AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ไอเดียสุดเจ๋ง ถุงมือแทนมือแม่แก้ ลูกติดมือ นอนหลับยาก

ถุงมือแทนมือแม่ แก้ปัญหา ลูกติดมือ

ลูกติดมือ ลูกนอนหลับยากเป็นปัญหาที่ทำให้คุณแม่ลูกอ่อนเหนื่อยใจไม่น้อย เพราะกว่าจะกล่อมเจ้าตัวน้อยให้นอนปุ๋ยได้ ก็เล่นเอาหมดแรง แต่คงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลสำหรับคุณแม่ชาวอเมริกันคนนี้ เมื่อเธอปิ๊งไอเดียทำถุงมือประดิษฐ์แทนมือแม่ ใช้กล่อมลูกให้หลับสบายแบบไม่ต้องอุ้ม พร้อมแชร์ให้คุณแม่คนอื่นทำตามเองได้ไม่ยาก ส่วนจะเป็นอย่างไร ตามมาดูกันเลยค่ะ

 

ไอเดียสุดเจ๋ง ถุงมือประดิษฐ์แทนมือแม่ แก้ลูกนอนหลับยาก ลูกติดมือ

 

เรื่องราวสุดเจ๋งของคุณแม่สายสตรอง  Abigail Rivera Garcia จากรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการพูดถึงในโลกโซเชียลอย่างกว้างขวางถึงคิดค้นวิธีจัดการอย่างชาญฉลาด กับอาการนอนหลับยาก และ ลูกติดมือ ของลูกสาววัย 2 เดือนได้อยู่หมัด ด้วยถุงมือแทนมือแม่ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง หลังจากเธอเผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายมานานนับเดือน

คุณแม่สายสตรอง ค้นพบวิธีปราบ ลูกติดมือ

คุณแม่วัย 23 เล่าถึงลูกของเธอว่า การเป็นแม่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับฉันเลย เมื่อฉันต้องดูแลลูกน้อยวัย 16 เดือน และ 2 เดือนไปพร้อมกัน แถมลูกสาวคนเล็กมีอาการโคลิคและกรดไหลย้อนในทารก ทำให้เธอเป็นเด็กที่หงุดหงิด ขี้งอแง และร้องไห้แม่อุ้มตลอดเวลา

ฉันจึงไม่สามารถวางเธอลงบนเบาะให้นอนได้นานเกิน 10 นาทีเลย ฉันทดลองมาสารพัดวิธีแต่ไม่เคยสำเร็จเลย ทั้งวางหมอนไว้รอบๆตัวเธอ หรือวางเตียงไว้ใกล้หน้าต่างให้สัมผัสอากาศสบายๆ แต่เจ้าตัวน้อยก็ไม่เคยหยุดงอแง ฉันจำเป็นแทบจะต้องอุ้มลูกอยู่แทบตลอดเวลา ขณะที่ลูกชายอีกคนก็อยากให้ฉันเล่นด้วย ทุกวันจึงเต็มไปด้วยความเครียด และกังวลตลอดเวลา

ลูกของเธอทั้งสองคนคลอดก่อนกำหนด

เพราะเป็นโคลิค ทำลูกติดมือจริงหรือ

ทารกแรกเกิดกับการร้องไห้ของคู่กัน เพราะมันเป็นวิธีเดียวที่ลูกน้อยใช้สี่อสารกับคุณแม่ให้หันมาสนใจความต้องการของตัวเอง เช่น หิวนม ปวดท้อง แพมเพิสเต็ม หรือไม่สบายตัว  แต่ถ้าสังเกตว่าลูกร้องแต่ละครั้งเป็นเวลานานติดต่อกันทุกวัน ลูกอาจเป็นโคลิคได้ แต่ทั้งนี้ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร

การร้องแบบโคลิคเกิดกับทารกแรกเกิดอายุ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน บางคนจะร้องมากและนานจนตัวงอมาก มักเป็นเวลาซ้ำๆ ในช่วงเย็นหรือกลางคืน หรือบางคนอาจร้องนานต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน  ซึ่งถือเป็นเรื่องหนักหนาสำหรับคุณแม่ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้ทุกวัน ซึ่งทำให้่ร่างกายของคุณแม่เหนื่อยล้าเพราะพักผ่อนน้อย และสภาพจิตใจย่ำแย่จากการอยู่ในภาวะตึงเครียดเป็นเวลานาน

 

 MUST READ: กรดไหลย้อนในเด็กทารก + 4 เทคนิคป้องกันไม่ให้ลูกเป็นกรดไหลย้อน

 

สาเหตุหลักๆของการเกิดโคลิคมาจากทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของลูกน้อยเอง รวมถึงพันธุกรรมด้วย เช่น เป็นเด็กเลี้ยงยากโดยพื้นฐาน ความเครียดของแม่ขณะตั้งท้อง ลูกกินอิ่มเกินไป ไม่เรอ ท้องอืด กรดไหลย้อนในเด็ก แพ้อาหาร หรือลำไส้ทำงานผิดปกติ เป็นต้น ไม่ว่าจะร้องไห้ด้วยสาเหตุใดก็ตาม สิ่งเดียวอาจพอจะทำให้ลูกสงบลงได้ คือ คุณแม่ต้องอุ้มลูกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกอยากอยู่ใกล้แม่ และอาจทำให้ ลูกติดมือ ได้

 

อ่านต่อ กลัวลูกติดมือ ควรอุ้มลูกบ่อยๆหรือไม่ คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อุ้มบ่อยๆเสี่ยง ลูกติดมือ จริงหรือไม่

แม้ทารกแรกเกิดจะยังมองหน้าคุณแม่ไม่ชัด แต่จำสัมผัสและกลิ่นได้แม่นยำ พอลูกต้องการความไออุ่นและสัมผัสอันนุ่มละมุน เขาจะแสดงออกให้รู้ด้วยการร้องไห้ ถ้าคุณแม่ยังไม่สนใจ เขาก็จะยิ่งร้องดังและนานมากขึ้น พออุ้มแล้วก็จะเงียบทันที แต่พอวางปุ๊บก็น้องปั๊บ

ความเชื่อสมัยปู่ย่าตายายที่บอกว่า “ถ้าอุ้มลูกบ่อยๆ จะทำให้ลูกติดมือไปจนโต จะไม่ยอมนอนเองจนกว่าจะอุ้มจนหลับคามือ ” คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจรู้สึกสับสนว่า ถ้ายอมทำตามความต้องการของลูกแล้ว จะยอมหยุดร้องหรือ ควรปล่อยให้ร้องจนเหนื่อยแล้วหยุดไปเองดี

 

ลูกนอนยากมักนอนเองไม่ได้

จากผลวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ทารกช่วง 6 เดือนแรกใช้วิธีสื่อสารกับพ่อแม่ด้วยการร้องไห้ สังเกตได้ว่าการร้องของลูกน้อยไม่มีน้ำตาออกมา นั่นแปลว่า เขาไม่ได้เจ็บปวดใดๆ เพียงแต่ต้องการให้ตอบสนองในทันทีเท่านั้น การอุ้ม สัมผัส หรือพูดปลอบโยนของคุณแม่ไม่ใช่เพียงการทำให้ลูกหยุดร้อง แต่ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างกัน ลูกจะเรียนรู้ว่าเขาสามารถวางใจได้ว่ายังมีคนคอยดูแลอยู่ หลังจากนั้นจะร้องน้อยลงไปเรื่อยๆ

เด็กที่พ่อแม่อุ้มบ่อยๆ เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นเด็กเลี้ยงง่ายและมีสุขภาพจิตดี ตรงข้ามกับเด็กที่สมัยยังเป็นทารกถูกปล่อยให้นอนร้องไห้เองเป็นเวลานานๆ ทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัย จึงพยายามเรียกร้องหนักขึ้น ร้องไห้ดังและนานขึ้นกว่าเดิม หากคุณแม่ใช้วิธีนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้เด็กขาดความรัก ขาดความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตตอนเป็นผู้ใหญ่ต่อไป ฉะนั้นการอุ้มลูกวัยแรกเกิด – 6 เดือน ไม่ได้เป็นการตามใจเด็กจนเสียนิสัย คุณแม่จึงควรอุ้มทันทีเมื่อลูกร้อง

