AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

โรคคอเอียง แต่กำเนิด มีสาเหตุจากอะไร ?

Credit Photo : google, shutterstock

 

โรคคอเอียง แต่กำเนิด ความผิดปกติทางสุขภาพของเด็กที่แสดงออกมา อาจเป็นทางร่างกายภายนอก หรือการเจ็บป่วยจากโรคภัยต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่อยากที่จะให้เกิดขึ้นกับลูกๆ ที่บ้านอย่างแน่นอน  ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีความรู้เกี่ยวกับ โรคคอเอียง แต่กำเนิด มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันค่ะ

 

โรคคอเอียง แต่กำเนิด คืออะไร?

โรคคอเอียง(Congenital Muscular Torticollis) ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก โดยจะสังเกตถึงความผิดปกติได้ คือ เด็กจะมีลักษณะคอเอียง ที่ศีรษะเอียงจากแนวกึ่งกลางไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นเพราะกล้ามเนื้อด้านข้างคอหดสั้นลง และอาจมาจากความผิดปกติที่ระบบสมอง ตา กระดูกคอ และการอักเสบบริเวณคอ

 

Good to know… “คอเอียงแต่กำเนิด อาจเกิดจากในขณะตั้งครรภ์ลูกอยู่ในท่าผิดปกติ  หรือมาจากภาวะน้ำคร่ำน้อย รวมทั้งสาเหตุอื่นๆ เช่น เกิดจากเนื้องอกที่กล้ามเนื้อบริเวณคอไปกระตุ้นให้คอเอียง ปัญหากระดูกคอติดเชื้อ และต่อมน้ำเหลืองโต”

 

อ่านต่อ >> “โรคคอเอียง แต่กำเนิด มีสาเหตุจากอะไรบ้าง?” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

Credit Photo : shutterstock

โรคคอเอียง แต่กำเนิด สาเหตุจากอะไร?

สำหรับโรคคอเอียงในเด็ก(Congenital Muscular Torticollis) ที่พบบ่อยที่สุด มาจากสาเหตุกล้ามเนื้อด้านข้างคอ (Sternocleidomastoid) ที่เกาะยึดระหว่างกระดูกด้านหลังหู กับส่วนหน้าของกระดูกไหปลาร้าหดสั้นลง ทำให้ศีรษะเอียงไปด้านที่กล้ามเนื้อหดสั้น แต่ใบหน้าจะบิดหันไปด้านตรงข้าม อาจเริ่มสังเกตเห็นได้ขณะอายุน้อย สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อนี้หดสั้นลง เชื่อว่าอาจมาจากเนื้อเยื่อบริเวณคอถูกกดขณะคลอดหรือทารกอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในครรภ์ ทำให้ใยกล้ามเนื้อข้างคอเสียหาย กลายเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหดสั้นลง โรคที่อาจพบร่วมกับคอเอียงได้แก่ ข้อสะโพกผิดปกติ เท้าผิดปกติ ซึ่งอาการคอเอียงอาจพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 1 เดือนหลังคลอด1

 

อ่านต่อ >> “การรักษา โรคคอเอียง สามารถรักษาได้ด้วยวิธีใด?” หน้า 3

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การรักษา โรคคอเอียง แต่กำเนิด ทำได้ด้วยวิธีใด ?

โรคคอเอียงในเด็ก สามารถทำการรักษาได้อยู่ 2 วิธี ซึ่งต้องอยู่ที่การวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่าลักษณะคอเอียงเป็นมากน้อยแค่ไหน จึงจะสามารถให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม สำหรับการรักษาโรคคอเอียง มีดังนี้

1. การยืดกล้ามเนื้อข้างคอที่หดสั้น

การรักษาด้วยวิธีนี้หากจะให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรรักษาตอนที่เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ผู้ดูแลควรเรียนรู้ ถึงวิธีการยืดที่ถูกต้อง เช่น จากนักกายภาพบำบัด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก โดยในสิ่งที่สนใจเช่นของเล่นต่างๆ การจัดตำแหน่งศีรษะขณะนอนหลับ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นการยืดกล้ามเนื้อ ก็เป็นอีกแนวทางที่มีการใช้กัน แต่ควรได้รับการแนะนำถึงข้อควรระวังก่อนนำมาใช้การใช้อุปกรณ์พยุง (Orthosis) ปรับตำแหน่งศีรษะ ยังไม่ใช้กันแพร่หลายนัก เนื่องจากปัญหาในการจัดหาอุปกรณ์ และต้องใช้ในเด็กที่โตพอสมควรแล้ว

