เมื่อคุณพ่อ คุณแม่พบว่า ลูกไตโตผิดปกติ อยู่หนึ่งข้าง แต่ลูกยังแข็งแรง เติบโต ขับถ่ายได้ปกติดี ไม่มีปัญหา และพบคุณหมอเพื่ออัลตราซาวด์อยู่เป็นระยะ แต่ก็ยังมีความกังวล และไม่แน่ใจว่าจะต้องระมัดระวังเรื่องการดื่มน้ำ ดื่มนมอย่างไรบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยปลอดภัย
ลูกไตโตผิดปกติ กับคำแนะนำจากคุณหมอ
คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ได้ให้คำตอบเอาไว้ดังนี้
ภาวะไตโต คืออะไร?
ภาวะไตโต หมายถึง ส่วนของกรวยไตที่รองรับน้ำปัสสาวะเข้าไปสู่ท่อไต ไปสู่กระเพาะปัสสาวะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ภาวะนี้เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ที่พบบ่อยที่สุด จากการทำอัลตราซาวด์ ดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ ตั้งแต่ไตรมาสที่สอง และสาม คือ พบได้ร้อยละ 1.4 แต่เมื่อคลอดแล้วทำอัลตราซาวด์ จะพบความผิดปกติเหลือเพียงร้อยละ 0.7 นั่นแสดงว่าตอนแรกที่ตรวจพบว่าไตโตผิดปกติ น่าจะเป็นจากการที่กรวยไตยังเจริญพัฒนาไม่เต็มที่ ไม่ได้เป็นความผิดปกติที่มีการอุดกั้นจริง
ซึ่งหลังจากคลอดแล้ว อัลตราซาวด์ยังพบไตโต จะต้องทำการตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรคไตในเด็ก เพื่อติดตามการเจริญเติบโต และให้การดูแลอย่างต่อเนื่องเหมาะสม เช่น การทำ VCUG คือ การฉีดสีเข้าทางเดินปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีการไหลย้อนกลับของปัสสาวะหรือไม่ และตรวจการทำงานของไต ว่าเป็นปกติดีหรือไม่ หากพบว่ามีปัญหาการไหลย้อนกลับของปัสสาวะ จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ และไม่ให้เกิดการทำลายเนื้อไตมากขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “การดูแลเมื่อลูกน้อยไตโต” คลิกหน้า 2
การดูแลคือ หากลูกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ให้กินนมแม่อย่างเดียว ไม่ต้องกินน้ำ งานวิจัยพบว่า เด็กที่กินนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก และกินนมแม่ต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยไปนานอย่างน้อย 2 ปี จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าลูกน้อยสุขภาพแข็งแรงดี ไม่ได้มีการทำงานของไตผิดปกติ ก็สามารถกินน้ำ กินนมได้ปกติเหมือนเด็กทั่วไป แต่ถ้าลูกมีปัญหาการทำงานของไตผิดปกติ มีภาวะบวมน้ำ หรือค่าสมดุลเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ แพทย์ที่ดูแล จะแนะนำปริมาณการให้น้ำ และอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะของโรคนั้น ๆ ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save