ลูกร้องโคลิค สาเหตุเกิดจากอะไร?
การร้องโคลิกของลูกวัยทารก ยังไม่ทราบสาเหตุของอาการที่แน่ชัด แต่ก็อาจมาจากหลายสาเหตุร่วมกันที่นำมาสู่การร้องโคลิค ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณี เจตศรีสุภาพ กุมารเวชศาสตร์(1) ได้อธิบายถึงสาเหตุที่อาจนำไปสู่การร้องโคลิคของทารก ดังนี้
- จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก
- เด็กกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก
- เด็กไม่ได้เรอออกมา อากาศในท้องจึงก่อให้เด็กเกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง
- เด็กอยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสม
- เด็กกินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
- ครอบครัวมีความเครียด หรือความวิตกกังวลมาก (ซึ่งอาจตรงกับที่พบอุบัติการณ์โคลิดสูงในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก ครอบ ครัวที่มีลูกน้อย และในพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูง) พบว่าความเครียดของแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้
- เกิดในเด็กที่มีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน
- เกิดในเด็กที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ คือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้มากเกินไป
- เกิดในเด็กที่มีการกินอาหารพวกแป้งมากเกินไป ทำให้ลำไส้ย่อยแป้งไม่หมด จึงเหลือแป้งให้แบคทีเรีย (ในลำไส้) ย่อยแป้งที่เหลือ ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้มาก เด็กจึงแน่นอึดอัดท้อง
- ในเด็กที่มีการแพ้อาหาร หรือในเด็กที่ได้รับน้ำผลไม้บางอย่าง เช่น น้ำแอปเปิ้ล
- เด็กที่บิดา มารดา มีปัญหาทางอารมณ์
- มีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เด็ก โดยเฉพาะมีแบคทีเรียบางกลุ่มสัมพันธ์กับการเกิดอาการโคลิกซึ่งเมื่อลดแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวอาการโคลิกก็ลดลงได้(1)
การร้องโคลิคของลูกวัยทารก อาจดูเป็นการร้องที่ยาวเพราะลูกจะร้องติดต่อกันทุกวัน และอาการร้องจะค่อยดีและหายไปเองเมื่อลูกเริ่มเข้าช่วงเดือนที่ 4 เป็นต้นไป ซึ่งระหว่างนี้เป็นหน้าของคุณพ่อคุณแม่ในการรับมือกับอาการร้องโคลิกของลูก ที่สิ่งสำคัญที่ต้องขจัดให้ได้เมื่อลูกร้องออกในช่วงเวลาเดิมของแต่ละวัน คือพ่อแม่ต้องไม่เครียด และควรสลับกันดูแลลูก ไม่ควรทิ้งภาวะการดูแลไว้ที่คนใดคนหนึ่ง เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดความเครียดสะสมขึ้นกับตัวของพ่อแม่ได้
อ่านต่อ >> “ลูกร้องโคลิก ดูแลอย่างไรได้บ้าง” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่