ไอเดียสุดเจ๋ง ถุงมือแทนมือแม่แก้ ลูกติดมือ นอนหลับยาก - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
ถุงมือแทนมือแม่ แก้ปัญหา ลูกติดมือ

ไอเดียสุดเจ๋ง ถุงมือแทนมือแม่แก้ ลูกติดมือ นอนหลับยาก

account_circle
event
ถุงมือแทนมือแม่ แก้ปัญหา ลูกติดมือ
ถุงมือแทนมือแม่ แก้ปัญหา ลูกติดมือ

อุ้มบ่อยๆเสี่ยง ลูกติดมือ จริงหรือไม่

แม้ทารกแรกเกิดจะยังมองหน้าคุณแม่ไม่ชัด แต่จำสัมผัสและกลิ่นได้แม่นยำ พอลูกต้องการความไออุ่นและสัมผัสอันนุ่มละมุน เขาจะแสดงออกให้รู้ด้วยการร้องไห้ ถ้าคุณแม่ยังไม่สนใจ เขาก็จะยิ่งร้องดังและนานมากขึ้น พออุ้มแล้วก็จะเงียบทันที แต่พอวางปุ๊บก็น้องปั๊บ

ความเชื่อสมัยปู่ย่าตายายที่บอกว่า “ถ้าอุ้มลูกบ่อยๆ จะทำให้ลูกติดมือไปจนโต จะไม่ยอมนอนเองจนกว่าจะอุ้มจนหลับคามือ ” คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจรู้สึกสับสนว่า ถ้ายอมทำตามความต้องการของลูกแล้ว จะยอมหยุดร้องหรือ ควรปล่อยให้ร้องจนเหนื่อยแล้วหยุดไปเองดี

 

เด็กนอนยาก อุ้มกันจนติดมือ
ลูกนอนยากมักนอนเองไม่ได้

จากผลวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ทารกช่วง 6 เดือนแรกใช้วิธีสื่อสารกับพ่อแม่ด้วยการร้องไห้ สังเกตได้ว่าการร้องของลูกน้อยไม่มีน้ำตาออกมา นั่นแปลว่า เขาไม่ได้เจ็บปวดใดๆ เพียงแต่ต้องการให้ตอบสนองในทันทีเท่านั้น การอุ้ม สัมผัส หรือพูดปลอบโยนของคุณแม่ไม่ใช่เพียงการทำให้ลูกหยุดร้อง แต่ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างกัน ลูกจะเรียนรู้ว่าเขาสามารถวางใจได้ว่ายังมีคนคอยดูแลอยู่ หลังจากนั้นจะร้องน้อยลงไปเรื่อยๆ

เด็กที่พ่อแม่อุ้มบ่อยๆ เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นเด็กเลี้ยงง่ายและมีสุขภาพจิตดี ตรงข้ามกับเด็กที่สมัยยังเป็นทารกถูกปล่อยให้นอนร้องไห้เองเป็นเวลานานๆ ทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัย จึงพยายามเรียกร้องหนักขึ้น ร้องไห้ดังและนานขึ้นกว่าเดิม หากคุณแม่ใช้วิธีนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้เด็กขาดความรัก ขาดความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตตอนเป็นผู้ใหญ่ต่อไป ฉะนั้นการอุ้มลูกวัยแรกเกิด – 6 เดือน ไม่ได้เป็นการตามใจเด็กจนเสียนิสัย คุณแม่จึงควรอุ้มทันทีเมื่อลูกร้อง

 

การนอนของเด็กแต่ละวัย
เด็กแต่ละวัยนอนต่างกัน

 

ลูกแต่ละวัย นอนหลับแบบไหนบ้าง

การนอนหลับของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนนอนหลับง่าย แค่กินอิ่ม พอหัวถึงหมอนก็หลับได้ทันที แต่บางคนต้องให้คุณแม่อุ้มกล่อมจนหลับคามือ แถมชั่วโมงการนอนของเด็กแต่ละคนก็ไม่เท่ากันด้วย

ทารกแรกเกิด – 6 เดือนใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอน โดยนอนเฉลี่ยวันละ 16 – 20 ชั่วโมง บางครั้งอาจนอนยาวกว่า 5 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน และนอนนานถึง 10 ชั่วโมงในตอนกลางคืน

ตอนที่หลับ เด็กๆ อาจส่งเสียงร้องหรือมีเสียงอื้ออ้าในคอคล้ายตื่นนอน แต่เขายังตื่นไม่เต็มตา หากคุณแม่ปล่อยให้ลูกนอนต่อโดยไม่ไปอุ้ม หรือป้อนนม ก็สามารถหลับต่อได้เอง  ถ้าลูกร้องไม่ยอมหยุด แสดงว่าต้องการเรียกร้องบางอย่างจากคุณแม่แล้ว

ทารกอายุ 6 – 12 เดือน ลูกจะนอนกลางวันน้อยลง เหลือเพียง 2 – 3 ชั่วโมง แต่นอนกลางคืนนานขึ้น หากคุณแม่ฝึกให้ลูกนอนเองได้ตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเข้าสู่วัยนี้ลูกจะนอนหลับเองได้ และร้องเรียกคุณแม่น้อยลงมาก เว้นแต่ว่าลูกกำลังป่วย หรือเริ่มมีอาการกลัวการอยู่คนเดียว  อยากให้คุณแม่มาอยู่ใกล้ๆ เด็กบางคนอาจหันไปติดผ้าห่มหรือตุ๊กตาเพื่อทดแทนความรู้สึกกลัวนี้

อ่านต่อ อาการของเด็กที่มีปัญหาเรื่องการนอน คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up