กรมควบคุมโรคเผย เด็กเล็กป่วย โรคหัด กว่า 860 ราย ชี้ติดต่อได้ง่ายผ่านไอ จาม พูดระยะใกล้ชิด เตือนขาดวิตามินเอส่งผลอาการรุนแรงมาก พ่วงมีปอดอักเสบอาจถึงขั้นตายได้ แนะวิธีป้องกัน
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ทั้งนี้ จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 23 พฤศจิกายน 2559 พบผู้ป่วยโรคหัด 1,548 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี 869 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.1 ของผู้ป่วยทั้งหมด
ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ภูเก็ต และ กรุงเทพมหานคร ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคใต้
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันอัตราการเกิดโรคนี้จะไม่สูงมาก แต่ปัจจุบันยังคงพบการระบาดโรคหัดเป็นระยะ ซึ่งไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถเป็นได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ถ้าลูกน้อย หรือคุณพ่อ คุณแม่ ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนก็อาจจะทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย คุณพ่อ คุณแม่ควรระวัง
โรคหัด เป็นไข้ออกผื่น เกิดจากเชื้อไวรัส Measles โดยติดต่อที่ระบบทางเดินหายใจ คือจมูก และลำคอ เมื่อเชื้อเข้าไปจะแบ่งตัวในทางเดินหายใจ ใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน จึงเริ่มมีอาการแสดงให้เห็น โดยเริ่มจากมีไข้ต่ำๆ แล้วสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยจะสูงถึง 41-42 องศาเซลเซียส ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ตาแดง
ผู้ป่วยโรคหัดอาจมีโรคแทรกซ้อน ได้แก่ ปอดอักเสบ อุจจาระร่วง ช่องหูอักเสบ สมองอักเสบและภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะขาดสารอาหาร หรือขาดวิตามินเอ เมื่อเป็นหัดจะมีความรุนแรงมาก และถ้ามีปอดอักเสบร่วมด้วย อาจทำให้เสียชีวิตได้
ผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วมักไม่เป็นซ้ำอีก ยกเว้นเป็นเมื่ออายุน้อยกว่า 1 ปี เพราะร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โรคหัด โรคที่พ่อแม่ลูกต้องกลัว
ในประเทศไทยมีระบบสาธารณสุขอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เราอาจจะคุ้นเคยแต่โรคไข้ออกผื่นชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคหัด แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคหัด ทำให้ไม่ทราบถึงความน่ากลัวของโรคนี้ โดยหัดเป็นโรคที่สามารถก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ มีตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรง เช่น อาการท้องเสีย หูชั้นกลางอักเสบ ไปจนถึงอาการแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ ปอดอักเสบ อาการชักที่สามารถเกิดได้ทั้งแบบมีไข้และไม่มีไข้ ไข้สมองอักเสบและเสียชีวิต
อ่านต่อ “โรคหัดติดต่อกันได้อย่างไร? รักษาอย่างไร?” คลิกหน้า 2
โรคหัดติดต่อกันได้อย่างไร?
โรคหัดเป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายมาก คนที่อยู่บ้านเดียวกัน อัตราการติดต่อสูงถึง 90% ยิ่งกว่าไข้หวัดใหญ่ สามารถเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะปรากฏผื่นขึ้นตามตัว เราจะหลีกเลี่ยงการติดเชื้อหัดโดยไม่ฉีดวัคซีนป้องกันนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีการรักษาโรคหัด
การติดเชื้อไวรัสโรคหัดไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง และไม่ใช้ยาต้านไวรัสสำหรับโรคหัดในปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วยขณะมีไข้สูง
1.ให้ทำการเช็ดตัว และดื่มน้ำมากๆ ให้ยาลดไข้ชนิดพาราเซตามอล สามารถซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง
(บทความน่าสนใจ ยาน้ำลดไข้ ของเด็ก แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร พ่อแม่ควรรู้!)
