5.ทำหน้าทำตาตลกๆ กับลูกน้อยวัย 6 เดือนที่หน้ากระจก แรกๆ เจ้าตัวน้อยอาจจะเลียนแบบคุณอีกไม่นานเขาจะเลียนแบบหน้าตัวเอง
6. แต้มลิปสติกลงบนแก้มหรือปลายจมูกของเจ้าตัวเล็ก ถ้าเขาถูลิปสติกออก เจ้าตัวเล็กก็จะเชื่อมโยงได้ว่าที่เห็นอยู่ในกระจกคือตัวของเขาเอง
7. คุณแม่จึงสามารถต่อยอดให้ลูกจดจ่ออยู่หน้ากระจกนานขึ้น โดยการชี้ไปที่ตัวลูก แล้วเรียกชื่อของเจ้าหนู สลับกับชี้ที่ตัวคุณแม่แล้วบอกว่า คนนี้แม่ คนนี้หนู นี่จมูกของแม่ นี่จมูกของหนู นี่ปากของแม่ นี่ปากของหนู คุณแม่จับมือของลูกชี้ตามไปด้วย ทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้เป็นการปูพื้นฐานเรื่องการรู้จักตนเองของเด็กได้ด้วย
8.คุณแม่ก็ยังสามารถชวนลูกดูกระจกได้เรื่อยๆ นอกจากจะสอนเรื่องตัวแม่ ตัวลูก ยังสอนให้เรียกอวัยวะต่าง ๆ แล้ว ลูกจะค่อยๆ เรียนรู้เรื่องตัวเขา ตัวแม่ จากนั้นคุณแม่เล่นสนุกกับลูก ด้วยการทำหน้าตาตลก ๆ ทำตาโต ปากจู๋กับกระจกให้ลูกดู ลูกจะหัวเราะอารมณ์ดีที่เดียวค่ะ ถือเป็นการช่วยพัฒนาอารมณ์ลูกไปด้วย
9. เหตุผลทางที่นักวิจัยเชื่อว่า กระจกสามารถกระตุ้นพัฒนาสมองของทารกได้ดีนั้น คือ การจ้องมองกระจกช่วยกระตุ้นสมองและประสาทสัมผัสด้านความสนใจใคร่รู้ที่เป็นลักษณะเฉพาะของเด็ก เวลาที่เขาจ้องมองและสัมผัสสิ่งต่างๆ ในกระจก สมองจะส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นใยของเซลล์ประสาทที่มีการแตกแขนงอย่างมากมาย ทำให้เกิดการรับรู้ การตอบสนองต่อสิ่งที่เห็น
เมื่อได้ทราบข้อดีของกระจกเช่นนี้แล้ว พาเจ้าตัวน้อยไปเล่นกับกระจกดีกว่า ดีทั้งพัฒนาการสมอง พัฒนาการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านการสื่อสาร เรียกว่าดีอย่างรอบด้าน
อ้างอิงข้อมูลจาก