 

เด็กแต่ละวัยนอนต่างกัน

 

ลูกแต่ละวัย นอนหลับแบบไหนบ้าง

การนอนหลับของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนนอนหลับง่าย แค่กินอิ่ม พอหัวถึงหมอนก็หลับได้ทันที แต่บางคนต้องให้คุณแม่อุ้มกล่อมจนหลับคามือ แถมชั่วโมงการนอนของเด็กแต่ละคนก็ไม่เท่ากันด้วย

ทารกแรกเกิด – 6 เดือนใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอน โดยนอนเฉลี่ยวันละ 16 – 20 ชั่วโมง บางครั้งอาจนอนยาวกว่า 5 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน และนอนนานถึง 10 ชั่วโมงในตอนกลางคืน

ตอนที่หลับ เด็กๆ อาจส่งเสียงร้องหรือมีเสียงอื้ออ้าในคอคล้ายตื่นนอน แต่เขายังตื่นไม่เต็มตา หากคุณแม่ปล่อยให้ลูกนอนต่อโดยไม่ไปอุ้ม หรือป้อนนม ก็สามารถหลับต่อได้เอง  ถ้าลูกร้องไม่ยอมหยุด แสดงว่าต้องการเรียกร้องบางอย่างจากคุณแม่แล้ว

ทารกอายุ 6 – 12 เดือน ลูกจะนอนกลางวันน้อยลง เหลือเพียง 2 – 3 ชั่วโมง แต่นอนกลางคืนนานขึ้น หากคุณแม่ฝึกให้ลูกนอนเองได้ตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเข้าสู่วัยนี้ลูกจะนอนหลับเองได้ และร้องเรียกคุณแม่น้อยลงมาก เว้นแต่ว่าลูกกำลังป่วย หรือเริ่มมีอาการกลัวการอยู่คนเดียว  อยากให้คุณแม่มาอยู่ใกล้ๆ เด็กบางคนอาจหันไปติดผ้าห่มหรือตุ๊กตาเพื่อทดแทนความรู้สึกกลัวนี้

อ่านต่อ อาการของเด็กที่มีปัญหาเรื่องการนอน คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อาการของเด็กนอนหลับยาก

หนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้ ลูกติดมือ มาจากลูกเป็นเด็กนอนหลับยาก ซึ่งปกติถ้าเด็กได้กินอิ่ม สบายตัว และอยู่ในบรรยากาศห้องที่สงบ เย็นสบาย ก็พร้อมจะหลับได้ง่ายๆ ยกเว้นทารกแรกเกิดที่ยังไม่รับรู้ช่วงเวลากลางวัน กลางคืน ถ้านอนหลับช่วงกลางวันดี แต่ตื่นมาเล่นตอนกลางคืนก็ถือว่าเป็นปกติ

แต่ถ้าลูกน้อยอายุเกิน 3 เดือน และ คุณแม่พยายามทำทุกอย่างนี้จนครบถ้วนแล้ว ลูกก็ไม่ลืมตาแป๋วไม่ยอมนอน หรือร้องงอแงตลอดเวลา แสดงว่า ลูกของคุณแม่อาจมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณดังต่อไปนี้

ถุงมือแทนมือแม่ ทำให้เด็กรู้สึกคล้ายแม่กำลังจับอยู่

ถุงมือแทนมือแม่ กล่อมลูกหลับง่ายแก้ลูกติดมือ

การอุ้มลูกให้หลับคามืออาจไม่ใช่เรื่องยากเย็น หากมันใช้เวลาแค่ 15 – 30 นาที แต่ถ้าคุณแม่ต้องอุ้มลูกนานเป็นชั่วโมงๆ ในทุกวัน หรือตอนที่เห็นว่าลูกหลับแล้ว แต่พอวางบนเบาะนอนปุ๊บ ลูกร้องตื่นทันที ทำเอาคุณแม่เครียดไปตามๆ กัน มีคุณแม่หลายคนให้ลูกหลับคาอก หรืออุ้มหลับไปพร้อมกันเลย

คุณแม่  Abigail Rivera Garcia แชร์ไอเดียประดิษฐ์ถุงมือ DIY แทนมือแม่ ใช้กล่อมลูกน้อยวัย 2 เดือนที่มีอาการโคลิคได้สำเร็จ หลังจากต้องเผชิญปัญหา ลูกติดมือ อย่างหนักอยู่เป็นเดือน ลงในเฟสบุ๊ก และมีคุณพ่อคุณแม่เข้ามาดูมากถึง 78,000 คน

เธอไปเจอไอเดียนี้มาจากเว็บไซต์ pinterest แล้วมาทดลองทำตาม โดยใช้ถุงมือแพทย์ (ถุงมือยาง) มาใส่เมล็ดข้าวสารจนเต็ม แล้วมัดให้แน่น มันจึงมีขนาดและน้ำหนักพอๆ กับมือของเธอ จากนั้นเมื่อกล่อมลูกให้หลับแล้ว ก็จัดท่าให้ลูกนอนคว่ำบนที่นอน แล้ววางถุงมือนี้บนหลัง ปรากฎว่า หนูน้อยสามารถนอนหลับเองได้นานเกิน 10 นาทีในครั้งแรก

 

ลักษณะและน้ำหนักของถุงมือคล้ายมือแม่จริงๆ

 

“ถึงมันจะได้ผลกับลูกสาวของฉัน แต่แน่นอนว่าพ่อแม่แต่ละคนอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันไป บางคนชอบมัน แต่บางคนอาจไม่ชอบเลย ไม่มีอะไรถูกหรือผิด เพราะแม่ทุกคนรู้จักลูกของตัวเองดี ฉันแชร์ไอดียนี้เพราะรู้ดีว่ามันอยากแค่ไหนเวลา ลูกติดมือ ถ้าสิ่งนี้จะช่วยแม่คนอื่นได้ ฉันก็ยินดี”

ถ้าคุณแม่คนไหนสนใจ สามารถนำไปทดลองใช้ได้ นี่อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหา ลูกติดมือ ให้กลับมานอนหลับง่ายขึ้น แบบไม่ต้องเปลืองแรงและเสียเงินในกระเป๋าด้วย

 5 เทคนิคกล่อมลูกน้อยให้หลับสนิท

นอกจากการใช้อุปกรณ์เป็นตัวช่วยให้ลูกนอนหลับขึ้นแล้ว การเตรียมพร้อมทั้งบรรยากาศและร่างกายของลูกให้พร้อมสำหรับการเข้านอน ก็ช่วยให้คุณแม่เอาลูกเข้านอนหลับสนิทได้ โดยไม่ต้องอุ้มอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้

 

สำหรับทารกแรกเกิดที่ออกมาดูโลกได้ไม่กี่วัน ทุกสิ่งรอบตัวยังเป็นเรื่องใหม่และแปลกตา การได้อยู่ใกล้ชิด สูดดมกลิ่นตัวหอมๆ ได้เสียงยินและอ้อมกอดอันอบอุ่นของคุณแม่ คือเกราะป้องกันภัยให้เขารู้สึกปลอดภัย ในมุมหนึ่ง การอุ้มกล่อมลูกเข้านอนบ้าง ก็เป็นการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีของทารกเช่นกัน

อ่านบทความอื่นๆ น่าสนใจ

ลูกร้องโคลิค สาเหตุ อาการ และวิธีแก้ไข

เผย คาถาเลี้ยงลูกง่าย – คาถาให้ลูกหลับ อีกวิธีที่แม่มือใหม่ควรลอง

 


ขอบคุณข้อมูลจาก www.breastfeedingthai.comwww.pobpad.comwww.sleepcenterchula.or  parentingisnteasy.co ,  Abigail Rivera Garcia 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids