AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

หน้าฝนมาเยือน เตือนพ่อแม่ระวัง! ไข้ออกผื่น ในเด็ก

เตือนพ่อแม่ระวัง ไข้ออกผื่น ในเด็ก

โรคหัดเป็นโรค ไข้ออกผื่น (exanthematous fever) ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก นับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่ง เพราะอาจมีโรคแทรกซ้อนทำให้ถึงเสียชีวิตได้

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน คุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกเล็ก ต่างกังวลถึงสุขภาพลูกกันไม่ใช่น้อย เพราะเด็กเล็กที่ภูมิต้านทานยังไม่มากพอก็มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อโรค เชื้อไวรัสได้สูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัสที่กระจายอยู่ตามอากาศ โดยเฉพาะกลุ่ม Herpes ที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคไข้ออกผื่น เช่น หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส

โดยเฉพาะโรคหัด จะติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส (air borne) เข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้ ผู้ติดเชื้อจะเป็นโรคเกือบทุกราย ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งคือ อาการภูมิแพ้ เช่น แพ้ยา แพ้ฝุ่นละออง ซึ่งอาจทำให้ผิวของลูกมีอาการแพ้ จนเกิดผื่นขึ้นได้เช่นกัน

ถ้าไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค เด็กมีโอกาสจะเป็นหัดได้เมื่อภูมิคุ้มกันที่ผ่านมาจากแม่หมดไปเมื่ออายุประมาณ 6-9 เดือน อายุที่พบบ่อยคือ 1-6 ปี ถ้าไม่มีภูมิต้านทานจะเป็นได้ทุกอายุ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้เท่าทัน เมื่อใดที่ลูกมีอาการตัวร้อนและมีผื่นเกิดขึ้น

อาการแสดงของ ไข้ออกผื่น

เริ่มด้วยมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ และกลัวแสง อาการต่างๆ จะมากขึ้นพร้อมกับไข้สูงขึ้น และจะสูงเต็มที่เมื่อมีผื่นขึ้นในวันที่ 4 ของไข้ ลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ โดยจะขึ้นที่หน้า บริเวณชิดขอบผม แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัว ซึ่งกินเวลาประมาณ 2-3 วัน ไข้ก็จะเริ่มลดลง ผื่นที่ระยะแรกมีสีแดงจะมีสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง ซึ่งคงอยู่นาน 5-6 วัน กว่าจะจางหายไปหมด กินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ บางครั้งจะพบผิวหนังลอกเป็นขุย

การตรวจในระยะ 1-2 วัน ก่อนผื่นขึ้นจะพบจุดขาวๆ เล็กๆ มีขอบสีแดงๆ อยู่ในกระพุ้งแก้ม เรียกว่า koplik’s spots ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยโรคหัดได้ก่อนที่จะมีผื่นขึ้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ >> “วิธีสังเกตอาการไข้ออกผื่น” คลิกหน้า 2

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ไข้ออกผื่น ชนิดใด

มีข้อสังเกตดูอาการต่าง ๆ ของ ไข้ออกผื่น เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่แยกแยะว่ามีสาเหตุจากอะไร โดยคร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ

1.หัด มีไข้สูงตลอดทั้งวัน (แม้กินยาลดไข้ก็ไม่ค่อยได้ผล) พร้อมกับอาการเป็นหวัด ไอ หน้าแดง ตาแดง หลังมีไข้ประมาณ 3-4 วัน จะมีผื่นแดง ๆ เล็ก ขึ้นตามหน้าแล้วกระจายไปตามลำตัวและแขนขา ขณะมีผื่นขึ้นก็ยังคงมีไข้สูงต่อไปอีก 1-2 วัน หลังจากนั้นไข้จึงค่อย ๆ ลดลง ซึ่งเด็กมักจะนอนซมและเบื่ออาหาร กินเวลาประมาณ 7-10 วัน กว่าจะหาย

2.หัดเยอรมัน มีไข้ไม่สูงนัก ครั่นเนื้อครั่นตัวเป็นพัก ๆ มีผื่นแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นที่หน้า ลำตัว แขนขา โดยมากจะไม่มีอาการของหวัดหรือไอ เด็กจะมีอาการไม่ค่อยรุนแรง สามารถกินข้าว วิ่งเล่น ได้ตามปกติ ถ้าคุณแม่ใช้นิ้วมือคลำบริเวณข้างคอ หลังคอ หรือท้ายทอย มักจะพบก้อนตะปุ่มตะป่ำขนาดเท่าเมล็ดถั่วลิสง ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองที่บวมจากโรคนี้ จะหายไปภายในเวลา 5-7 วัน

3.อีสุกอีใส มีไข้เป็นพัก ๆ มีตุ่มใส ๆ ขึ้น ที่บริเวณหน้าและคอในวันแรกที่ไม่สบาย ต่อมาจะมีตุ่มใส ๆ ขึ้นกระจายตามลำตัวแขนขา มักมีอาการคันร่วมด้วย ต่อมาตุ่มค่อย ๆ สุกและตกสะเก็ด กินเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

4.ส่าไข้ มักพบในเด็กอายุ 1-2 ปี มีไข้สูงจัดตลอดเวลา (กินยาลดไข้ก็ไม่ได้ผล) นอนซึม และเบื่ออาหารโดยไม่เป็นหวัด จับไข้อยู่ประมาณ 3-4 วัน แล้วไข้ลดลงได้เอง หลังไข้ลดจะมีผื่นแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นทั่วตัว ลักษณะเหมือนผื่นของหัด พอผื่นขึ้นเด็กจะกลับฟื้นคืนเป็นปกติทุกประการ และผื่นมักจะค่อย ๆ หายไปภายใน 3 วัน

5.ผื่นดอกกุหลาบ มักพบในเด็กอายุประมาณ 3 เดือน-3 ปี เด็กจะมีอาการไข้สูงลอย ร้องกวน อาจมีอาการชักขณะไข้สูง ไม่มีอาการไอ น้ำมูกไหล ตาแดง เป็นไข้อยู่ 3-4 วัน ไข้ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจะมีผื่นลักษณะเป็นเม็ดนูนเล็ก ๆ 2-4 มิลลิเมตร สีชมพูกุหลาบขึ้นที่บริเวณตัวก่อนแล้วลามไปตามหน้า และแขนขา ผื่นนี้ลดลงแล้วสีจะจาง อยู่นานไม่กี่ชั่วโมง ถึง 2-3 วันแล้วก็จะหายไปเอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โรคแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสภาพยากจน อยู่ในชุมชนแออัด มีภาวะทุพโภชนาการ และในเด็กเล็กที่พบบ่อย มีดังนี้

  1. ทางระบบทางเดินหายใจ

–   หูส่วนกลางอักเสบ (otitis media)

–   หลอดลมอักเสบ croup

–   ปอดอักเสบ

  1. ทางระบบทางเดินอาหาร พบอุจจาระร่วง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ
  2. สมองอักเสบพบได้ประมาณ 1 ใน 1000 ราย ซึ่งจะทำให้มีความพิการเหลืออยู่ ถ้าไม่เสียชีวิต
  3. ในเด็กที่มีภาวะขาดวิตามินเอ อาการจะรุนแรงและอาจทำให้มีตาบอด

อ่านต่อ >> “การรักษาและวิธีป้องกันโรคไข้ออกผื่น” คลิกหน้า 3

การดูแลรักษาเมื่อลูกเป็นไข้ออกผื่น

การรักษาอาการ ไข้ออกผื่น เบื้องต้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จำเป็นต้องทราบก่อนว่าลูกเป็นโรคอะไร โดยพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย ฉีดวัคซีนป้องกันได้ แต่บางชนิดไม่มีวัคซีนป้องกัน ฉะนั้นจึงควรดูแล และป้องกันอย่างเหมาะสมดังนี้

1.การแยกเด็ก

2.การดูแลตามอาการ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีการป้องกัน ไข้ออกผื่น

กลุ่มอาการไข้ออกผื่น บางชนิด เช่น โรคหัด หัดเยอรมัน จะมีวัคซีนป้องกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันได้

สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจกังวลและให้ลูกงดอาหารพวกเนื้อ นม ไข่ ซึ่งเชื่อกันมาแต่โบราณว่าเป็นของแสลงกับไข้ออกผื่น ความจริงแล้วอาหารเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้เด็ก ๆ ได้ จึงควรให้เด็กกินให้มากขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยในเด็กเล็กๆ คุณหมอบอกว่า การดูแลเรื่องไข้ของลูก ต้องอย่าให้ลูกขาดน้ำ เพราะถ้าลูกขาดน้ำ พลังงาน อาการจะหายช้า และเมื่อเพลียมากอาจเกิดอาการชักได้

ทั้งนี้ ไข้ออกผื่น ไม่มียารักษาเฉพาะทาง วิธีที่ดีที่สุด คือ ให้วัคซีนป้องกัน ที่ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ให้วัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้งฟรี ซึ่งครั้งแรก เมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน โดยให้ในรูปแบบของวัคซีนหัดชนิดเดี่ยว ส่วนครั้งที่ 2 เมื่อเด็กเข้าเรียน ป.1 จะให้ในรูปแบบวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน


ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

และ www.manager.co.th , baby.kapook.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ คลิก

โรคฮอตฮิตควรระวัง ช่วงหน้าฝน

6 เรื่องที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ เมื่อ ทารกเป็นหวัด