อยากให้ลูกฉลาด เริ่มได้ตั้งแต่ลูกแรกเกิด ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง อยากให้ลูกฉลาด นอกเหนือจากการให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมด้านต่างๆ ทั้งร้องเพลง ออกกำลังกาย เล่นอย่างอิสระแล้ว การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง หรือให้ลูกดูภาพประกอบในหนังสือ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองของลูกได้ดี
อยากให้ลูกฉลาด ควรเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ตอนไหน?
งานวิจัยด้านพัฒนาการทางสติปัญญาและภาษาแสดงว่า การอ่านเขียนของเด็กปฐมวัยเป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่วัยทารก เริ่มจากการที่พ่อแม่ชวนให้เด็กๆ ดูรูปภาพในหนังสือ อ่านหนังสือให้ฟัง การอ่านหนังสือและเล่านิทานให้ลูกวัยต่ำกว่า 3 ขวบฟัง
ประโยชน์ของการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
- ช่วยพัฒนาทักษะทางภาษา
- ส่งเสริมทักษะการฟัง
- กระตุ้นจินตนาการและความคิดรวบยอด
- เพิ่มพูนประสบการณ์
- เป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนรู้ผ่านการอ่าน
- ลูกได้ใกล้ชิดกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ดีต่อพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ของเด็ก
ขณะฟังนิทาน เซลล์สมองจะมีการแขนงของเส้นใยประสาท ยิ่งเส้นใยสมองเพิ่มขึ้นมาก เด็กจะยิ่งฉลาดมาก การอ่านทำให้มีการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น ทางตา ทางหู การจับสัมผัส เป็นการฝึกการใช้จินตนาการ เพราะเมื่อฟังแล้วมีการคิดตามสิ่งที่ได้ยิน เป็นการฝึกมโนภาพ นอกจากนี้ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกๆ ได้เป็นอย่างดี และ เมื่อโตขึ้นจะได้เป็นคนที่มีนิสัยรักการอ่าน
อ่านต่อ เทคนิคการเลือกหนังสือสำหรับเด็กเล็ก คลิกหน้า 2
เทคนิคการเลือกหนังสือสำหรับเด็กเล็ก
- หนังสือภาพ ที่มีรูปภาพใหญ่ๆ สีสันสดใส
- ชื่อหนังสือและเนื้อหาภายในเล่ม ควรเป็นคำคล้องจองเพื่อให้จดจำได้ง่าย ติดหู
- หนังสือมีเพลงประกอบ เพราะเด็กๆ ชอบเสียงเพลง
- หนังสือมีพื้นผิวแปลกๆ ให้ได้สัมผัส เป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัส ขอบหนังสือต้องมน ใช้วัสดุที่ไม่ขาดง่าย ไม่เป็นเหลี่ยมคมเพราะอาจเป็นอันตรายกับลูกได้
อ่านหนังสืออย่างไรให้ลูกสนุก
- ให้ลูกนั่งตัก จะอบอุ่นและปลอดภัยขณะอยู่ในอ้อมกอดของคุณเป็นการสร้างสายสัมพันธ์อันดี
- อ่านออกท่าทาง แสดงสีหน้า อารมณ์ให้เข้ากับเนื้อเรื่อง โทนเสียงสูงต่ำ ในแต่ละตัวละคร
- อ่านตามความเข้าใจ และพยายามสื่อสารกับลูก สร้างคำถาม เป็นการกระตุ้นพัฒนาการได้ดี
- ร้องเพลงประกอบ ทำเสียงสัตว์ต่างๆ ให้ลูกรู้สึกว่าการอ่านเป็นเรื่องที่สนุกและน่าติดตาม
- ลูกเรียนรู้จากการทำซ้ำ โดยอ่านนิทานเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก
- เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ให้เขาสัมผัสหนังสือ หรือให้ลูกน้อยถือหนังสือเล่นบ้าง ควรเลือกหนังสือที่ปลอดภัย ปล่อยให้ลูกเรียนรู้ถึงสัมผัสจากหนังสือด้วยวิธีการของเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นการกัดหรือการอม
สัมผัสของพ่อแม่ช่วยลูกเรียนรู้อย่างเป็นสุข
พ่อแม่ควรมีเวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เริ่มได้ตั้งแต่แรกเกิด แบ่งเวลาอ่านเป็น 3 ช่วง เช่น หลังกินข้าว ก่อนนอนตอนกลางวัน หรือ ก่อนเข้านอนกลางคืน ถ้าลูกอารมณ์ไม่ดีไม่อยากฟัง ไม่ควรบังคับ หากพ่อแม่อ่านพร้อมกับลูก ยังเป็นการให้เวลา ให้ความรัก พูดคุยกับลูก ได้โอบกอดลูก ให้ลูกนั่งตักเล่านิทานให้ลูกฟัง สัมผัสของความรักและเรียนรู้อย่างเป็นสุข พ่อแม่จึงมีบทบาทสำคัญ เปิดโลกการเรียนรู้ของลูกผ่านการอ่าน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าเด็กในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี ที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ไม่โอบอุ้ม โอบกอด และพูดคุยด้วยจะมีพัฒนาการของสมองต่ำกว่าเกณฑ์ปกติร้อยละ 20-30
บทความน่าสนใจอื่นๆ คลิก
แนะนำ 50 วรรณกรรมเพื่อลูกฉลาด ต้องอ่านก่อนโต
วิธีสร้างลูกน้อยรักการอ่าน 8 step