด็กบางคนอาจขึ้นช้ากว่าปกติหรือขึ้นในรูปแบบที่ผิดปกติ เป็นเพราะแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกัน ซึ่ง ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ฟันที่ขึ้นช้าหรือขึ้นในรูปแบบที่ผิดปกติ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เช่น มีฟันอีกซี่ ขวางทางซี่ที่กำลังจะขึ้น มีพื้นที่ระหว่างขากรรไกรไม่มากพอ หรือฟันแทงขึ้นมาไม่ได้ (เพราะฟันอัดแน่นจนซี่ใหม่ไม่มีที่จะขึ้น) และการที่ฟันขึ้นช้า ขึ้นไม่ครบ หรือขึ้นมาเป็นฟันเก ก็มีส่วนเกี่ยวโยงกับความผิดปกติแต่กำเนิดของปากหรือขากรรไกร ด้วย (เช่น เพดานโหว่) เด็กที่ฟันน้ำนมไม่ขึ้นเลยสักซี่ก็มี ถึงจะเป็นส่วนน้อยมากก็ตาม ฉะนั้น ถ้าเจ้าตัวเล็กอายุ 12 เดือนแล้ว แต่ฟันยังไม่ เลยสักซี่ คุณก็ควรจะปรึกษาแพทย์ได้แล้วค่ะ
บทความแนะนำ ลูกฟันขึ้นช้า…ให้ฟลูออไรด์เพิ่มดีไหม?
สังเกตอาการ ลูกฟันขึ้น
- ทารกบางคนจะงอแงเป็นพิเศษ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะอาการปวด บวม และ กดเจ็บตรงบริเวณเหงือกที่ฟันกำลังจะขึ้น โดยมักจะเริ่มมีอาการก่อนที่ฟันจะขึ้นให้เห็นราว 3-5 วัน และพอฟันโผล่พ้นเหงือกแล้ว อาการก็หายไป ขณะที่ทารกหลายๆ คนไม่มีอาการอะไร ดูปกติดีทุกอย่าง พอเห็นหรือได้ยินเสียงฟันกับช้อน พ่อแม่ถึงรู้ว่าลูกฟันขึ้น
- เจ้าตัวเล็กอาจกัดนิ้วหรือของเล่นเพื่อช่วยลดแรงกดดันในเหงือก อาจไม่ยอมกินหรือดื่มอะไรเลย เพราะรู้สึกเจ็บปาก หรืออาจจะน้ำลายไหลยืดในช่วงที่ฟันขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผื่นขึ้นที่คาง หน้า หรืออก (ถ้าฟันไม่ขึ้น ผื่นนั้นก็อาจขึ้น ทารกจะสำรวจสิ่งรอบตัวด้วยการเอาเข้าปากในช่วงนี้พอดี) ถ้าอาการไม่รุนแรง ลูกจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ถ้าอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นเลย พ่อแม่ควรคอยสังเกต อย่างใกล้ชิดและปรึกษาแพทย์
- ถ้าคุณกังวลเรื่องพัฒนาการของฟันลูก เช่น ฟันซี่แรกขึ้นช้า ควรจะปรึกษาแพทย์เช่นกัน จะได้หมดกังวล เพราะปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาของฟันมักจะคลี่คลายลงเองหรือแก้ไขได้ไม่ยาก
ถ้าเบบี๋เจ็บตอนฟันขึ้นจะช่วยอย่างไรดี
- ให้กินยาแก้ปวดสำหรับเด็ก อย่างอะเซตามิโนเฟน (เช่น หรือไอบูโพรเฟน (เช่น Advil) แต่อย่าให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปีกินยาแอสไพริน เพราะมีส่วนทำให้เกิดกลุ่มอาการ Reye’s ซึ่งถึงจะพบไม่บ่อย แต่ก็เป็นกลุ่มอาการที่ร้ายแรง
- ใช้นิ้วสะอาดๆ หรือยางกัดแช่เย็นนวดเหงือกลูกเบาๆ ครั้งละ ประมาณ 2 นาที เพราะถึงลูกจะต่อต้านในตอนแรก แต่ทารก หลายๆคนก็รู้สึกดีขึ้นจริงๆ
- หาสิ่งที่ปลอดภัยให้ลูกเคี้ยวเล่น เช่น ยางกัด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ>> ดูแลฟันลูกน้อยอย่างถูกวิธี ก่อนฟันผุจะมาเยือน คลิกหน้า 3
ดูแลรักษาฟัน ก่อนฟันผุจะมาเยือน
พอฟันลูกเริ่มขึ้นแล้ว พ่อแม่ก็ต้องช่วยดูแลสุขภาพในช่องปาก เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียกัดกร่อนเคลือบฟันจนทำให้ฟันผุ
- เพราะน้ำลายมีแบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ พ่อแม่จึงต้องดูแลสุขภาพในช่องปากของตัวเอง เพื่อลดโอกาสในการแพร่เชื้อแบคทีเรียไปสู่ลูก เลี่ยงการใช้ช้อนและอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารชนิดอื่นๆ ร่วมกับ ลูก และน้ำลายไม่ช่วยให้จุกหลอกที่ลูกอมสะอาดได้ ควรนำมาทำความสะอาดบ่อยๆ
บทความแนะนำ ระวัง “เป่าอาหาร” เท่ากับส่งต่อแบคทีเรีย “ ลูกฟันผุ ” ไม่รู้ตัว
- อย่าให้น้ำตาลในนมผสมและนมแม่คาปากลูกนานๆ โดยเอาขวดนมออกจากปากก่อนที่เขาจะหลับ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียในปากผลิตกรดที่ทำให้ฟันผุ หลังให้นมจึงต้องเช็ดทำความสะอาดฟันให้ลูกด้วย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
- ระวังลูกจะฟันผุเพราะน้ำผลไม้ เพราะน้ำผลไม้หลายๆ ยี่ห้อก็เป็นน้ำที่แต่งรสให้เหมือนน้ำผลไม้ และอุดมด้วยน้ำตาล เวลาทานน้ำผลไม้แล้วจึงต้องดื่มน้ำตาม แต่สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐอเมริกาแนะนำว่า เด็กวัย 1-6 ปี ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้ 100% เกินวันละ 4 – 6 ออนซ์ (120 – 180 มิลลิลิตร หรือถ้วย) กินผลไม้ได้จะดีกว่า
- ให้ลูกหัดดื่มจากถ้วยเมื่ออายุ 1 ขวบหรือเร็วกว่านั้น เพราะ การดูดจากขวดบ่อยๆ จะทำให้ฟันผุง่ายขึ้น
- ให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยแต่ละมื้อควรประกอบด้วย อาหารที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดปัญหาฟันผุ เช่น มีทั้งธัญพืช ไม่ขัดสี ผักและผลไม้ มอซซาเรลลาชีสและชีสชนิดอื่นๆ หรือ โยเกิร์ตและนมก็เหมาะสำหรับการกินเป็นของว่างหลังอาหาร เพราะ ช่วยขจัดน้ำตาลในปากและป้องกันการเกิดคราบหินปูน ควรให้ลูกบ้วนปากหรือแปรงฟันหลังกินของหวานๆ ด้วย
- ให้ลูกกินฟลูออไรด์เสริม โดยให้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์เท่านั้น และต้องเก็บให้พ้นมือลูก เพราะการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษและทำให้ฟันตกกระ
- ทำความสะอาดฟันให้ลูก พอฟันซี่แรกขึ้นก็เริ่มทำความสะอาด ด้วยผ้านุ่มๆ หรือผ้าก๊อซ และพอฟันขึ้นเยอะแล้วก็ทำความสะอาด ด้วยแปรงสีฟันนิ่มๆ แต่ต้องใช้ยาสีฟันเสริมฟลูออไรด์ตามคำแนะนำของทันตแพทย์เท่านั้น
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
พ่อแม่ไม่บังคับลูกแปรงฟัน สุดท้ายต้องถอนฟัน
เตือนลูกฟันผุ พัฒนาการล่าช้า-เตี้ยแคระแกร็น
ข้อมูลจาก นิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับที่ 86
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่