AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

จุกหลอก 5 ข้อดี 5 ข้อเสีย ที่ควรรู้ก่อนใช้

จุกหลอก 5 ข้อดี 5 ข้อเสีย ที่ควรรู้ก่อนใช้

จุกหลอก ตัวช่วยในการเลี้ยงลูกที่หลายบ้านเลือกใช้ เพราะอาจทำให้ลูกอยู่นิ่ง หยุดร้องไห้งอแง และหลับง่าย แต่สำหรับบางครอบครัวกลับมองว่า จุกหลอกอาจไปทำลายพัฒนาการบางอย่างของลูก ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ความจริงจะเป็นอย่างไร มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้องให้ลูกใช้จุกหลอก คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ข้อดี ข้อเสียของจุกหลอก กันก่อนดีกว่าค่ะ

จุกหลอก คืออะไร เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่

จุกหลอก เกิดขึ้นมานานนับศตวรรษแล้ว เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย สงบ ไม่ร้องกวนใจตลอดวัน ในสมัยก่อนจะใช้อะไรก็ได้ที่เด็กสามารถคาบไว้ได้อย่างปลอดภัย เช่น ห่วงยางกัด แต่ในปัจจุบัน เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า จุกหลอกจึงได้พัฒนาให้มีรูปร่างเลียนแบบหัวนมของแม่ โดยผลิตจากซิลิโคนหรือยางที่มีความยืดหยุ่น และใช้งานได้สะดวก ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับทารกในช่วง 3 เดือนแรกที่ยังปรับตัวไม่ได้ ร้องไห้งอแง และต้องการดูดตลอดเวลาเพื่อความอบอุ่นใจ

ข้อดีของจุกหลอก

การจะให้ลูกใช้ จุกหลอก หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละครอบครัวเป็นสำคัญ ซึ่งจุกหลอกก็มีข้อดีหลายประการที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เช่น

  1. ลดภาวะ Overfeeding ให้กับลูก

เพราะในช่วง 3 เดือนแรก เป็นช่วงที่ลูกต้องปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ทั้งยังต้องการความอบอุ่นใกล้ชิดจากแม่ จึงร้องไห้ขอดูดนมตลอดเวลา หากคุณแม่ให้นมมากเกินไปก็จะเกิดภาวะ Overfeeding ทำให้ลูกปวดท้อง แน่นท้อง อาเจียน ถ่ายบ่อย หายใจอึดอัด นอนหลับไม่ดี เกิดเสียงครืดคราดในลำคอ และขย้อนน้ำนมออกทางจมูกหรือสำลักลงหลอดลมได้ ส่วนตัวคุณแม่เองก็อาจเจ็บหัวนมเพราะการใช้งานที่หนักเกินไป การใช้จุกหลอกก็จะเป็นทางออกที่ดีที่จะเบรคลูกไม่ให้กินนมมากจนเกิดภาวะ Overfeeding ได้

  1. ช่วยให้ลูกมีความสุข ไม่ร้องไห้งอแง

เนื่องจากลูกยังไม่คุ้นชินกับโลกใบใหม่ อาจมีความหวาดกลัว ร้องไห้ไม่หยุด หรือมีอาการโคลิก การได้ดูดจุกหลอกจะช่วยให้ลูกผ่อนคลาย อบอุ่นใจ มีความสุข สงบนิ่ง และนอนหลับง่ายขึ้น ทั้งยังบรรเทาความเจ็บปวด ไม่สบายตัวได้อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่นิยมใช้จุกหลอกเมื่อลูกร้องไห้นาน ๆ อย่างไม่มีสาเหตุ

  1. มีประโยชน์กับทารกที่คลอดก่อนกำหนด

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะต้องได้รับอาหารทางสายยางในระยะแรก และเมื่อเข้าสู่ช่วงฝึกดูดนม หากได้ซ้อมใช้จุกหลอกก่อนดูดเต้าจริง ก็จะช่วยให้ลูกดูดเต้าเป็นเร็วขึ้น และประสบความสำเร็จในการเข้าเต้าได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

  1. ป้องกันการตายเฉียบพลันในทารก (SIDS)

SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) เป็นภาวะการเสียชีวิตอย่างฉับพลันในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี หลังจากที่นอนหลับไปแล้ว โดยไม่มีสัญญาณใด ๆ เตือนก่อนล่วงหน้า และไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ในต่างประเทศจึงนิยมให้ลูกดูดจุกหลอกขณะนอนหลับจนถึงอายุ 1 ปี อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า จุกหลอกสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะ SIDS ในเด็กเล็กได้

  1. ลดพฤติกรรมเล่นน้ำลาย ดูดนิ้วมือ

การเล่นน้ำลายหรือดูดนิ้วมือเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการในเด็กเล็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเจอ และหากลูกนำมือที่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนจากการหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ อย่างไม่ระมัดระวังเข้าปาก อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารจนท้องเสีย อาเจียนรุนแรง การใช้จุกหลอกจึงเป็นทางออกที่จะป้องกันพฤติกรรมนี้ของลูกได้เป็นอย่างดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ >> ข้อเสียของจุกหลอก ที่แม่ไม่ควรมองข้าม คลิกหน้า 2

เครดิตภาพ : kidsdentalonline.com

ข้อเสียของจุกหลอก

สำหรับบางครอบครัวที่ปฏิเสธการใช้จุกหลอก เพราะเห็นว่า มีข้อเสียหรืออันตรายบางอย่างที่อาจส่งผลต่อลูกจนแก้ไขได้ยาก ข้อเสียของจุกหลอกได้แก่

  1. ทำให้หูชั้นกลางติดเชื้อเพิ่มขึ้น

ถึงแม้การติดเชื้อในช่องหูชั้นกลางอาจมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อม หรือการดำเนินชีวิตประกอบด้วย แต่จากการวิจัยพบว่า การใช้จุกหลอกนาน ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ความดันในหูชั้นกลางเกิดการเปลี่ยนแปลง และมีโอกาสติดเชื้อจากปากไปยังช่องคอส่วนบนเข้าสู่ช่องหูชั้นกลางเพิ่มขึ้นเช่นกัน

  1. ทำให้ติดเชื้อในช่องท้อง

ปัญหานี้มักประสบกับเด็กที่ใช้จุกหลอกไม่สะอาด โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์ดี จึงอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกอาเจียน ท้องเสีย เป็นไข้ จนต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ

  1. ทำลายโครงสร้างฟัน ฟันผิดรูป การสบฟันผิดปกติ

การใช้จุกหลอกเป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลทำให้ฟันที่กำลังจะงอกออกมายื่นเหยิน ผิดรูปได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกเลิกใช้จุกหลอกก่อนที่ฟันจะขึ้น

  1. เกิดปัญหาด้านการพูด

เมื่อถึงช่วงวัยที่ลูกจะต้องส่งเสียงอ้อแอ้ หรือเริ่มพูดแล้ว หากลูกยังใช้จุกหลอกอยู่ อาจจะไปขัดขวางพัฒนาการด้านการพูด ทำให้ลูกไม่กล้าพูดหรือพูดช้า

  1. เป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เมื่อลูกติดจุกหลอก การพึ่งพาแม่ก็จะน้อยลง ลูกจะไม่ค่อยได้เข้าเต้า จึงส่งผลให้น้ำนมของแม่ก็ลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ ยังมีหลักฐานยืนยันเพิ่มเติมว่า เด็กที่ติดจุกหลอกมีแนวโน้มที่จะหย่านมเร็วกว่าปกติอีกด้วย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> วิธีเลิกจุกหลอก ไม่ทำร้ายความรู้สึกลูก คลิกหน้า 3

อยากเลิกจุกหลอกต้องทำอย่างไร

จุกหลอกก็เป็นเสมือนเพื่อนคู่ใจของลูก หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเลิกใช้จุกหลอก ก็ควรใช้วิธีที่ละเมียดละไม และค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่เป็นการทำร้ายความรู้สึกลูกจนมากเกินไป ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ วิธีเลิกจุกหลอกดังต่อไปนี้นะคะ

จุกหลอกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังคิดอยู่ว่าจะให้ลูกใช้ดีหรือไม่นั้น ขอให้พิจารณาถึงความเหมาะสม และความจำเป็นที่ต้องใช้จริง ๆ เพื่อให้การตัดสินใจครั้งนี้แฮปปี้กันทั้งตัวคุณและลูกน้อยค่ะ

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

www.bnhhospital.com .10 เคล็ดลับสยบลูกร้องไห้.

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids