“หากลูกคลอดก่อนกำหนด ต้องอยู่ห้อง NICU” สำหรับแม่ท้องทุกคนคงไม่อยากได้ยินคำนี้ แต่หากสถานการณ์นี้เกิดขึ้น หรือ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ มาดูกันค่ะ ว่า NICU คือ อะไร? จะต้องทำอย่างไรเมื่อลูกต้องเข้า NICU?
NICU คือ? ทำอย่างไรเมื่อลูกอยู่ NICU เพราะคลอดก่อนกำหนด
NICU คือ หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต หรือ Neonatal Intensive Care Unit เป็นแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด ภายใต้ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด ซึ่งเป็นแผนกที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของทั้งมารดาและทารกในครรภ์ตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงหลังคลอด โดยทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ร่วมกับสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดา และทารกในครรภ์ โดยการทำงานของทีมกุมารแพทย์เฉพาะทางทารกแรกเกิด เริ่มจากการประเมินความเสี่ยงของทารกก่อนคลอดในแต่ละราย จากนั้นทีมแพทย์และพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมดูแลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตโดยเฉพาะจะประชุมวางแผนการรับมือ การคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า ประเมินปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกมีโอกาสเกิดปัญหาหลังคลอด เตรียมอุปกรณ์ และเครื่องมือที่จะใช้ในการเตรียมรับรายที่มีภาวะเสี่ยงหลังคลอดมาดูแล
ทั้งนี้ การติดตามอาการของเด็กอย่างใกล้ชิดมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤตภายหลังคลอดอาจจะมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแล รักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ทารกได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ส่งผลให้พ้นจากภาวะวิกฤตและปลอดภัย ทำให้การดำเนินของโรคดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน เด็กหายป่วยและกลับบ้านได้
นอกจากนี้ ทีมแพทย์ NICU จะทำงานร่วมกับแพทย์เฉพาะทางต่างสาขา รวมถึงตัวคุณพ่อคุณแม่ ให้อยู่ในกระบวนการดูแลเท่าที่จะเป็นไปได้ จนมั่นใจว่าทารกแข็งแรงดีแล้ว คุณแม่สามารถดูแลเองได้ จึงจะอนุญาตให้ออกจาก NICU นอกจากนี้ ยังเฝ้าติดตามให้ตัวคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้เป็นอย่างดีเมื่อกลับบ้าน คุณแม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ฝึกการเลี้ยงดูทารก การอุ้ม การให้นม ให้ยา การเรียนรู้พฤติกรรมทารก และตอบสนองได้ถูกต้อง เพื่อให้ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ NICU คือ อะไร? ภาวะใดที่ลูกจะต้องเข้า NICU?
NICU คือ อะไร? ภาวะใดที่ลูกจะต้องเข้า NICU?
การที่ทารกต้องเข้า NICU นั้น แสดงว่าทารกคนนั้นจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เมื่อทารกมีภาวะเหล่านี้ ห้อง NICU นี่แหละ ที่จะเป็นห้องที่คอยช่วยเหลือให้ทารกแข็งแรง เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่เหมาะสม
- ภาวะพิการแต่กำเนิด
- ทารกต้องใช้กระบวนการพิเศษ เช่น การถ่ายเลือด
- ทารกต้องให้ออกซิเจน หรือเฝ้าระวัง ต้องให้ยา หรือฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
- เกิดภาวะติดเชื้อ เช่น หนองในเทียม เริม หรือกลุ่มสเตรปโตคอคคัส บี
- ทารกที่ได้รับยาหรือการช่วยชีวิตหลังคลอด
- เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารก
- ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือ มากกว่า 4,000 กรัม
- ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือ คลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือทารกที่คลอดเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์
- มีภาวะหอบหลังคลอด ทารกมีปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจ
ทีมแพทย์และพยาบาล NICU มีใครกันบ้าง
- สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (Maternal-Fetal Medicine Specialist)
- กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด (Neonatologist) คือ กุมารแพทย์ที่ดูแลรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