3.ถ้าผู้ป่วยไอมาก ให้จิบน้ำอุ่น หรือน้ำผึ้งผสมมะนาว หากเด็กเบื่ออาหาร แนะนำให้ดื่มนม น้ำหวาน น้ำผลไม้ ระหว่างที่มีไข้ เด็กจะอยู่ในสภาพสูญเสียสารน้ำในร่างกาย
4.พักผ่อนมากๆ จะช่วยให้หายเร็วขึ้น ส่วนใหญ่เด็กสามารถกลับไปโรงเรียนได้ภายใน 7-10 วัน
5.หลังจากไข้และผื่นหาย ระหว่างที่ไม่สบาย ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กอื่นที่มีโอกาสติดโรค
อ่านต่อ “การป้องกันโรคหัด” คลิกหน้า 3
การป้องกันโรคหัด
โรคหัดเป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน มีการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งในบางแห่งที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรค ปัจจุบันกำหนดให้วัคซีนป้องกันโรคหัดแก่เด็กรวม 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9 – 12 เดือน ครั้งที่สองอายุ 2 ปี 6 เดือน
สำหรับทางองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อเด็กอายุ 6 เดือน และเข็มที่สองกระตุ้นเมื่ออายุ 1 ปี 3 เดือน และได้มีการนำวัคซีนรวม MMR-V มาใช้ ประกอบด้วย หัด หัดเยอรมัน คางทูม และสุกใส
(บทความน่าสนใจ ตารางวัคซีน ตั้งแต่แรกเกิด-12 ขวบ ปี 2559)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
2. เก็บรักษาสมุดอนามัยแม่และเด็ก (สมุดสีชมพู) ไว้
เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับตัวเด็กในการตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนเมื่อเข้าเรียนรักษาสุขอนามัย
3. ล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการนำมือมาจับใบหน้า
เนื่องจากเชื้อนี้สามารถติดต่อจากสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย และหากสงสัยว่าป่วยด้วยโรคหัดควรไปพบแพทย์
4. หลีกเลี่ยงการพาทารกไปสถานที่พลุกพล่าน
ก่อนช่วงอายุ 9 เดือน ยังไม่ถึงกำหนดฉีดวัคซีน เด็กจะอาศัยภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดา ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าจะมีประสิทธิภาพจนถึงเมื่อใด เด็กวัยนี้จึงควรหลีกเลี่ยงการไปอยู่พื้นที่มีคนจำนวนมากหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยและหากสงสัยว่าป่วยด้วยโรคหัดควรไปพบแพทย์และหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมากเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
อ่านต่อ “โรคหัดเยอรมันคืออะไร? โรคที่พ่อแม่ต้องกลัว” คลิกหน้า 4
โรคหัดเยอรมันคืออะไร?
การติดต่อของหัดเยอรมันคล้ายกับโรคหัด คือติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งตามพื้นผิว นำไปป้ายตามปาก จมูก ตา และการไอจาม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โรคหัดเยอรมัน โรคที่พ่อแม่ลูกต้องกลัว
เมื่อเทียบกับโรคหัดแล้ว หัดเยอรมันถือว่าเป็นโรคที่แทรกซ้อนน้อยกว่ามาก เพราะมีไข้ต่ำๆ และอาการทั่วไปคล้ายหวัด โอกาสเสียชีวิตจากปอดอักเสบ สมองอักเสบ ต่ำกว่าโรคหัดมาก
แต่ที่เราต้องกลัว เนื่องจากหากผู้ที่ป่วย คือ หญิงตั้งครรภ์ จะเกิดปัญหารุนแรง โดยพบว่า 90% ของหญิงตั้งครรภ์ เชื้อโรคจะผ่านไปยังทารก ทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ส่วนที่รอดชีวิตมาได้ จะพิการ คือ หูหนวก ต้อกระจก โรคผนังห้องหัวใจผิดปกติ และมีความพิการในอวัยวะทั่วร่างกาย
อ่านต่อ “วิธีการรักษา และป้องกันโรคหัดเยอรมัน” คลิกหน้า 5
วิธีการรักษาโรคหัดเยอรมัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การป้องกันโรคหัดเยอรมัน
1.ตรวจก่อนตั้งครรภ์ และฉีดวัคซีน เนื่องจากโรคนี้มีผลต่อเด็กในครรภ์อย่างรุนแรงถึงขั้นพิการได้ จึงควรป้องกันในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ โดยก่อนแต่งงานควรตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมัน หรือเช็กประวัติการฉีดวัคซีนในวัยเด็ก หากไม่มีประวัติการฉีด หรือพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ก็ควรฉีดวัคซีน ควรฉีดล่วงหน้า 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์
2.รักษาสุขอนามัย ล้างมือหลังจากไปจับสิ่งของรอบตัว ไม่ล้วงแคะ แกะ เกาใบหน้า
3.หลีกเลี่ยงการพาเด็กทารกที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนนี้ไปในที่ที่มีคนมากหรือพลุกพล่าน
อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก!
วัคซีนพื้นฐาน 6 ชนิดที่ลูกน้อยต้องได้รับ
แพทย์เตือน! ระวังอาหารเป็นพิษ-ไข้เลือดออกระบาดหน้าหนาว
รวมแพ็คเกจค่าฉีดวัคซีนเหมาจ่าย สำหรับลูกน้อยประจำปี 2559
เครดิต: http://www.piyavate.com/article/frontend/article_detail/id/220, http://health.kapook.com/view119391.html,
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000120149
Save
Save
Save