ลูกร้องโคลิค สาเหตุ อาการ และวิธีแก้ไข - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
ลูกร้องโคลิค

ลูกร้องโคลิค สาเหตุ อาการ และวิธีแก้ไข

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกร้องโคลิค
ลูกร้องโคลิค
ลูกร้องโคลิก
Credit Photo : Shutterstock

 

จะช่วยอย่างไรเมื่อ ลูกร้องโคลิค ?

การจะรับมือกับเมื่อลูกร้องโคลิค ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องตั้งสติ ไม่คิดมากและไม่ฟุ้งซ่าน เพราะการร้องโคลิคไม่ใช่การร้องที่จะนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพของลูก แต่อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของพ่อแม่ได้บ้าง ดังนั้นแนะนำว่าพ่อแม่ต้องไม่เครียดกับเสียงร้องของลูกเด็ดขาด

หากลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่มีอาการร้องโคลิค อาจเป็นการยากที่จะทำให้ลูกหยุดร้องในทันที แต่ก็พอที่ช่วยให้อาการร้องดีขึ้น ซึ่งคุณหมอได้มีคำแนะในการดูแลเมื่อ ลูกร้องโคลิค ดังนี้

  1. ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตการร้องของลูกก่อนว่าร้องเพราะหิวนมหรือไม่ เพราะเด็กที่หิวนมมักจะร้องกวน
  2. ควรจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก โดยเฉพาะในบ้าน ห้องนอน อย่าให้มีอะไรมากระตุ้นลูก อาทิ เสียงดังๆ หรือแสงรบกวน โดยเฉพาะแสงไฟที่จ้ามากไป
  3. การอุ้มลูกพาดบ่าเพื่อให้ลมในท้องดันเรอออกมา จะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น
  4. เมื่อลูกเริ่มร้อง คุณแม่อาจใช้วิธีนวดตัวลูกเบาๆ เพื่อให้เขารู้สึกสบายขึ้น การลูบหลัง หรืออุ้มขึ้นมาแล้วเขย่าเบาๆ ก็ช่วยให้ลูกผ่อนคลายได้เช่นกัน
  5. การเปิดเพลงเบาๆ ให้ลูกฟัง สามารถช่วยทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายได้
  6. คุณพ่อคุณแม่เมื่อได้ยินลูกร้องนานมากกว่าปกติ ไม่ควรปล่อยลูกให้ร้องอยู่คนเดียว แต่ควรเข้าไปอุ้มแล้วปลอบโยกตัวลูกเบาๆ
  7. หาคนช่วยดูลูก เพื่อแม่จะได้พักบ้าง เช่น คุณพ่อช่วย หรือพี่เลี้ยงมาสลับ ไม่เช่นนั้นคุณแม่จะเครียดมาก(2)

 

อาการร้องโคลิค ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทารกทุกคนเสมอไปค่ะ ฉะนั้นว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในอีกหลายๆ ครอบครัว จึงไม่ต้องกังวลกันเกินไปว่าลูกของเราจะเป็นเด็กร้องโคลิกด้วยหรือเปล่า ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงๆ กับครอบครัวใดก็ตาม ขอให้มีสติและอย่าเครียดกับสิ่งที่เกิดขึ้น ขอให้ในทุกวันดูแลลูกให้ดีตามคำแนะนำจากคุณหมอ แล้วอาการร้องโคลิคจะหายไปในที่สุด …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ทารกขาดวิตามินบี 12 เสียชีวิต เพราะแม่รักสุขภาพกินแต่ผัก
อาการนอนผวาในทารก สาเหตุ และวิธีแก้ไข
ไขทารก มีประโยชน์กับลูกหรือไม่ ทำไมต้องกำจัด?

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1,2ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณี เจตศรีสุภาพ วว.กุมารเวชศาสตร์, อว.โลหิตวิทยา.โคลิก (Baby colic) : เด็กร้องร้อยวัน.haamor.com
รศ.นพ.ประพันธ์  อ่านเปรื่อง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เด็กร้อง 3 เดือน (โคลิก). www.si.mahidol.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up