กรดไหลย้อน ทารกป่วยง่าย อันตรายกว่าที่คิด - amarinbabyandkids
กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน ทารกป่วยง่าย อันตรายกว่าที่คิด

event
กรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนถ้าลูกน้อยมี อาการกรดไหลย้อน ต้องดูแลอย่างไร?

1.ถ้าลูกน้อยมีอาการกรดไหลย้อนไม่รุนแรงมาก เช่น แหวะนม คุณแม่ควรปรับพฤติกรรมการกินของลูก เช่น แบ่งระยะการกินนมแต่ละมื้อไม่ให้ถี่เกินไป มากเกินไป หรือกินนมแล้วนอนเลย ปรับวิธีให้นมผ่านลงสู่กระเพาะอาหารไปลำไส้เล็กโดยเร็ว เพื่อไม่ให้นมทะลักขึ้นมา นั่นคือหลังลูกกินนมเสร็จ ให้จับลูกนั่งช้าๆ ไม่อุ้มแกว่งลูกไป-มา อาจซ้อนเบาะให้ลูกหนุนหมอนหัวสูงขึ้น หรืออุ้มพาดบ่าปกติ แต่ไม่ต้องกดท้อง หรือเน้นให้ลูกต้องเรอออกมาแรงๆ

2.ในเด็กเล็กหูรูดหลอดอาหารจะอ่อนแอ การให้นมในแต่ละมื้อ ไม่ควรมากเกินไป แต่ให้ลูกกินนมให้อิ่ม ตามความต้องการ หรือความเหมาะสม หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กที่เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือมีอาการกรดไหลย้อนอยู่ในที่ที่มีควันมาก หรือสัมผัสควันมาก เพราะอาจทำให้ไอ สำลัก ระคายเคืองจนกรดไหลย้อนขึ้นมามากยิ่งขึ้น

3.ในเด็กเล็กการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่รัดแน่นเกินไป หรือใส่เสื้อผ้า กางเกงที่รัด ฟิต แน่นจะทำให้เกิดการรัดที่กระเพาะอาหารของเด็ก ทำให้อาหาร หรือนมที่กินเข้าไปทะลัก หรือล้นออกมา  ให้เด็กทารกใส่เสื้อผ้า และผ้าอ้อมที่สวมใส่สบาย ไม่รัด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

4.ห้ามกินอาหารก่อนนอน เมื่อลูกอยู่ในวัย 6 เดือนขึ้นไปการกินนมมื้อดึก หรือกลางดึก อาจเป็นอันตรายได้มาก เพราะทำให้ลูกสำลักนมลงปอดได้ ลูกในวัยนี้จะงดการกินนมด้วยตัวเองได้แล้ว  คือมักจะไม่ตื่นมาตอนกลางคืน การที่ลูกตื่นอาจแค่พลิกตัว ไม่ได้ต้องการกินนม แต่คุณแม่มักเข้าใจผิด และเอานมให้ลูกกิน  ดังนั้นลูกตื่นกลางดึก คุณแม่ก็ควรใช้วิธีกล่อมนอน หรือลูบหลังให้ลูกหลับต่อเท่านั้น

5.แบ่งการกินนมให้ชัดเจน 3 ชั่วโมง ทานหนึ่งครั้ง เพื่อให้ลูกมีวินัยในการกินนม ปรับร่างกายให้กินนมเป็นเวลา ลดการเกิดกรดไหลย้อน

6.ไม่ว่าเด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่ที่มีอาการกรดไหลย้อน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเปรี้ยว เพราะมีกรดมาก งดอาหารไขมันสูง พวกของทอด เพราะทำให้ท้องอืด รวมถึง ช็อกโกแลต กาแฟ ชา และอาหารเย็นจัด เช่น ไอศกรีม น้ำอัดลม เพราะจะทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอยิ่งขึ้น

7.ถ้าลูกน้อยมีอาการกรดไหลย้อนที่รุนแรง เช่น น้ำหนักไม่ขึ้น หงุดหงิดมาก ร้องกวน ต้องพบแพทย์ เพื่อตรวจดูว่าลูกน้อยเป็นรุนแรงถึงขนาดที่หลอดอาหารอักเสบหรือไม่ ถ้าไม่มีหลอดอาหารอักเสบ คุณหมอจะใช้ยาปรับการทำงานของกระเพาะอาหาร แก้อาเจียน หรือสารหนืดเพื่อปรับนมให้หนืดขึ้น แต่ถ้ามีอาการแหวะนมบ่อย หรือไอบ่อยมาก อาจจำเป็นต้องใช้ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร จัดยาให้มีขนาดพอดีกับกระเพาะอาหารของเด็กเล็ก

กรดไหลย้อนนิตยสาร Amarin Baby & Kids ประจำฉบับเดือนตุลาคม 2559

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

กรดไหลย้อนในเด็กทารก + 4 เทคนิคป้องกันไม่ให้ลูกเป็นกรดไหลย้อน

Save

Save

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up