 

2. การผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้อหดสั้น

ถ้ายืดกล้ามเนื้อหดสั้นไม่ได้ผลหลังอายุ 1 ปีควรรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อให้มีสมดุลของศีรษะและใบหน้าดีขึ้น การผ่าตัดมักได้ผลดีพอสมควร อายุที่เหมาะสมที่สุดคือ 1-4 ปี ในผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้นการผ่าตัดอาจได้ผลไม่เต็มที่ การผ่าตัดทำได้หลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตัดปลายยึดเกาะของกล้ามเนื้อด้านข้างคอ ทั้งสองปลาย (bipolar release) หลังผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้อุปกรณ์พยุงต่างๆ ร่วมด้วย และมักต้องการการยืดกล้ามเนื้อต่ออีกเพื่อให้คอตรงมากขึ้น และป้องกันการเป็นซ้ำ2

 

อ่านต่อ >> “ให้ลูกนอนคว่ำแล้วคอเอียง จะรักษาได้อย่างไร?” หน้า 4

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

Q : ให้ลูกชายนอนคว่ำตั้งแต่ยังเล็กๆ ตอนนี้เขาอายุ 6 เดือนแล้วและมีอาการคอเอียงซ้ายบ้างขวาบ้างจนน่าเป็นห่วง จะแก้ไขอย่างไรดี?

A : การจัดให้ลูกได้นอนคว่ำ ข้อดี คือ ช่วยให้กล้ามเนื้อคอและหลังแข็งแรงเร็ว ทำให้ศีรษะทุย ไม่แบนราบเหมือนท่านอนหงาย ทำให้การทำงานของปอดและการเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้นในเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด และทำให้ลูกนอนคว่ำเป็น เผื่อว่าเวลาที่ไม่สบายแล้วมีอาการไอหรือคัดจมูกมากเมื่อนอนหงาย จะได้นอนคว่ำแทนเพื่อให้อาการดีขึ้นและนอนหลับได้บ้าง

ส่วน ข้อเสีย ของการนอนคว่ำคือ พบภาวะเสียชีวิตจาก SIDS มากกว่าท่านอนหงาย โดยพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนที่คอยังไม่แข็ง ซึ่งอาจเป็นเพราะที่นอนอุดจมูกจนหายใจไม่ออก การจัดให้นอนคว่ำจึงควรเป็นการนอนเล่นๆ เพื่อออกกำลังในช่วงกลางวัน ไม่ควรให้ลูกนอนคว่ำตอนกลางคืนเพราะไม่มีคนคอยเฝ้าดู นอกจากนี้ เด็กที่นอนคว่ำมากเกินไปอาจมีรูปศีรษะเรียวยาวแต่รูปหน้าแคบ หรืออาจเกิดอาการแบบเดียวกับลูกของคุณแม่คือคอเอียงไปเอียงมา

วิธีแก้ไขเพื่อให้ลูกมีใบหน้าและศีรษะที่สวยได้รูปพอดีและคอไม่เอียงคือ ช่วงนี้ควรงดท่านอนคว่ำไปก่อนโดยให้เน้นท่านอนหงายแทน (แต่หันหน้าไปด้านข้าง) และให้นอนตะแคงบ้าง (ใช้หมอนข้างใบเล็กๆหนุนที่หลัง) สลับกันไปจนกว่าอาการจะดีขึ้น

 

การรู้เท่าทันโรคภัยไข้เจ็บ หรืออาการผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้อาการดีขึ้น และหายขาดได้ อย่างไรทีมงานก็ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกครอบครัวด้วย …ด้วยความห่วงใยค่ะ 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!

IPD โรคติดเชื้อ สาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็ก
โรคปอดบวมในเด็ก รู้ทันอาการ ป้องกันลูกเสียชีวิตได้ !!
สี ปัสสาวะ บอก โรค ได้อย่างไร?

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1,2สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี