AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกหัวแบน แก้ยังไงให้ลูกมีหัวสวย!!

ลูกหัวแบน แก้ยังไงให้ลูกมีหัวสวย!!

 

ลูกหัวแบน จากคำถามของคุณแม่ที่ว่า “เห็นลูกของเพื่อนๆ ที่คลอดออกมา หัวสวย เชียว  ไอ้เราแอบเสียดายที่ลูกเราตอนเกิดมาให้นอนหงาย กว่าจะจับตะแคงก็ปาไป 3 เดือน ซื้อหมอนหัวทุยมาแต่ก็เหมือนไม่ช่วยอะไร อยากทราบว่าทารกหัวแบนโตขึ้นมาจะมีโอกาสหัวสวยขึ้นไหมคะ? ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบจากคุณหมอมาให้ทราบกันค่ะ

 

ลูกหัวแบน เพราะอะไร?

คุณพ่อคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกน้อยคลอดมาใหม่ๆ อาจยังไม่รู้ว่าจะให้ลูกนอนท่าไหนถึงจะดีและสบายปลอดภัยที่สุด สำหรับเด็กทารกแรกเกิดปกติคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กมักจะแนะนำให้ทารกนอนหงายมากกว่านอนคว่ำ เพื่อเป็นการป้องกันภาวะ SIDS (Sudden Death Syndrome) หรือเด็กเสียชีวิตขณะนอนหลับ

 

การนอนหงายอาจทำให้ลูกวัยทารกหัวแบนได้ นั่นเพราะกระดูกของเด็กแรกเกิดยังมีความอ่อน เวลาที่ให้ลูกนอนทับอยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลาก็จะทำให้กะโหลกศีรษะของลูกแบนได้  แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจกันไปค่ะ เพราะการที่ลูกหัวแบนไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เพียงแค่อาจจะส่งผลต่อรูปของศีรษะเท่านั้นเองค่ะ

 

ถึงแม้ว่าการนอนหงายจะเป็นท่านอนที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกวัยทารก แต่ก็อาจทำให้ ลูกหัวแบน หัวไม่ทุยสวย ซึ่งปัญหานี้จะหมดไป เพราะเรามีคำแนะนำในการจัดท่านอนให้ลูกหัวสวย จาก พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด มาให้คุณพ่อคุณแม่ทราบกันค่ะ

 

อ่านต่อ >> “3 วิธีจากหมอแก้ปัญหาลูกหัวไม่สวย ไม่ทุย” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ลูกหัวแบน แก้ไขด้วย 3 ขั้นตอนการจัดท่านอนให้ลูกวัยทารก “หัวสวย”

  1. ช่วยพลิกจัดท่านอนให้ลูกนอนหันซ้ายบ้าง – ขวาบ้าง
  2. เปลี่ยนตำแหน่งบนที่นอนเรื่อยๆ ไม่จัดท่าให้นอนท่าเดียวซ้ำๆ ทุกวัน
  3. เลือกหมอนนุ่ม สบายสำหรับเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอนหนุนที่เป็นหลุม เพราะจะทำให้ความบิดเบี้ยวของกะโหลกศีรษะมากขึ้น และอาจคอเคล็ดเพราะตกหมอน

 

วิธีป้องกันลูกหัวไม่สวย

  1. ให้คุณแม่ หรือพี่เลี้ยง ต้องคอยจัดท่านอนให้ลูกนอนตะแคงข้าง สลับข้างไปมาซ้าย ขวา
  2. เวลาที่ลูกตื่นแล้วนอนอยู่บนที่นอน พยายามไม่ให้ลูกอยู่ในท่านอนหงายเพียงท่าอย่างเดียว แต่ควรให้ลูกอยู่ในท่านอนอื่นๆ ด้วย เช่น คว่ำชันคอ ตะแคงหรืออุ้มลูกขึ้นมา เป็นต้น
  3. ขณะอุ้มคุณแม่ควรอุ้มลูกแบบสลับข้างไปมาซ้ายขวา
  4. เวลาเดินไม่แนะนำให้ลูกนอนในคาร์ซีท หรือรถเข็นเด็กนานเกินไป เพราะลูกจะนอนอยู่ได้แค่ท่านอนหงายท่าเดียว ไม่ไม่พลิกขยับปรับท่านอนเลย

อ่านต่อ >> “2 สาเหตุที่อาจทำให้ศีรษะทารกผิดรูป” หน้า 3 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เป็นเรื่องปกติค่ะที่ทารกแรกเกิดบางคนจะมีรูปทรงของศีรษะไม่ทุยสวย เนื่องจากกะโหลกศีรษะยังไม่แข็งจากการยืดหยุ่นขณะเคลื่อนที่ผ่านทางช่องคลอด แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ ในช่วง 2 ปีแรกกะโหลกจะขยายขนาดรองรับสมองที่โตเร็วมากซึ่งอาจจะทำให้ดูผิดรูปได้ง่ายจาก 2 สาเหตุ เช่น เด็กอยู่ในครรภ์นานเกินไป  อยู่เบียดกับแฝด หรือคุณแม่มีปัญหาน้ำคร่ำน้อย หรือศีรษะถูกกดรัดขณะคลอดทางช่องคลอดแคบๆ  แต่เรื่องของศีรษะผิดรูปที่คุณแม่ควรกังวลและรีบแก้ไขโดยเร็วมีดังนี้

  1. ภาวะรอยต่อของกะโหลกศีรษะเชื่อมปิดเร็วกว่าปกติ (craniosynostosis) ความพิการแบบนี้ทำให้กะโหลกศีรษะและใบหน้าไม่สามารถเจริญเติบโตหรือขยายออกได้ จึงมีลักษณะผิดรูปผิดร่าง ผู้ป่วยจะมีลักษณะความผิดปกติของใบหน้าคือ กะโหลกศีรษะเล็กกว่าปกติ ตาโปน ส่วนกลางของใบหน้าไม่เจริญ การสบของฟันผิดปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ปัญญาอ่อน ตาปิดไม่ลงทำให้ตาอักเสบและบอดได้ หายใจลำบาก เคี้ยวอาหารลำบาก และเป็นโรคขาดอาหาร เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้การรักษาคือการผ่าตัดแก้ไข

 

2. ภาวะคอเอียงเนื่องจากกล้ามเนื้อข้างคอหดสั้นลงอาจเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือจากการคลอดที่มีการยืดของกล้ามเนื้อข้างคอทำให้มีเลือดออกแล้วซ่อมแซมเป็นพังผืดยึดรั้งกล้ามเนื้อมัดนี้เมื่อคอเอียงอยู่นานจะทำให้รูปทรงของศีรษะผิดรูปการรักษาคือการทำกายภาพบำบัดยืดกล้ามเนื้อและการฝึกให้ลูกหันศีรษะไปฝั่งตรงข้ามโดยการจัดท่าให้นมการจัดท่านอน หรือหาของเล่นล่อหลอกให้มองตามส่วนน้อยอาจต้องผ่าตัดคลายกล้ามเนื้อที่ยึดรั้ง

 

 

การที่ศีรษะแบน ไม่ทุยสวย ไม่ได้มีผลต่อพัฒนาการทางสมองแต่มีผลต่อความสวยงามของใบหน้า ทำให้ใบหน้า 2 ข้างไม่สมดุลกัน หมอนของเด็กทารกควรเป็นหมอนที่ไม่เก็บฝุ่นหรือไรฝุ่นหรือควรใช้ผ้ากันไรฝุ่นหุ้มเพื่อลดปัญหาโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจดีกว่า  ด้วยความห่วงใยค่ะ

 

เรื่องโดย : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!

อาการนอนผวาในทารก สาเหตุ และวิธีแก้ไข
ไขทารก มีประโยชน์กับลูกหรือไม่ ทำไมต้องกำจัด?
น้ำมันมะพร้าว ประโยชน์ 20 อย่าง ดีต่อสุขภาพเด็กทารก