คุณแม่หลายคนคงเคยพบเห็นรอยแดงๆ อยู่ที่บริเวณหน้าผาก เปลือกตา ต้นคอ หรือศีรษะของลูกน้อย และมีความกังวลว่า เม็ดแดงๆ นูนๆ เล็กๆ นี้ จะเป็นอันตรายหรือไม่ และสงสัยว่าเป็น ปานแดง หรือสิ่งนี้จะเป็นอันตรายกว่านั้นหรือเปล่า จึงเกิดความกังวล และอยากให้ลูกน้อยหาย
ปานแดง อันตรายหรือไม่?
มีคุณแม่หลายคนสอบถามมาทางสื่อออนไลน์ ว่าลูกน้อยมีปานเกิดขึ้นหลังจากคลอดได้ไม่นาน ก็เกิดความกังวล และหลายคนไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำในการรักษา ซึ่งในปัจจุบัน คุณหมอจะมีการวินิจฉัยอาการที่ทันสมัย ซึ่งปานแดงที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไปนั้น เป็นปานชนิดที่ชื่อว่า Salmon pach หรือ Stork bites ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด
สาเหตุที่มีชื่อ Salmon patch ก็เพราะว่า ปานจะมีลักษณะคล้ายเนื้อปลาแซลมอน คือเป็นสีแดงๆ ลายๆ และอีกชื่อหนึ่ง Stoke bites นั้น มาจากตำแหน่งที่มักจะอยู่บริเวณท้ายทอย หรือต้นคอ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นกกระสาคาบเด็ก (ตามนิทานปรัมปราของต่างประเทศที่เล่าว่า ลูกกำเนิดขึ้นมาเพราะนกกระสาคาบมาให้) ปานชนิดนี้จะพบได้ตามตำแหน่ง หน้าผาก หนังตา ท้ายทอย หรือหนังศีรษะ แต่ส่วนใหญ่จะหายไปเองภายใน 2 ปี ซึ่งเด็กบางจนจะเห็นเป็นรอยจางๆ แต่จะเป็นรอยแดงขึ้นมาเมื่อเวลาโกรธ หรือร้องไห้หนักๆ
ปานคืออะไร?
ปาน คือบริเวณผิวหนังที่มีสีต่างจากบริเวณอื่น มักเป็นมาแต่กำเนิด หรือหลังจากคลอดได้ไม่นาน สีของปานนั้นแตกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิดของปาน ซึ่งอาจจะมีสีแดงสด ชมพู น้ำตาล น้ำตาลเข้ม หรือสีเขียว และอาจจะมีแบบนูน และราบไปตามผิวหนัง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ปานแบบนี้อันตรายควรปรึกษาแพทย์” คลิกหน้า 2
ปานแบบนี้อันตรายควรปรึกษาแพทย์
ถ้าคุณพ่อ คุณแม่พบว่า ลูกน้อยมีปานที่สีเปลี่ยนแปลงไป คือจางลง หรือเข้มขึ้นกว่าเดิม ผิวหนังมีการบวม หรือนูนขึ้น และมีผิวหนังเกิดขึ้นใหม่อย่างผิดปกติ ควรพบแพทย์
ปานส่วนใหญ่นั้น จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย ยกเว้น ปานชนิด hemangiomas และ port-wine stains ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น ทำให้แผลเปิด เลือดออกง่าย อวัยวะที่อยู่รอบๆ ได้รับผลกระทบทำให้ทำงานผิดปกติ เช่น บริเวณปาก หรือตา และอาจมีการเจริญเติบโตรวดเร็วกว่าปกติ
ในบางครั้งปาน หรือไฝอาจทำให้กลายเป็นมะเร็งได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ จึงควรรีบพบแพทย์โดนเร็วที่สุด
ปานแดงในเด็กเล็กอันตรายหรือไม่?
ปานแดงในเด็กเล็ก คือโรคเนื้องอกของหลอดเลือดชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง เป็นโรคผิวหนังที่ไม่มีสาเหตุ เป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยในเด็ก ประมาณ 4% ของเด็กวัยก่อน 1 ขวบ และพบบ่อยในเด็กหญิงบ่อยกว่าเด็กชาย ซึ่งช่วงแรกๆ จะเติบโต และค่อยๆ ลดขนาดลง จนหายไปเอง
เด็กทารกที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ คือ ทารกเด็กผู้หญิง, เด็กทารกคลอดก่อนกำหนด, ทารกน้ำหนักน้อย, คุณแม่มีอายุมากกว่า 30 ปี และคุณแม่ที่คลอดลูกน้อยมาแล้วหลายคน
โดยปกติแล้ว จะมีการตรวจร่างกายเด็กทารกทุกครั้งที่ฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังปานแดงในเด็กเล็ก เพราะปานแดงเป็นเนื้องอกที่หายได้เอง แต่ก็มีบางตำแหน่งที่อาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น
- ปานแดงที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ควรตรวจหาความผิดปกติ
- ปานแดงที่เกิดขึ้นบริเวณหนังตา ซึ่งอาจบดบังการมองเห็น หรือทำให้การมองเห็นผิดปกติได้
- ปานแดงที่เกิดขึ้นบริเวณกรามล่าง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทางการหายใจ
- ปานแดงที่เกิดขึ้นบริเวณหลัง และทวารหนัก ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติทางระบบปัสสาวะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ปานแดงกับการรักษา” คลิกหน้า 3
ปานแดงกับการรักษา
ปานส่วนใหญ่นั้น ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะให้ลูกน้อยทำการรักษาเพื่อความสวยงาม หรือเมื่อเกิดอาการแทรกซ้อน หรือพบว่ามีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นอย่างอื่นที่ร้ายแรง ซึ่งโดยทั่วไปการรักษา เช่น การผ่าตัด และการใช้เลเซอร์เฉพาะทาง เป็นต้น ขึ้นอยู่กับชนิดของปาน
ซึ่งแนวทางในการรักษาในเด็กเล็กมีดังนี้
1.รับประทานยาสเตียรอยด์ เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นค่อยๆ ลดขนาดยาลง วิธีนี้ทำให้ก้อนเนื้องอกลดขนาดลงประมาณ 1 ใน 3 แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรืออัตราการเพิ่มของส่วนสูงลดลง
2.ฉีดยาสเตียรอยด์ที่ก้อนเนื้องอก ซึ่งเหมาะกับปานที่ไม่ใหญ่ บริเวณปาก จมูก แก้ม หู อาจมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวหนังที่ฉีดยาบางลง หรืออาจมีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นขึ้น
3.รักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ เช่น ยาเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงจากยาค่อนข้างสูง
4.ผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก มักทำเมื่อลูกน้อยอายุ 3 – 5 ขวบ ก่อนเข้าโรงเรียน อาจมีผลข้างเคียง เช่น มีอาการเลือดออกจากการผ่าตัด เพราะเป็นเนื้อส่วนที่มีเส้นเลือดอยู่มาก
5.การรักษาด้วยเลเซอร์ โดยจะทำการรักษาทุก 2 – 4 สัปดาห์ ซึ่งจำนวนครั้งในการรักษาขึ้นอยู่กับขนาด
เครดิต: Sunisa Wittayavorabhum, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, หาหมอ.com
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ปานแรกเกิด เด็กกระดองเต่า เรื่องจริงสุดเศร้าของเด็กชายวัย 6 ขวบ
เบบี๋ผู้มี ปานแดงรูปหัวใจ จุติในท้องคุณแม่วันวาเลนไทน์!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save
Save
Save
Save
Save
Save