AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เมื่อลูกทารกชัก เรื่องใหญ่ที่พ่อแม่ควรรู้

แม้อาการชักในทารกไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่สำหรับพ่อแม่มือใหม่หลายท่าน เพียงแค่ได้ยินคำว่า “ชัก” ก็คงตกอกตกใจกันบ้างใช่ไหมคะ เราจะมาเจาะลึกอาการ “ชัก” ในเบบี๋ กับ พญ. พิชญา ไพศาล กุมารแพทย์ด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ว่าอาการชักแบบไหนที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง และเมื่อลูกมีอาการชัก ควรทำอย่างไร มาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

สาเหตุของอาการชักในทารกคือ

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรคลมชักส่วนหนึ่งที่ตรวจแล้วไม่พบสาเหตุอีกด้วย  อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาวะชักจากไข้สูงจะพบได้บ่อยและไม่อันตราย ถ้าลูกมีไข้แล้วชักก็ควรพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุเสมอ

อันตรายจากอาการชักมีอะไรบ้าง?

อาการชักส่วนใหญ่มักหยุดได้เองภายในเวลาไม่กี่นาที จึงมักไม่ทำให้เกิดอันตรายโดยตรง แต่ผลกระทบจากการชักพบว่าอาจเกิดจาก

อาการชักในเบบี๋เป็นอย่างไร?

การชักในทารกที่พบบ่อย คือ การเกร็งหรือเกร็งและกระตุกทั่วตัว หมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว ตาเหลือก ซึ่งส่วนใหญ่คุณพ่อคุณแม่เห็นก็มักจะบอกได้ว่าเป็นอาการชัก แต่ในเด็กทารกจะมีอาการชักบางลักษณะที่คนส่วนใหญ่อาจไม่รู้และปล่อยผ่านไป แต่หากเป็นบ่อยๆ จะส่งผลต่อการมีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติได้ด้วย ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นอาการเหล่านี้ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เช่น

เมื่อลูกเบบี๋ชัก พ่อแม่ช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง?

อาการชักส่วนใหญ่หยุดเองได้ในเวลาไม่กี่นาที  สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้คือ ระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายจากการชัก จัดท่าลูกในท่านอนตะแคงเพื่อลดการสำลัก และไม่เอาอะไรใส่ปากลูกเด็ดขาด ถ้าหยุดชักแล้วอาการปกติดี ก็ค่อยพาลูกไปพบแพทย์ แต่ให้ระวังการชักที่นานเกิน 5 นาทีมักไม่หยุดเอง กรณีนี้ต้องพาไปโรงพยาบาลทันที

อาการชักจากไข้สูงเกิดจากอะไร? ทำให้พัฒนาการช้าจริงหรือ?

สาเหตุไม่แน่ชัด อาจเกิดจากเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการส่งสัญญาณประสาท ปัจจุบันก็พบว่าเกี่ยวข้องการความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมด้วย  ซึ่งอาการชักจากไข้สูงนั้นจากการศึกษาพบว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญา ความสามารถในการเรียนรู้ และพฤติกรรมของเด็ก และมักเกิดกับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปีเท่านั้น จึงไม่ต้องเป็นกังวลมากค่ะ เพราะเมื่อเด็กอายุเกิน 5 ปี เขาจะหายได้เอง

แต่หากลูกมีประวัติชักจากไข้ซ้ำหลายๆ ครั้ง และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลมชัก หมอจะทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง เนื่องจากอาจมีโอกาสเป็นโรคลมชักได้มากกว่าคนทั่วไป

 

ถ้าลูกชักจากไข้สูง ควรกินยากันชักไหม?

การรักษาด้วยยากันชักมี 2 แบบ คือ แบบกินต่อเนื่อง กับแบบที่กินเฉพาะเวลามีไข้สูง การรักษาจะขึ้นกับดุลยพินิจของคุณหมอและการตัดสินใจร่วมกันของคุณพ่อคุณแม่ว่าจะให้ยากันชักหรือไม่ เพราะยากันชักทุกตัวมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างกินยาที่กินแบบต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อระดับสติปัญญาและพฤติกรรมได้  ยากันชักที่ใช้เฉพาะช่วงไข้สูง ก็อาจทำให้เด็กง่วง ยากต่อการสังเกตอาการของคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้ด้วย และการศึกษาพบว่า การให้ยากันชักในระหว่างไข้สูงไม่ได้ช่วยป้องกันโรคลมชักในอนาคต ดังนั้นการจะกินยากันชักจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการรักษาด้วย

มีไข้ต่ำ ชักได้ไหม?

มีโอกาสเป็นไปได้ค่ะ และกรณีชักจากไข้ต่ำๆ จะมีโอกาสชักซ้ำจากไข้ในครั้งต่อไปได้มากกว่าเด็กที่ชักตอนไข้สูงๆ ด้วย

การชักทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตไหม?

อาการชักเพียงอย่างเดียวไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ชักอาจเป็นอาการแสดงของโรคบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายได้ เช่นการติดเชื้อ หรือภาวะเลือดออกในสมอง

พ่อแม่จะป้องกันไม่ให้ลูกทารกเกิดอาการชักจากไข้ได้อย่างไร?

พยายามป้องกันไม่ให้ลูกมีไข้สูง หากมีไข้รีบเช็ดตัวลดไข้และทานยาพาราเซตามอล การใช้ยาลดไข้สูงชนิดอื่นควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

เรื่องต้องทำ! เรื่องต้องห้าม! เมื่อลูกชัก

✓ เรื่องต้องทำ

  1. ให้ลูกอยู่ในที่ปลอดภัย บนพื้นราบ ไม่มีของแข็งหรือของมีคมอยู่ใกล้ๆ
  2. จับลูกนอนตะแคง เพื่อกันการสำลัก
  3. ถ้าทำได้ ถ่ายคลิปวิดีโอ ถ่ายให้เห็นทั้งตัวลูกขณะชัก เป็นข้อมูลที่ดีสุดๆ สำหรับคุณหมอ! หากถ่ายคลิปไม่ได้ ให้สังเกตลูกดีๆ เพื่อเล่าให้คุณหมอฟังว่าลูกชักนานเท่าไร ท่าทางการชักเป็นอย่างไร

X เรื่องต้องห้าม

  1. เอาสิ่งของใส่ปาก ความเชื่อที่ว่าให้เอาช้อนใส่ปากลูกเพื่อกันการกัดลิ้น ห้ามเด็ดขาด! เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้ลูกสำลัก และอาจทำให้ฟันบิ่นหรือฟันหักและหลุดเข้าคอได้
  2. เขย่าตัวลูก หรือกดปั๊มหัวใจ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้ลูกหยุดชักแล้วอาจกระตุ้นการสำลักด้วย

ถ้าไม่แน่ใจว่าลูกชักหรือไม่ ทำอย่างไรดี

หากลูกมีอาการแปลกๆ น่าสงสัย แต่ไม่แน่ใจว่าใช่อาการชักหรือเปล่า ให้คุณพ่อคุณแม่ถ่ายคลิปวิดีโอไว้ และพาลูกไปหาหมอ ควรถ่ายให้เห็นทั้งตัว รวมถึงแขนและขาด้วย เพื่อให้คุณหมอสังเกตอาการชักของลูก และวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ. พิชญา ไพศาล กุมารแพทย์ด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

ที่มา: นิตยสารเรียลพาเรนติ้ง ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2558

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารฯ

ภาพ: Shutterstock