ปัญหาการนอนหลับในเด็ก และการแก้ไข - amarinbabyandkids
ปัญหาการนอนหลับในเด็ก

ปัญหาการนอนหลับในเด็ก และการแก้ไข

Alternative Textaccount_circle
event
ปัญหาการนอนหลับในเด็ก
ปัญหาการนอนหลับในเด็ก

ปัญหาการนอนหลับในเด็ก และการแก้ไข

เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้าถึงปัญหาการนอนหลับของลูก ผู้เขียนจึงขออนุญาตหยิบยกข้อมูลบางส่วนจาก คณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[1,2,3] ที่ได้อธิบายถึงปัญหาการนอนหลับที่พบได้บ่อยในเด็ก ดังนี้…

1. การนอนหลับต่อเองไม่ได้ (Sleep onset association)

โดยธรรมชาติ คนเรามักตื่นขึ้นมาหลายครั้ง เป็นระยะเวลาสั้นๆ ในช่วงกลางคืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการนอนหลับฝัน (REM sleep หรือการหลับช่วงที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว) เรามักไม่รู้ตัว และสามารถกลับไปนอนต่อได้อย่างรวดเร็ว แต่เด็กเล็ก ตอบสนองต่อการตื่นนี้แตกต่างออกไป เด็กมักร้องไห้หรือรู้สึกไม่มั่นคงเมื่อตื่น พ่อแม่มักพยายามที่จะปลอบโยนเด็กที่กำลังกังวลและร้องขอความสนใจ มักรู้สึกว่าจำเป็นต้อง “ช่วย” ลูกให้สามารถกลับไปนอนต่อ โดยการให้อาหาร, อุ้มกล่อม, ตบก้น, กอด หรือนอนลงไปข้างๆ ลูก แต่การทำเช่นบ่อยครั้ง เป็นการทำให้ลูกเรียนรู้โดยอัตโนมัติว่า การ “ช่วย” จำเป็นต้องเกิดขึ้น ทำให้เด็กที่ได้รับการช่วยเช่นนี้ กลายเป็นไม่สามารถที่จะหลับไปโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่  แทนที่จะเรียนรู้เพื่อจะสามารถกล่อมตัวเองให้หลับ หรือเชื่อมโยงความอบอุ่นปลอดภัยกับสิ่งของที่อยู่ในเปลหรือในเตียง เช่น ผ้าห่มที่เด็กชอบหรือตุ๊กตาสัตว์นิ่มๆ

วิธีการแก้ไขปัญหา

พ่อแม่ต้องฝึกลูกทั้งตอนนอนกลางวัน เข้านอนกลางคืนหรือหลังตื่นขึ้นมากลางดึก ด้วยการสร้างความเชื่อมโยง ที่ไม่ต้องอาศัยการตอบสนองจากพ่อแม่ อาจจะเริ่มฝึกจากการเข้านอนตอนกลางคืนก่อน หรือจากการเข้านอนกลางวันก็ได้

ระหว่างการฝึกนอน ในช่วงแรกเด็กจะร้องไห้ พ่อแม่จะต้องระลึกไว้ว่า ไม่ได้กำลังทอดทิ้งลูกอยู่ ด้วยการให้กำลังใจ และสร้างความมั่นใจ ลูกจะสามารถหลับได้ด้วยตนเอง หากเลือกใช้จุกหลอกในการช่วยกล่อมลูก พึงระลึกไว้ว่า การเชื่อมโยงลูกกับวัตถุสิ่งของเพื่อช่วยให้นอนหลับ เป็นสิ่งที่ไม่แนะนำให้ทำตั้งแต่ลูกอายุหลังหกเดือนแล้ว เนื่องจากเมื่อลูกหลับ จุกหลอกก็จะหลุดจากปาก พ่อแม่จะต้องคอยตื่นใส่จุกหลอกเข้าปากให้ใหม่ซ้ำๆ การใช้ผ้าห่ม หรือตุ๊กตาสัตว์น่าจะดีกว่า เพราะเมื่อเด็กตื่นขึ้นมา และเห็นตุ๊กตาอยู่ในเตียงตลอดเวลา ก็จะสามารถหลับต่อได้[1]

2. การกิน/ดื่ม มากผิดปกติตอนกลางคืน (Nighttime eating/ drinking disorder)

“ลูกร้องกินนมทั้งคืน พ่อแม่ไม่ได้นอนเลย”

นี่เป็นสัญญาณของการกินดื่มมากผิดปกติตอนกลางคืน ซึ่งเป็นปัญหาในเด็กทารกและเด็กเล็ก “กินมากผิดปกติ” หมายถึง เด็กอายุ 2-3 เดือน ไม่ควรตื่นมากินนมเกิน 2-3 มื้อ ในระหว่างนอน แต่หากเด็กอายุเกิน 6 เดือน ไม่ควรตื่นมากินนมเลยในช่วงกลางคืน

เด็กที่หิวกลางดึก จะตื่นบ่อย และไม่สามารถหลับลงไปได้เอง โดยไม่ได้ป้อนนม เด็กที่คุ้นเคยกับการได้กินนมคืนละหลายๆครั้ง จะยิ่งหิวง่าย ทั้งๆที่ไม่ได้ขาดแคลนอาหารอะไร งานของพ่อแม่ คือสอนให้เด็กหิวในเวลาที่เหมาะสม

เด็กอายุหกเดือนขึ้นไป มักไม่ต้องการนมหรือน้ำมากกว่า 8 ออนซ์ต่อคืน ระหว่างนอนหลับ วิธีง่ายๆ ที่ใช้ดูว่าลูกกินนมหรือน้ำมากเกินไปหรือไม่ คือดูจากผ้าอ้อม หากผ้าอ้อมลูกชุ่มจนต้องตื่นขึ้นกลางดึก นั่นหมายความว่าลูกกิน/ดื่มมากผิดปกติแล้วๆ

วิธีการแก้ไขปัญหา

พ่อแม่สามารถทำได้โดย ค่อยๆ ลดจำนวนมื้อ และเพิ่มระยะเวลาระหว่างมื้อให้นานขึ้น แบบค่อยเป็นค่อยไป จะได้ผลดีกว่างดแบบปุบปับ ถ้าทารกเคยกินนมทุกหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ในคืนแรก พ่อแม่ควรรอให้ถึงสองชั่วโมงก่อน จึงจะป้อนนม และเพิ่มเวลาเป็นสองชั่วโมงครึ่ง ในคืนถัดไป เพิ่มเวลาระหว่างมื้อให้ห่างลงเรื่อยๆ จนกระทั่งทั้งคืนเด็กไม่ร้องขอนม วิธีนี้อาจใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ ถ้าลูกดูดนมขวด คุณอาจลองค่อยๆ ลดปริมาณนมในแต่ละขวดลงคืนละ 1 ออนซ์ด้วย[2]

อ่านต่อ >> วิธีช่วยให้ลูกนอนหลับดีมีคุณภาพ หน้า 3 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up