จากเฟซบุ๊กของนายแพทย์ชำนาญการ ที่คลินิกผิวหนัง โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ เทศบาลเมืองนราธิวาส ได้โพสต์ภาพของคนไข้เด็ก และฝากเตือนทุกคนว่า ห้ามให้ลูกน้อยกิน นมข้นหวาน โดยเด็ดขาด เพราะคุณหมอพบคนไข้รวมแล้วกว่า 10 ราย ติดเชื้อในกระแสเลือด
อ่านต่อ “นมข้นหวานคืออะไร? แล้วทำไมขาดโปรตีน” คลิกหน้า 2
นมข้นหวาน คืออะไร?
นมข้นหวาน เป็นนมที่มีน้ำตาลสูงมาก จึงห้ามใช้เลี้ยงในทารก หรือห้ามใช้เพื่อเสริมคุณค่าทางอาหารแทนนมสำหรับเด็ก เพราะเป็นนมที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร อาจทำให้เด็กทารกเกิดภาวะขาดอาหาร ร่างกายและสมองไม่เจริญเติบโต และเจ็บป่วยบ่อยๆ ภูมิต้านทานโรคต่ำ บางคนอ้วน แต่ไม่แข็งแรง
1.ความไม่รู้
ทั้งๆ ที่นมแม่ คือสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยแรกเกิดไปจนถึง 6 เดือน แต่ก็มีเด็กทารกหลายคนไม่ได้รับประทานนมแม่ หรือต้องหย่านมเร็วกว่ากำหนด ด้วยเหตุผลหลากหลายประการ และหันมาเลี้ยงด้วยนมผง นมวัว และบางคนก็เลือกใช้นมแบบผิดๆ อย่างนมข้นหวาน มาใช้เลี้ยงลูก ทำให้ลูกน้อยขาดโปรตีน
2.ความยากจน
ครอบครัวที่ยากจน หรือมีลูกมาก อาจมีปัญหาด้านโภชนาการที่ไม่เพียงพอ ไม่มีเงินซื้อนมผง หรือไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่ ต้องการประหยัด จึงใช้นมข้นหวานแทน
3.ความเชื่อ
เพราะคุณพ่อ คุณแม่บางคนเชื่อว่า นมข้นหวานไม่ต่างกับนมผง นม UHT หรือนมพาสเจอร์ไรซ์ แถมยังมีความเข้มข้นกว่า รุ่นปู่ย่าตายายที่เลี้ยงต่อๆ กันมาก็ใช้นมข้นหวานกันทั้งนั้น จึงคิดว่าใช้ทดแทนกับนมชนิดอื่นได้เช่นกัน
โรคขาดโปรตีนในประเทศไทย
โรคนี้พบได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในชนบท หรือแหล่งเสื่อมโทรมในเมืองใหญ่ พบว่า เด็กแรกเกิด – 5 ขวบ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ 7 ล้านคน เป็นโรคขาดโปรตีน และพลังงาน 4.2 ล้านคน คิดเป็น 63% ของเด็กวัยก่อนเรียน และมีอยู่ 2 แสนคนที่เป็นโรคขาดโปรตีน และพลังงานอย่างรุนแรง และเสียชีวิตง่ายกว่าปกติ
อ่านต่อ “โรคขาดสารอาหารจากนมข้นหวาน” คลิกหน้า 3
โรคขาดสารอาหารจากนมข้นหวาน
1.ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) เป็นโรคขาดโปรตีน และพลังงานอย่างมาก เด็กจะมีอาการบวม เส้นผมเปราะ หลุดง่าย ผิวหนังลอกหลุดง่าย ตับโต ซึม และเศร้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม คือแย่ทั้งร่างกาย และจิตใจ สาเหตุเพราะอาหารที่ได้รับไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
2.มาราสมัส (Merasmus) เป็นโรคขาดโปรตีนอีกแบบหนึ่ง เด็กจะแขนขาลีบ ไขมัน และกล้ามเนื้อถูกเผาผลาญมาเป็นพลังงานเพื่อความอยู่รอด เหมือนหนังหุ้มกระดูก ผิวหนังเหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ พบในเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ ที่หย่านมแม่ไว และเลี้ยงด้วยโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง
โรคขาดโปรตีนทั้ง 2 แบบนี้ เกิดจากการรับอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น นมข้นหวานที่ผสมเจือจาง และเด็กบางคนสามารถเป็นโรคทั้ง 2 แบบได้ในเวลาเดียวกัน
รศ.ดร.แก้ว กังสตาลอำไพ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าว่า ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีเพียงนมสดพาสเจอร์ไรซ์เท่านั้น เพราะนมข้นหวาน เป็นนมที่ประเทศด้อยพัฒนานิยมนำไปเลี้ยงทารก และที่ข้างกระป๋องก็เขียนอยู่แล้วว่า อย่าใช้เลี้ยงทารก แต่คนไทยบางคนก็ยังนำนมข้นหวานมาใช้เลี้ยงทารกอยู่ดี
เพราะคุณพ่อ คุณแม่ที่มีฐานะยากจนคิดว่าสะดวก และราคาถูก จนเด็กทารกในบางหมู่บ้านกลายเป็นโรคขาดวิตามินเอ และทำให้ตาบอด ทางกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข จึงขอให้ อย.ประกาศให้นมข้นหวานมีวิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินบีลงไปด้วย ปริมาณที่เติมสูงบ้าง ต่ำบ้าง แต่บางยี่ห้อก็ไม่มี เพื่อให้นมข้นหวาน มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น ทำให้คุณแม่ที่อยู่ทางภาคใต้ส่วนใหญ่ เข้าใจผิด นำไปเลี้ยงทารก ทั้งๆ ที่มีข้อความเตือนเอาไว้
ถึงแม้ว่านมข้นหวานจะเพิ่มวิตามินเอสูงขึ้นแล้วก็ตาม การให้ลูกน้อยกินนมข้นหวาน จะได้เพียงความหวานมันเป็นหลัก ไม่มีโปรตีน การนำไปชงกับน้ำ โปรตีนยิ่งลดลง จึงไม่พอต่อการทำงานร่วมกับวิตามินเอ และทำให้เป็นโรคตาบอดในเด็กได้
นมข้นหวานทุกชนิด เป็นนมแปลงไขมัน ใช้น้ำมันปาล์มใส่ลงไปแทนไขมันเนย ดังนั้น นมข้นหวาน จึงมีป้ายชัดเจนว่า “อย่าใช้เลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะจะทำให้ขาดสารอาหาร อาจทำให้ตาบอด”
Save
Save
Save
Save
Save