เขย่าทารก … รู้ไหมคะว่า พ่อแม่หรือคนรอบข้างที่เลี้ยงดูลูก ก็สามารถที่จะหยิบยื่นอันตรายร้ายแรงเสี่ยงถึงชีวิตให้กับลูกน้อยได้ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากการอุ้มแล้วเขย่า ซึ่งการเขย่าทารก แล้วเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเด็ก อาการนี้เรียกว่า Shaken Baby Syndrome (SBS)
เขย่าทารก เรื่องนี้พ่อแม่อย่ามองข้ามเด็ดขาด !!!
เครดิตภาพ : google
ลูกเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พ่อแม่ทุกคนจะดูแลทารกวัยแรกเกิดชนิดที่ยุงไม่ให้ไต่ ไรไม่ให้ตอม แต่รู้ไหมคะว่าลูกอาจจะได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตด้วยมือของพ่อแม่ และคนรอบข้างภายในครอบครัวได้เหมือนกัน หากไม่รู้จักวิธีดูแลเด็กทารกที่ถูกต้อง
โดยปกติแล้วลูกน้อยที่อยู่ในวัยทารกมักจะร้องไห้ทุกครั้งเมื่อตื่นนอน ร้องไห้เมื่อหิว ร้องไห้เมื่อรู้สึกไม่สบายตัว หรือไม่สบาย ฯลฯ ซึ่งหากพ่อแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกมาก่อน อาจจะไม่ทราบว่าการร้องไห้ของลูกนั้นต้องการสื่อหรือต้องการอะไร ด้วยความรักของพ่อแม่จึงอุ้มลูกขึ้นมาปลอบโยน และบางครั้งอาจอุ้ม เขย่าลูกเบาๆ เพื่อให้ลูกสงบลง แต่การอุ้ม เขย่าทารก
Must read : ⇒ ลูกร้องโคลิค สาเหตุ และวิธีแก้ไข ⇒ ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ? ⇒ สาเหตุที่ทำให้ลูก ทารกร้องไห้ และวิธีรับมือ
นี่แหละค่ะ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อสมองของลูกให้เกิดความเสียหายได้ รวมทั้งในบางอารมณ์ที่พ่อแม่รู้สึกเหนื่อยและหงุดหงิดโมโหกับเสียงร้องของลูก ก็อาจจะพลั้งเผลออุ้มลูกขึ้นมาเขย่าจนศีรษะลูกน้อยโยกไปมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสมองของลูกได้เช่นกันค่ะ
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนลองดูภาพ 3D จำลองผลของ การเขย่าทารก และเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นถึงอันตรายจากการอุ้ม เขย่าลูก ว่าสมองจะถูกกระทบกระเทือนจนได้รับความเสียหายได้อย่างไร ติดตามได้จากวิดีโอสาธิตชุดนี้ค่ะ
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : oopshan
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อุทาหรณ์จากเรื่องจริง (จำลองเหตุการณ์)
“แม่เขย่าตัวลูกจนตาย”
คลิปวีดีโอต่อไปนี้คือการจำลองเหตุการณ์จริงที่แม่อุ้มเขย่าลูกจนลูกน้อยเสียชีวิต ซึ่งจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มองเห็นภาพที่ชัดเจน ว่าผลของการอุ้มเขย่าลูกน้อย เพื่อให้หยุดร้องไห้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง ซึ่งการกระทำแบบนี้อาจเกิดขึ้นจากคุณแม่มือใหม่เป็นส่วนมาก เพราะคุณแม่มือใหม่เกือบทุกคนมักมีความเครียดหลังคลอดตามมา และจะเครียดมากหากต้องเลี้ยงลูกคนเดียว เมื่อลูกร้องไห้จึงทำอะไรไม่ถูกและพยายามใช้วิธีเขย่าเรียกชื่อและบอกให้ลูกหยุดร้องไห้นั่นเอง
ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาการร้องไห้ของทารกที่ถูกต้องเลย… แถมยังส่งผลร้ายต่อสมองของลูกน้อยได้ ดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้คุณหมอ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ได้อธิบายเกี่ยวกับผลร้ายของการอุ้มเขย่าลูกน้อย พร้อมแนะนำวิธีรับมือและควบคุมอารมณ์ของคุณแม่มือใหม่ ขณะที่ต้องเลี้ยงลูกและลูกน้อยเกิดร้องไห้งอแงไว้อย่าละเอียดชัดเจน จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ไปชมคลิปวีดีโอกันเลยค่ะ
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : oho edit chanel
Shaken Baby Syndrome คืออะไร?