- ทีมพยาบาลที่ได้รับการฝึกฝน และเชี่ยวชาญในเรื่องการดูแลครรภ์ การคลอด และดูแลทารกหลังคลอดโดยตรง
- พยาบาลผู้เชี่ยวชาญการดูแลระหว่างการผ่าตัดคลอด
- พยาบาลผู้เชี่ยวชาญการดูแลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต
- พยาบาลผู้ประสานงานมารดา
- พยาบาลผู้ประสานงานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ NICU คือ อะไร? วิธีรับมือเมื่อลูกต้องเข้า NICU
วิธีรับมือเมื่อลูกต้องเข้า NICU
ไม่มีคุณแม่คนไหนที่จะไม่เสียใจเมื่อต้องอยู่ห่างจากลูก หลังจากที่ลูกอยู่ในท้องของตัวเองมานานถึง 9 เดือนหรอกค่ะ แต่เมื่อลูกได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญแล้ว คุณแม่ควรทำใจไม่ควรเป็นกังวล เพราะความกังวลของคุณแม่จะส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้นะคะ ดังนั้น ควรทำใจให้สบาย และอยู่เฝ้าลูกเพื่อที่จะให้นมได้ทุก ๆ 3 ชั่วโมง ด้วยการบีบน้ำนมแม่ใส่แก้วเล็ก ๆ แล้วป้อนลูกทางช่องกลม ๆ ของตู้อบ นอกจากนี้พยาบาลที่อยู่ในห้อง NICU จะสอนวิธีการดูแลทารกแรกเกิดให้คุณแม่ เช่น การอาบน้ำให้กับทารกแรกเกิด การดูแลรักษาความสะอาดของสะดือลูก วิธีการให้นมแม่ การห่อตัว การทำให้ลูกร่างกายอบอุ่น เป็นต้น
ดูแลอย่างไร เมื่อลูกออกจาก NICU
การที่ลูกน้อยได้ออกจากห้อง NICU คือ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่รอคอย แต่ถึงแม้ว่าลูกจะแข็งแรงสำหรับโลกภายนอกแล้ว แต่การดูแลทารกที่ออกจาก NICU ควรจะระมัดระวังเป็นพิเศษมากกว่าทารกทั่วไป เพราะทารกมีโอกาสที่ะติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าเด็กคนอื่น เพราะระบบภูมิคุ้มกันของทารกอาจยังไม่แข็งแรงพอ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้
- จำกัดปริมาณคนเยี่ยม และดูแลรักษาความสะอาดของคนที่จะมาเยี่ยม คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจกับญาติ ๆ ว่าทารกแรกเกิดมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย สำหรับคนที่ต้องการจะมาเยี่ยม ควรล้างมือและดูแลรักษาความสะอาดก่อนจะจับตัวลูกน้อย งดการกอดหรือหอม โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถบอกคนอื่น ๆ ได้ว่าเมื่อลูกแข็งแรงดีพอแล้ว ทุกคนจะได้ชื่นชมหลาน ๆ แน่นอน เชื่อได้ว่าญาติ ๆ และ เพื่อน ๆ เข้าใจอย่างแน่นอนค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง ลูกหนังลอกแสบทั้งตัวจาก “โรค 4S” แม่เตือน! อย่าให้ใครหอม
พ่อแม่ควรระวัง! 5 โรคที่มาพร้อมจูบ
- หลีกเลี่ยงการพาลูกไปที่สาธารณะ ห้างสรรพสินค้า หรือ ที่ที่มีคนอยู่จำนวนมาก โดยหากไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรพาลูกออกไปนอกบ้านเลยค่ะ ควรไปเมื่อจำเป็นจริง ๆ เช่น พาลูกไปพบแพทย์ตามนัด
- เตรียมสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ อากาศภายในบ้านควรถ่ายเท ไม่อับชื้น ควรแยกสัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากลูกไปก่อนในช่วงนี้ ปรับอุณหภูมิในบ้านไม่ให้ร้อน หรือเย็นจัดเกินไป ไม่ควรเปิดพัดลมจ่อตัวลูก
บทความที่เกี่ยวข้อง เปิดพัดลมจ่อ ลูกเสี่ยงปอดอักเสบ
ทารกแรกเกิดควรสวมเสื้อผ้าแบบไหน? เมื่ออยู่ในห้องแอร์
- นมแม่ช่วยได้ ในนมแม่นั้น อุดมด้วยสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นทั้งต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย นมแม่เป็นวัคซีนธรรมชาติลูกจะได้รับภูมิต้านทานโรคได้โดยตรงจากน้ำนมแม่ ทั้งยังมีสารช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันโรคภูมิแพ้ และยังมีประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย
NICU คือ ห้องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกเข้าไปอยู่ แต่เชื่อเถอะค่ะว่า การที่ลูกได้อยู่ห้อง NICU นั้น ปลอดภัยกับลูกน้อยมากที่สุดแล้วค่ะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ ผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้นะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
6 วิธีลด อาการท้องแข็ง ไม่อยากคลอดก่อนกำหนด อย่าทำสิ่งนี้
ยายับยั้งการคลอด ช่วยไม่ให้ลูกคลอดก่อนกำหนดได้จริงหรือ?
พบกับทารก คลอดก่อนกำหนด น้ำหนัก 400 ก. ต่อสู้ชีวิตจนรอด
ขอบคุณข้อมูลจาก : paolohospital, coggle.it
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่