ลูกฉลาด หรือไม่ ดูที่พ่อแม่จริงหรือ!? - amarinbabyandkids
ลูกฉลาด

ลูกฉลาด หรือไม่ ดูที่พ่อแม่จริงหรือ!?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกฉลาด
ลูกฉลาด

วงจรประสาทเชื่อมโยงมาก : ความลับของสมองดี

สมองก็เหมือนเนื้อเยื่ออื่นๆ ในร่างกายคนเราที่ประกอบไปด้วยหน่วยชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า เซลล์ประสาท แต่มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างจากเซลล์อื่นๆ ในร่างกาย คือ เป็นเซลล์ที่แตกกิ่งก้านสาขาหรือเส้นใยยื่นออกมาจากตัวเซลล์ กิ่งก้านสาขาที่ยื่นออกมาจากเซลล์มีชื่อเรียกว่า เดนไดรท์ (dendrite) แล้วก็มาเกาะหรือเชื่อมกับเดนไดรท์ของเซลล์ประสาทอื่นๆ การเกาะหรือเชื่อมกัน (แต่ไม่สนิท) ของเดนไดรท์ เรียกกันว่าจุดประสานประสาท หรือซินแนปส์ (synapse)

“ซินแนปส์” ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอีกชนิดหนึ่ง ลำเลียงข้อมูลตั้งแต่เมื่อประสาทสัมผัสรับรู้เข้าไปสู่ไขสันหลัง ขึ้นไปสมอง และรับคำสั่งจากสมอง ประมวลข้อมูล เก็บความจำต่างๆ และส่งกลับมาที่ไขสันหลังเพื่อไปตอบสนองทางพฤติกรรม ซินแนปส์นี้เองทำให้สมองทำงานเกิดเป็นวงจรประสาท

ซินแนปส์มีหลายชนิด ชนิดที่สำคัญคือซินแนปส์ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เกิดบริเวณเดนไดรท์เรียกว่า dendritic spine เป็นซินแนปส์ที่มีความยืดหยุ่นสูง คือเมื่อตอนเด็กเกิดมา ซินแนปส์นี้ยังไม่เติบโตเต็มที่ มีจำนวนน้อย พอเป็นผู้ใหญ่ ซินแนปส์นี้จะเยอะแยะมากและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย แต่พอเข้าวัยชรา สมองเริ่มเสื่อม ซินแนปส์นี้จะหดหายไป

เมื่อปี ค.ศ. 1950 มีนักวิจัยทางจิตวิทยาชาวอังกฤษชื่อว่า ศาสตราจารย์โดแนล โอ เฮิบบ์ จากมหาวิทยาลัยมอนทรีอัล แคนาดา เป็นคนแรกที่ตั้งสมมุติฐานว่า เวลาที่คนเราเรียนรู้แล้วสามารถทำพฤติกรรมใหม่ได้ เกิดจากสมองมีการเพิ่มวงจรซินแนปส์ ตั้งแต่นั้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการวิจัย ทั้งทางด้านจิตวิทยา ทางด้านประสาท และวิทยาศาสตร์ ค้นหาแล้วทำการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานนั้น และถึงวันนี้การศึกษาที่ออกมาก็ได้ผลยืนยันว่าสมมุติฐานของศาสตราจารย์เฮิบบ์ที่ว่าการเรียนรู้และพัฒนาการของพฤติกรรมเกิดขึ้นเพราะซินแนปส์เป็นจริง จากนั้นมางานวิจัยหลายๆ อย่างได้ใช้การเปลี่ยนแปลงในซินแนปส์เป็นฐานของการพัฒนา

เพราะสิ่งที่วิทยาศาสตร์ศึกษาพบคือ ซินแนปส์สามารถงอกใหม่หรือหดลงได้ มีความยืดหยุ่นมาก หรือ plasticity เหมือนพลาสติก บิดเบี้ยวได้ ถูกบีบเร่งได้ และจากการศึกษาก็พบว่าประสบการณ์ทุกชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงซินแนปส์ได้

งานวิจัยทั้งในคนและในสัตว์ทดลองทำให้เราเห็นว่า ทุกๆ ครั้งที่เด็กได้รับประสบการณ์ก็จะสร้างความจำใหม่ๆ สร้างวงจรซินแนปส์ใหม่ๆ ที่จะทำให้เขารับรู้ เข้าใจ สามารถสร้างวิสัยทัศน์ความเข้าใจโลกทัศน์ใหม่ๆ แก้ปัญหาต่างๆ ได้ ตรงกันข้าม หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูไม่ดี ไม่ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม วงจรประสาทของเด็กไม่ได้รับการกระตุ้นให้แตกกิ่งก้าน เชื่อมต่อ เด็กก็กลายเป็นคนแย่ๆ ได้

 

อ่านต่อ >> “วิธีสร้างวงจรสมองเลิศ” หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up