AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อาการนอนผวาในทารก สาเหตุ และวิธีแก้ไข

Credit Photo : shutterstock

อาการนอนผวาในทารก  คุณพ่อแม่มือใหม่ในหลายครอบครัวมีคำถามเข้ามาว่า ทำไมเวลาที่ลูกนอนหลับมักจะมีอาการผวา? ก่อนอื่นต้องบอกว่าการนอนผวาของลูกไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อให้พ่อแม่ทุกคนได้คลายกังวลว่าเพราะเหตุใดลูกวัยทารกจึงมักนอนผวา ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบเพื่อให้สบายใจมาฝากค่ะ

 

อาการนอนผวาในทารก เกิดจากสาเหตุใด?

เด็กทารกแรกเกิดจนถึง 2-3 เดือนแรก เวลานอนไม่ว่าจะเป็นช่วงการนอนกลางวัน หรือช่วงนอนกลางคืน หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตดูจะพบว่าในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกจะมีการสะดุ้งนอนผวา ซึ่งอาการแบบนี้เกิดจากการที่ระบบประสาทอัตโนมัติที่เรียกว่า Moro Reflex ที่พอมีอะไรมากระตุ้น อย่าง เสียง หรือแสงสว่าง ฯลฯ มากระทบกับลูก ก็จะทำให้เขามีอาการสะดุ้งผวาแล้วตื่นขึ้นมาได้  สำหรับอาการลูกนอนผวาในเด็กทารกถือเป็นอาการปกติ ไม่ได้ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกแต่อย่างใด

 

การนอนในทารกแรกเกิด – 6 เดือนแรก

ในช่วงแรกเกิดนี้ เด็กจะนอนค่อนข้างมาก โดยเฉลี่ย 16-20 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะแบ่งเป็นช่วงๆ บางช่วงนาน 4-5 ช.ม.ซึ่งจะพอดีกับมื้อนม แต่ในบางครั้ง ก็อาจจะยาวกว่า 5 ช.ม. หรือสั้นเพียง 2-3 ช.ม. เท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่า เป็นเกณฑ์ปกติ และเด็กจะตื่น หรือหลับไปตามความต้องการ ภายในร่างกายของเขา เช่นเมื่ออิ่มก็จะหลับได้นาน เมื่อหิวหรือมีอึ,ฉี่เปียกก็จะตื่นมาร้อง ให้คุณพ่อคุณแม่ เข้ามาดูแลป้อนนม หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เขา ซึ่งถึงแม้การนอนของลูก จะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันบ้าง ในแต่ละวัน แต่ถ้าลูกแข็งแรง และเจริญเติบโตดี ก็ไม่มีสิ่งอันใด ที่จะต้องเป็นกังวล และไม่จำเป็นต้องปลุกลูก ขึ้นมาจากหลับ เพียงเพื่อให้ทานนม เพราะถึงเวลาทานนมแล้ว เมื่อลูกอายุมากขึ้น การนอนก็จะเริ่มเข้าที่มากขึ้น โดยจะเริ่มมีการนอนนานขึ้น ในช่วงกลางคืน และเริ่มจะตื่นมาเล่น นานขึ้นในช่วงเวลากลางวัน1

ถึงแม้ว่าอาการนอนสะดุ้ง นอนผวาจะไม่ได้ส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพร่างกายของลูก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อดที่จะเป็นกังวลไม่ได้ซึ่งการที่ลูกนอนผวา หลับไม่สนิทนี้จะหายไปเมื่อลูกมีอายุ 3- 6 เดือน

 

อ่านต่อ >> “เมื่อลูกน้อยผวา ต้องทำอย่างไร?” หน้า 2

 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกนอนผวา นอนสะดุ้ง?

หากคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลกับอาการผวาของลูกน้อย อาจต้องหาเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการนอนเข้ามาช่วย เพื่อให้ลูกนอนได้นานและหลับสนิทมากขึ้น ไม่ผวา สะดุ้งตื่นขึ้นมา เราจึงขอแนะนำให้ทำแบบนี้กับลูกน้อยก่อนให้เขานอนหลับ ดังนี้

 

วิธีการห่อตัวทารก

  1. ปูผ้าขนหนูหรือผ้าห่มเป็นแนวทแยง จากนั้นนก็ให้พับมุมด้านบนลงมา
  2. คุณแม่วางลูกบนผ้าขนหนูในท่านอนหงาย โดยให้ส่วนคอลูกอยู่บริเวณมุมที่พับลงมา
  3. จับผ้าจากด้านซ้ายห่อตัวลูก เหน็บไว้ใต้แขนซ้าย
  4. จับผ้าจากด้านล่างขึ้นมาปิดขาลูก
  5. สุดท้ายให้จับผ้าจากด้านขวาเข้ามาห่อตัวลูก เหน็บชายผ้าไว้ใต้ตัวลูก เสร็จแล้วค่ะการห่อตัวลูก ที่จะช่วยให้ลูกหลับได้สนิทยาวนาน ลดอาการนอนผวา หลับไม่สนิทของลูกได้ค่ะ

อ่านต่อ >> “5 เคล็ดลับง่ายๆ ช่วยป้องกันลูกน้อยนอนผวา” หน้า

 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกนอนผวา

  1. ในห้องนอนต้องไม่มีสิ่งกระตุ้นเร้า ที่เป็นตัวการทำให้ลูกนอนผวา ไม่ว่าจะเป็น เสียงดังจากทีวี แสงสว่างจ้าจากไฟ ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกนอนหลับไม่สนิท และอาจมีอาการผวา สะดุ้งตกใจตื่นขึ้นมาได้ค่ะ
  2. การจัดท่านอนให้ลูกได้นอนคว่ำ แต่ตะแคงหน้าไปทางใดทางหนึ่ง จะช่วยลดอาการนอนผวาให้ลูกได้ค่ะ แต่ขอแนะนำว่าหากให้ลูกนอนคว่ำควรเป็นช่วงนอนกลางวัน ที่มีคุณแม่ หรือคนช่วยเลี้ยงลูกคอยช่วยดูอยู่ด้วย เพราะการนอนคว่ำหากจัดท่านอน หรือที่นอนไม่ดีอาจทำให้ลูกหายใจไม่ออก จนขาดออกซิเจนแล้วเสียชีวิตได้
  3. เวลาที่ลูกนอนให้มีผ้าห่มวางไว้บนหน้าอกลูกด้วย เพราะจะช่วยลดอาการผวา หลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นได้
  4. ให้ลูกนอนเปลแบบผ้าขาวม้าที่พอลูกนอนลงไปแล้วผ้าที่อยู่ขนาบข้างจะชิดติดกับตัวลูก จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย ช่วยทำให้ลูกหลับได้นาน และช่วยลดการนอนผวาของลูกด้วย
  5. ก่อนพาลูกเข้านอนไม่ว่าจะนอนกลางวัน หรือนอนกลางคืน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเล่นกับลูกให้เขาหัวเราะมากไป หรือจับลูกอุ้มโยนขึ้นลง หรือเล่นท่าเครื่องบิน เพราะลูกอาจเก็บไปฝันแล้วทำให้ผวาตื่นขึ้นมาได้

 

การให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่และนอนอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่ดี ที่สำคัญการนอนหลับเต็มอิ่ม จะช่วยให้ลูกน้อยตื่นขึ้นมาไม่ร้องโยเย อารมณ์ตลอดวัน …ด้วยความห่วงใยค่ะ 

 

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!

ลูกเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน จากการนอนดึก จริงหรือ ?
รวม 25 วิธีเด็ด ช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับง่าย สบาย และนานขึ้น
20 วิธีสานสายใยความผูกพันกับลูกน้อยก่อนเข้านอน

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์.คลินิกเด็ก.คอม. ลูกควรนอนแค่ไหนจึงพอ?.clinicdek