AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

สปสช. จัดสิทธิประโยชน์ “บัตรทอง” ดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็กไทย!

บัตรทอง ของเด็ก …สปสช. จัดสิทธิประโยชน์ “บัตรทอง” ดูแลสุขภาพเด็กไทย ตั้งแต่ในครรภ์จน 5 ปี เน้นฝากครรภ์ ให้วัคซีน ตรวจพัฒนาการ กลุ่มเด็กโตอายุ 6 – 24 ปี เน้นงานอนามัยในโรงเรียน

โดย นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เด็กไทยเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดเพื่อนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาและความก้าวหน้า ทั้งนี้ทางด้านบอร์ด สปสช. ได้เห็นความสำคัญนี้ จึงจัดชุดสิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนให้เด็กไทยมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ เติบโตเป็นประชากรอย่างมีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต

โดยครอบคลุมการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ วัยทารกแรกเกิดจนถึงเด็กปฐมวัย ทั้งด้านการรักษาโรคทั่วไป โรคเฉพาะทางค่าใช้จ่ายสูง และการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามแนวเวชปฏิบัติ และมาตรฐานบริการที่กำหนดโดยกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัย และสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

สิทธิประโยชน์ บัตรทอง ของเด็ก

ซึ่ง สปสช.ได้แบ่งสิทธิประโยชน์เด็กเป็น 2 กลุ่มวัย คือ กลุ่มเด็กเล็ก อายุ 0 – 5 ปี และกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6 – 24 ปี  โดยในกลุ่มเด็กเล็ก อายุ 0 – 5 ปี สิทธิประโยชน์จะรวมถึงทารกที่อยู่ในครรภ์ จะได้รับการดูแลตั้งแต่คุณแม่เข้ารับการฝากครรภ์ในครั้งแรกขณะที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และต่อเนื่องตามระบบฝากครรภ์คุณภาพจนถึงคลอด มีการประเมินความเสี่ยงของครรภ์ การให้วัคซีนคอตีบและบาดทะยัก การให้ยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน เป็นต้น

และเมื่อคลอดทารกจะได้รับวิตามินเค วัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี หากแม่เป็นพาหะตับอักเสบบี จะได้รับวัคซีนป้องกันตับอักเสบบีอีก 1 เข็ม การคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ และการส่งเสริมให้กินนมแม่

ต่อมาในช่วงเด็กเล็กอายุ 1 – 18 เดือน เป็นช่วงวัยที่สมองและร่างกายของเด็กจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว จึงเป็นช่วงที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในช่วงวัยนี้ จึงเน้นที่การตรวจพัฒนาต่างๆ ของเด็ก เพื่อให้เหมาะสมและเป็นไปตามวัย อาทิ การตรวจสุขภาพ ประเมินการเจริญเติบโตของร่างกายที่ต้องเป็นไปตามช่วงวัย วัดรอบศีรษะเพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติของสมอง การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ การตรวจสุขภาพในช่องปากและทาฟูลออไรด์วาร์นิช การให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ให้คำปรึกษาพ่อแม่ในการดูแลเด็ก รวมถึงการกระตุ้นพัฒนาการในกรณีพบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ไม่สมวัย

นอกจากนี้ ยังเน้นเฝ้าระวังและการป้องกันโรค โดยเฉพาะการให้วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อาทิ วัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยักและไอกรน วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน และคางทูม และวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี เป็นต้น โดยจะมีการให้วัคซีนในบางรายการเพิ่มเติมตามช่วงอายุ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม

Must readตารางการฉีดวัคซีน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 ขวบ
Must readวัคซีนพื้นฐาน 6 ชนิดที่ลูกน้อยต้องได้รับ

อ่านต่อ >> “สิทธิประโยชน์บัตรทองของเด็ก อายุ 6 – 24 ปี” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ส่วนกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6 – 24 ปี เป็นช่วงเริ่มเข้าสู่วัยเรียน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะสนับสนุนการดูแลสุขภาพ “อนามัยโรงเรียน” เริ่มตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 หากเด็กไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนจะได้รับในช่วงนี้ ส่วนเด็กที่ได้รับวัคซีนมาแล้วตามช่วงอายุจะได้รับการกระตุ้นเพิ่มเติม ทั้งวัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ วัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน และคางทูม และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นต้น พร้อมกันนี้จะได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก แต่ในกรณีพบว่าเด็กมีโลหิตจางจากโรคอื่นๆ เช่น โรคธาลัสซีเมีย หากเป็นชนิดรุนแรงจะได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา

ในขณะเดียวกัน เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 – 6 ทุกคนยังได้รับการคัดกรองและตรวจสุขภาพที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่แก้ไขให้เด็กเติบโตอย่างสมวัย เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของเด็ก ได้แก่ การประเมินภาวะโภชนาการ การคัดกรองเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างโครงการนำร่อง และการตรวจสุขภาพช่องฟัน การเคลือบหลุมร่องฟัน ทั้งนี้ กรณีที่พบเด็กมีภาวะผิดปกติ เช่น อ้วนหรือผอมไป มีปัญหาสายตา พบภาวะฟันผุ คุณครูจะส่งต่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพทันเวลา ตามสิทธิการรับบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สำหรับกรณีพบเด็กที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมถึงโรคค่าใช้จ่ายสูง ได้แก่ โรคเบาหวาน ไตวาย หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง สามารถรับการรักษาพยาบาลยังหน่วยบริการตามสิทธิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้

Must readรู้หรือไม่? เด็กทารกก็เป็นโรคเบาหวานได้!
Must readโรคไตในเด็ก…อันตรายใกล้ตัว ที่คาดไม่ถึง
Must readโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

รักษาการเลขาธิการ สปสช. กล่าวจบท้ายว่า “ตลอดระยะเวลา 15 ปี ของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บอร์ด สปสช. ได้ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพเด็กมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กไทยเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น โดยมีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปอย่างสมวัย และเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศ นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของการดำเนินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”

อย่างไรก็ดีเมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบถึง สิทธิประโยชน์บัตรทองของเด็กๆ แล้ว ก็สามารถอุ้มลูกพาหลานไปรักษา ดูแลรักษาสุขภาพ โดยรับบริการได้ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งและโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

อ่านต่อ >> “เอกสารที่ต้องใช้ในการขึ้นทะเบียนทำบัตรทอง” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การทำบัตรทอง

ผู้ถือบัตรทองจะได้รับการบริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์ การสาธารณสุข และการอนามัยอันจำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค

การป้องกันโรค การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล การป้องกันความพิการ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการอื่นใดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่หน่วยบริการจัดขึ้น โดยไปรับบริการได้ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งและโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

ผู้มีสิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่

ใช้หลักฐานดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และมีรูปถ่ายติดอยู่
  2. สำเนาสูติบัตร ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
  4. กรณีที่พักอาศัยไม่รงกับทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงว่าตนเองมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆดังนี้
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ผู้ขอลงทะเบียนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
  6. หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียน พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ พร้อมสำเนาบัตรผู้นำชุมชนของผู้รับรอง
  7. ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำหรือค่าไฟหรือค่าโทรศัพท์)หรือใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก หรือสัญญาค่าเช่าที่พัก ที่ระบุชื่อของผู้ขอลงทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดิม(กรณีที่ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ)
  8. หนังสือมอบอำนาจกรณีไม่สามารถยื่นคำร้องขอลงทะเบียนด้วยตนเองพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

ทั้งนี้ การเลือกหน่วยบริการประจำหลักๆจะยึดตามพื้นที่อยู่อาศัยจริงค่ะ เนื่องจากโครงการฯยึดหลักการ ใกล้บ้านใกล้ใจ ทำให้หน่วยบริการสามารถดูแลผู้มีสิทธิได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้มีสิทธิเองด้วยค่ะ เมื่อมีการเจ็บป่วยจะสามารถรับบริการจากหน่วยบริการใกล้บ้านได้และจะได้รับการดูแลกรณีส่งเสริมสุขภาพด้วยนะคะ

“ผู้มีสิทธิได้รับบัตรทองคือประชาชนคนไทยทุกคนที่ยังไม่มีสิทธิใดๆจากหลักประกันอื่น “

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ผู้ยกเว้นการใช้สิทธิ์บัตรทอง

  1. ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม
  2. ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
  3. ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ

วิธีการใช้สิทธิ์เมื่อเจ็บป่วย

กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน

บริการที่ได้รับความคุ้มครอง

บริการด้านการตรวจวินิจฉัย

  1. การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา ทั้งนี้ รวมถึงการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการ
  2. การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง กรณีที่บุตรมีชิวิตอยู่ (กรณีบุตรคลอดแล้วรอดออกมามีชีวิต)โดยนับตั้งแต่ใช้ สิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพ
  3. ค่าอาหาร และค่าห้องสามัญ
  4. การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การทำฟันปลอมฐานพลาสติก การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม และการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
  5. ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
  6. การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th , www.urnurse.net , www.gotoknow.org