โอกาสที่เกิดขึ้นโดยส่วนมาก จะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ซึ่งพบบ่อยในช่วงวัย 3 – 8 เดือน เกิดจากการเขย่าเด็กไปมาอย่างรุนแรง จนกระทบกระเทือนทางสมอง อาจทำให้ตาบอด เป็นอัมพาต ชักกระตุก ไปจนถึงเสียชีวิตได้
เด็กที่ตกอยู่ในภาวะ Shaken Baby Syndrome จำนวน 1 ใน 3 คน มักจะเสียชีวิต ที่เหลือรอดก็มีโอกาสตาบอด เป็นลมชัก หรือถ้ารอดก็มักมีปัญหาด้านการเรียนรู้ หรือสติปัญญาต่อไปได้
ทั้งนี้ก็ได้เคยมีกรณีที่ลูกน้อยเสียชีวิตจริง เพราะโดนเขย่าอย่างรุนแรง จนเกิดอาการชัก หยุดหายใจเป็นช่วงๆ เนื้อตัวเขียว และสิ้นใจ เมื่อทีมแพทย์ทำการผ่าชันสูตรก็พบว่าเด็กมีเลือดออกในสมองจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ภายนอกไม่มีบาดแผล หรือริ้วรอยการถูกทำร้ายเลย โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ต่างประเทศ
โดยจากการศึกษาในประเทศแคนาดา พบว่าในกลุ่มทารกที่รอดชีวิตหลังจากที่ถูกสั่นหรือเขย่าอย่างรุนแรงและได้รับบาดเจ็บนั้น 10 ปีต่อมาพบว่า มีเพียง 7% เท่านั้นที่มีอาการปกติ ส่วน 12% นั้นยังอยู่ในขั้นโคม่า ไม่สามารถพูด คิดหรือเคลื่อนไหวได้เป็นอัมพาต อีก 60% และกลุ่มที่รอดชีวิตร้อยละ 80 ต้องพึ่งการรักษาและช่วยเหลือไปตลอดชีวิต1
Good to know… “การเขย่าตัวเด็กทารกไม่ว่าจะเขย่าด้วยความเอ็นดูรักใคร่ หรือ เขย่าทารก เพราะความโมโห สามารถทำให้เส้นเลือด (Blood Vessel) แตกบริเวณสมองหรือตาได้ ส่งผลกระทบให้เกิดบาดแผลขนาดใหญ่ในสมองของทารก และอาจร้ายแรงอันตรายถึงเสียชีวิต”
⇒ Must read : กิจกรรมเล่นกับลูก 7 อย่างต้องห้าม เสี่ยงกระทบสมอง อันตรายถึงชีวิต
อ่านต่อ >> “อาการผิดปกติของลูก หลังแม่อุ้มเขย่า” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ในเด็กทารกกะโหลกศีรษะยังเติบโตไม่เต็มที่ หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกไม่ดีเท่าที่ควร และไม่ทันระวังจนเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ ผลกระทบจะร้ายแรงมากกว่าผู้ใหญ่ นั่นเพราะเด็กทารกจะมีสมองบางส่วนที่ยังไม่ได้ถูกหุ้มไว้ด้วยกระดูกหรือกะโหลก ศีรษะของทารกจึงบอบบางมาก
⇒ Must read : กระหม่อมทารก ปิด-เปิด-โป่ง-ยุบ เรื่องสำคัญ แม่ต้องสังเกต
การเขย่าทารก (Shaken Baby Syndrome) มีอาการอย่างไร ?
การที่พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูลูก พลั้งเผลออุ้มลูกขั้นมาแล้วจับตัวเด็กเขย่าถึงแม้แม้จะเป็นการเขย่าเบาๆ ก็ทำให้ศีรษะของเด็กสั่นสะเทือนได้ค่ะ ซึ่งอาการที่จะสังเกตถึงความผิดปกติของลูกหลังเกิดจากที่มีการสั่น หรือ เขย่าทารก สามารถสังเกตความผิดปกติได้ ดังนี้…
- เด็กมีอาการหายใจติดขัด
- เด็กไม่สามารถยกศีรษะขึ้นได้
- เด็กจะตัวแข็ง และขยับตัวไม่ได้
- เด็กไม่สามารถดูดและกลืนน้ำนม
- เด็กจะมีความอยากนม / อาหารลดลง
- เด็กจะไม่ยิ้มแย้มหรือเปล่งเสียงตามธรรมชาติ
- เด็กจะมีรอยช้ำบนแขนหรือหน้าอก และหน้าซีด
- เด็กมีความเฉื่อยชา และไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
- เด็กจะมีศีรษะหรือหน้าผากบวม หรือมีปุ่มเนื้อบูดออกมาจากศีรษะ
- เด็กจะไม่สามารถจดจ่อหรือจ้องมองสิ่งของที่เคลื่อนไหวผ่าน มีอาการตาโรย (lethargic eyes)
Good to know… “กะโหลกและสมองของทารก ยังอ่อนนุ่มหากเกิดการกระทบกระเทือนและบอบช้ำอย่างรุนแรง สามารถนำไปสู่การเป็นอัมพาตและอาจเสียชีวิต”
เพื่อเป็นการยืนยันว่าการอุ้ม เขย่าทารกนั้นอันตรายต่อชีวิตของลูก แพทย์หญิงลูซินดา ไดคส์ กุมารแพทย์แห่งโรงพยาบาลและคลินิกของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้เตือนถึงพ่อแม่ว่าการจับลูกเล็กๆ เขย่าด้วยอารมณ์โมโห อาจทำให้สมองกระทบกระเทือนโดยถาวรได้ “ขณะที่สมองถูกเขย่าให้เคลื่อนไปมาอยู่ภายในกะโหลกศีรษะนั้น เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงระหว่างสมองกับกะโหลกศีรษะจะยืดตัวออก และเกิดการฉีกขาดทำให้มีเลือดไหลภายใน เลือดนี้จะไปกดสมอง ขณะเดียวกันสมองอาจจะเกิดการฉีกขาดจากแรงเขย่าในทันที”2
การเขย่าทารก (Shaken Baby Syndrome) มีผลเสียมากกว่าผลดี ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากความรัก หรืออารมณ์โมโหชั่ววูบ ก็อาจทำให้เกิดโศกนาฏกรรมที่ทำให้พ่อแม่เสียใจไปตลอดชีวิต ฉะนั้นหากรักลูกควรรักและดูแลทะนุถนอมอย่างถูกวิธี ที่สำคัญไม่ว่าลูกจะมีอาการผิกปกติใดๆ เกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตาม พ่อแม่ไม่ควรนิ่งเฉยกับลูก แต่ควรจะรีบพาลูกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที ด้วยความห่วงใยค่ะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ
- อุ้มลูกผิดท่า ระวัง! คุณแม่อาจพลาดท่าให้โรคร้าย
- อุ้มโยน เขย่า ดึงแขน อันตรายกับลูกมากกว่าที่คิด
- ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง มีกี่ท่า?
อ้างอิงข้อมูลจาก
1http://www.vcharkarn.com/ vnews/142803.เขย่าลูก อันตรายมหันต์ 2https://www.doctor.or.th/article/detail/6244.แม่จ๋า..อย่าเขย่าหนูแรงนะจ๊ะ http://www.bushywood.com/ministry_of_justice/murders/shaken_baby_syndrome.htm
Save