เตือนสติแม่มือใหม่ อย่าชะล่าใจ หากลูกผิดปกติ ต้องรีบพาไปหาหมอทันที
ปัจจุบันน้องเตชินท์ ต้องเดินทางมารักษาที่ รพ.จุฬาฯ ตามหมอนัดทุกๆ 2 อาทิตย์ ซึ่งมี 6 หมอผู้เชี่ยวชาญด้านโรคต่างๆ ให้การรักษา อาทิ ตา เลือด ระบบประสาท ศัลยกรรมประสาท หู (ตรวจการได้ยิน) และหมอด้านพัฒนาการ
ซึ่งตัวคุณแม่ส้มเองก็ได้ทิ้งท้ายด้วยคำชี้แนะว่า… อยากฝากเตือนถึงคุณแม่มือใหม่ทุกคน ซึ่งคุณหมอบอกว่า รากไม้ต้มที่เกี่ยวกับยาขับน้ำคาวปลา อย่าไปกิน เชื่อหมอดีที่สุด สมัยนี้โรคมันเยอะ แม้จะยังหาสาเหตุไม่ได้ แต่หมอเน้นไปเรื่องรากไม้มากว่า ถ้าลูกมีอาการผิดปกติ อยู่ดีๆ ก็อ้วก ร้องไห้งอแง ไม่กินนม ให้รีบไปหาหมอทันที
ทั้งนี้สำหรับเรื่องการรักษาน้องเตชินท์ ที่ป่วยเป็นโรคขาดวิตมินเค ตัวคุณแม่ส้มยังต้องจ่ายเงินเองไปก่อน เพราะบัตรคนพิการยังใช้ไม่ได้ เนื่องจากเพิ่งไปขึ้นทะเบียน และหลังจากลูกป่วยเธอก็ให้สามีออกจากงานเพื่อช่วยดูแลลูก ส่วนรายได้ของครอบครัว มีเพียงการขายสินค้าต่างๆ ในโลกออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่แฟนเพจ Amarin Baby & Kids ที่มีจิตกุศลอยากสนับสนุนครอบครัวของน้องเตชินท์ ก็สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กของคุณแม่ส้ม Zom Kamonlak Rattana
หมอไขความกระจ่าง วิตามินเค คืออะไร และมีวิธีป้องกัน โรคขาดวิตามินเค อย่างไร?
นพ.ชวลิต หล้าคำมี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา โรงพยาบาลยันฮี ได้ไขข้อสงสัย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องว่า…
ในเด็กทารกและผู้ใหญ่ จะมีวิตามินเค เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายอยู่แล้ว ซึ่งมีความจำเป็นและมีบทบาทสำคัญทำให้เลือดแข็งตัว ป้องกันการทำให้เลือดออก หากร่างกาย ขาดวิตามินเค หรือมีปริมาณไม่พอ จะมีอาการเตือน คือ เลือดออกผิดปกติเองตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ง่าย โดยไม่มีสาเหตุ เช่น จ้ำขึ้นตามตัว หรือ เลือดออกแล้วไม่หยุด
ทั้งนี้ ภาวะการขาดวิตามินเค จะเกิดขึ้นได้ในเด็กทารกหลังคลอด 1-2 สัปดาห์ ส่วนในผู้ใหญ่ คือผู้ที่ป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่น ตับแข็ง โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน โรคเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารทำให้ขาดสารอาหารมากๆ หรือคนที่กินยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะบ่อยๆ กินพร่ำเพรื่อ ทำให้แบคทีเรียในลำไส้หายไปไม่สามารถผลิตวิตามินเคได้
สำหรับเด็กทารกหลังคลอด 1-2 อาทิตย์ จะเกิดการขาดวิตามินเค เพราะเด็กมีปริมาณไขมันสะสมน้อย ตับยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ลำไส้ยังปราศจากเชื้อแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามิน ซึ่งโดยปกติหลังคลอดจะมีการฉีด vitamin k ให้ทารก ภายใน 1 ชม.
และสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนม หากเป็น โรคขาดวิตามินเค หรือมี ภาวะขาดวิตามินเค ก็อาจทำให้ ลูกขาดวิตามินเค ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเสริมสร้างวิตามินเคให้ร่างกาย โดยการกินอาหารจำพวก ผักใบเขียว หรือเนื้อสัตว์ นม เนย เพราะปกติร่างกายต้องการวิตามินเคไม่เยอะ แต่ถ้ามีแบคทีเรียปกติเจริญเติบโตในลำไส้ หรือเมื่อตับพัฒนามากขึ้น วิตามินเคก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้คุณหมอยังบอกอีกว่า “การขาดวิตามินเค เป็นโรคชนิดหนึ่ง จริงๆ ในเด็กพบได้ไม่บ่อยแต่ ในผู้ใหญ่จะเจอบ่อย เพราะในเด็กมีวิตามินเคต่ำอยู่แล้วโดยธรรมชาติหลังคลอด และมีความเสี่ยงอยู่แล้ว การฉีดวิตามินเคให้เด็กทารกหลังคลอด เป็นการป้องกันตามมาตรฐาน ทั้งนี้เด็กหลังคลอดจะยังมีปริมาณวิตามินเคต่ำอยู่ แล้วก็จะไต่สเต็บขึ้นเรื่อยๆ ตามการพัฒนาการของร่างกาย” คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ หากแต่พบว่าลูกมีเลือดออกผิดปกติ เช่นเดียวกับน้องเตชินท์ ก็ต้องรีบพาไปหาหมอโดยเร็วที่สุด
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก:
- อุทาหรณ์จากหมอ! ตัดเล็บทารก ตัดผิดลูกติดเชื้อในกระแสเลือด
- โรคขาดวิตามินเอ เสี่ยงทำลูกตาบอดไม่รู้ตัว
- แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกขาดวิตามินซี หกล้มจนเดินไม่ได้เป็นเดือน!
- อาการผิดปกติของทารก ที่ต้องพบแพทย์
ขอบคุณภาพและเรื่องราวจาก คุณแม่ส้ม Zom Kamonlak Rattana และบทสัมภาษณ์ข่าวจาก www.thairath.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่