AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

นี่คือพัฒนาการ ความจำ ของลูกทารกตั้งแต่แรกเกิด – 1 ขวบ

นี่คือ “ พัฒนาการ ด้าน ความจำ ” ของทารกตั้งแต่แรกเกิด – 1 ขวบ สมองของลูกน้อยจะมีขั้นตอนของพัฒนาการที่สัมพันธ์กับ การจดจำ ในแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ตามมาดูกันค่ะ

ความจำ ของลูกเบบี๋ในวัยขวบปีแรกเป็นยังไงกันนะ? คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมว่า ในขวบปีแรก ลูกจะมี ความจำ หรือการจดจำอะไรได้บ้าง หรือ ลูกจําหน้าแม่ได้ตอนกี่เดือน  และขั้นตอนของพัฒนาการที่สัมพันธ์กับความทรงจำ ในแต่ละเดือนของลูกน้อยเป็นอย่างไร?

ทารก มีพัฒนาการสมอง ด้าน ความจำ อย่างไร?

พัฒนาการสมอง เรื่อง ความจำ ของลูกน้อย เริ่มตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องแม่ โดยนับตั้งแต่ไข่จากแม่และตัวอสุจิจากพ่อมาผสมกัน เกิดเป็นหน่วยชีวิตเล็กๆที่เรียกว่า เซลล์ จากเซลล์เพียงเซลล์เดียวก็จะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อยเกิดเป็นเซลล์ที่สร้างระบบอวัยวะต่างมากมายจนเกิดเป็นลูกน้อยอยู่ในท้องของคุณแม่

เซลล์สมอง ก็เช่นเดียวกับเซลล์ของระบบอวัยวะอื่น คือ จะเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เช่นเดียวกันและจะมีการเพิ่มทั้งจำนวนและขนาด เกิดเป็นเนื้อสมองและเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกับสมองและเชื่อมโยงกันเองเกิดเป็นข่ายใยเส้นประสาทอย่างมากและรวดเร็วเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ตั้งแต่ลูกน้อยมีอายุประมาณ 8 สัปดาห์ เรื่อยไปจนถึงคลอดออกมาแล้วมีอายุ 2 ขวบ

เซรีบรัม (Cerebrum) เครื่องทำ ความจำ

สมองส่วน เซรีบรัม เป็นสมองส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและอยู่ด้านหน้าสุด มีขนาดใหญ่ประมาณ 70% ของสมองทั้งหมด  มีร่องแบ่งสมองที่ม้วนขดเป็นรูปครึ่งวงกลมออกเป็นสองซีก ที่เราเรียกกันว่า สมองซีกซ้าย และ สมองซีกซ้าย นั่นเอง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ รวมไปถึงเป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พู ดังนี้

 

โดยมีเนื้อสีเทาด้านนอกที่เรียกว่า cerebral cortex นั้นประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทกว่าแปดพันล้านเซลล์  ซึ่งยึดติดกันอยู่ได้ด้วยเซลล์เฉลี่ยประมาณ 64,000 ล้านเซลล์  ซึ่งเจ้า cerebral cortex นี้เอง ที่เป็นตัวรวบรวมข้อมูล และคอยบอกลูกทารกในสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน  รวมทั้งเรื่องของจินตนาการและความทรงจำ ผ่านรอยหยักของพูสมองทั้ง 4 พู ที่ได้พูดถึงไปนั่นเอง

อ่านต่อ “พัฒนาการ ความจำของมนุษย์ ตั้งแต่แรกเกิด – 1 ขวบ” คลิกหน้า 2

การดูแลและกระตุ้นให้ลูกเกิดความทรงจำต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มจากข้อมูลต่างๆ ที่เข้าสู่สมองของลูกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 นั่นคือ รับภาพผ่านดวงตา รับเสียงผ่านหู รับกลิ่นผ่านจมูก รับรสผ่านลิ้น รับความรู้สึกต่างๆ ผ่านผิวหนัง และมีระบบรับสัมผัสภายในร่างกายและความรู้สึกของลูกเอง

ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปเก็บตามส่วนต่างๆ ในสมอง โดยลำดับขั้นการเก็บความทรงจำ จะเริ่มบริเวณสมองส่วนกลาง (hippocampus) ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายพนักงานจัดระบบสายโทรศัพท์ในองค์กรคือ ช่วงแรกๆ จะส่งข้อมูลไปเก็บไว้ที่ความทรงจำระยะสั้น เช่น เมื่อลูกมองเห็นภาพบางอย่างที่น่าสนใจ (ขอย้ำว่าต้องน่าสนใจ ไม่เช่นนั้น สมองจะไม่ไปจัดเก็บไว้เลย) ก็จะเก็บข้อมูลได้สัก 20 วินาที ซึ่งพัฒนาการเรื่องความจำของลูก เมื่อคลอดออกมา จะสัมพันธ์กันกับพัฒนาด้านร่างกายด้วย ดังนี้

มหัศจรรย์พัฒนาการด้าน ความจำ ของทารกตั้งแต่แรกเกิด – 1 ขวบ

แรกเกิด : ลูกอาจจะยังมองไม่เห็น แต่สิ่งที่ลูกจำได้ คือการจดจำเสียงของคุณแม่ และคุณพ่อได้เพราะเคยได้ยินตั้งแต่อยู่ในท้อง

1 เดือน : สามารถจำหน้าคนที่คุ้นเคยได้

2 เดือน : จากความจำที่สะสมมาตลอด 2 เดือน ลูกจะรู้ว่าถ้าทำพฤติกรรมแบบนี้จะได้รับการตอบสนองแบบไหน เช่น ถ้าส่งเสียงร้องไห้ คุณแม่ก็จะมาหา และที่พิเศษคือ สามารถจำเหตุการณ์สำคัญบางอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ได้

5 – 6 เดือน : เริ่มที่จะจำของเล่นชิ้นโปรดได้ และจะพยายามค้นหาเมื่อมองไม่เห็น

7 – 8 เดือน : ตอนนี้ลูกจะเริ่มรู้ว่า ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่ให้ตัวเองนั่งบนเก้าอี้สูง หมายถึงเวลาทานข้าว ถ้าคุณสวมชุดนอนให้ตัวเอง หมายถึงเวลาเข้านอน และในช่วงความจำของลูกในวัยนี้หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงบางอย่าง สิ่งเหล่านั้นจะติดอยู่ในใจของลูกเป็นอาทิตย์เลยทีเดียว

9 เดือน : ให้คุณพ่อคุณแม่ลองแสดงวิธีการเล่นของเล่นชิ้นใหม่ให้ดู หลังจากนั้นสองสามวันคุณอาจจะเห็นลูกกำลังแสดงวิธีเดียวกันกับคุณ

1 ขวบ : เมื่อครบ 12 เดือน ลูกจะเริ่มมีความทรงจำเกี่ยวกับภาษา ดังนั้นลูกจึงมีปฏิกิริยาตอบโต้กับคำง่ายๆ ได้ อย่าง ใช่ หรือไม่ใช่

*หมายเหตุ : พัฒนาด้าน ความจำ เป็นพัฒนาการส่วนใหญ่ที่เด็กๆ ซึ่งเกิดมาครบ 32 และมีพัฒนาด้านร่างกายเป็นไปปกติ ซึ่งพัฒนาการต่างๆ ของเด็กแต่ละคนอาจช้าเร็วไม่เหมือนกัน แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติเรื่องพัฒนาการของลูกไม่ว่าจะด้านไหน ควรรีบพาลูกน้อยไปหาคุณหมอโดยด่วนนะคะ

 

อ่านต่อ เทคนิคพัฒนาความจำและแนวทางในการบำรุงรักษา
ระบบประสาทของลูกน้อย” หน้า
3

 

เทคนิค การพัฒนาความจำ ให้ลูกน้อย เมื่อเข้าสู่วัยเรียนรู้

การบำรุงรักษาระบบประสาท

แนวทางในการบำรุงรักษาประสาท สมอง และความจำ ของลูกน้อยมีดังนี้

1. ระวังไม่ให้สมองของลูกเกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ เพราะว่าหากสมองส่วนซีรีบรัมได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้ ความจำ เสื่อม หรือไม่สามารถจำสิ่งที่พบเห็นใหม่ ๆ ได้ และหากบริเวณที่ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นบริเวณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจทำให้ส่วนนั้นเป็นอัมพาตได้

2. ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบในเด็กตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด หรือรีบให้แพทย์ตรวจสอบเมื่อเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมอง

3. หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ อาจทำให้เกิดเป็นโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) ได้

4. พยายามผ่อนคลายความเครียด เด็กก็เครียดได้ ซึ่งหากพ่อแม่ปล่อยให้ความเครียดของลูกสะสมเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจ จึงควรหาทางผ่อนคลายความเครียดให้ลูกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การวิ่งเล่น การออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ทำให้ลูกสนุกสนานร่าเริง และพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับ เพราะเป็นการพักผ่อนสมองและร่างกายที่ดี โดยขณะที่ลูกนอนหลับ ประสาททุกส่วนที่อยู่ในอำนาจของจิตใจจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจก็จะทำงานน้อยลง

5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะสมองต้องการสารอาหารทั้ง 5 หมู่ ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการทำงานของสมอง จึงควรรับประทานอาหารให้ได้ครบ 5 หมู่ หลากหลายและไม่มากไม่น้อยจนเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อสมองอันดับต้น ๆ อีกเช่นกัน ใน 1 สัปดาห์ควรรับประทานปลาน้ำลึกอย่างน้อย 2-3 ครั้ง อย่างเช่น ปลาแซลมอน หรือปลาทู เนื่องจากปลาจำพวกนี้จะมีกรดไขมัน โอเมก้า 3 ช่วยสร้างและดูแลผนังเซลส์ประสาทในสมองให้แข็งแรง ไม่เสื่อมตามวัยเร็วเกินไปนั่นเอง

รวมไปถึงอาหารที่มีวิตามินบี 1 ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง ทำให้สมองแข็งแรง พบมากในถั่ว งา ข้าวโพด หรืออาหารที่ปรุงจากเมล็ดข้าว เช่น ขนมปังที่ทำจากแป้งไม่ขัดขาวหรือมีธัญพืชผสม รวมถึงในข้าวกล้องด้วย นอกจากนี้แล้วยังมี วิตามินบี 5 และวิตามินบี 6 ที่พบได้ในเนื้อวัว เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ ปลา ธัญพืช รวมถึงนมสด และผลไม้ ซึ่งอาหารประเภทนี้สามารถช่วยกระตุ้นและผลิตสารเคมีที่จำเป็นต่อสมองได้เป็นอย่างดี

อ่านต่อบทความดีๆน่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : campus.sanook.com , taamkru.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids