AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ฝึกความจำ ให้ลูกน้อยสมองดี ฉลาด และไม่ขี้ลืม

ฝึกความจำ

วัยเด็ก เป็นวัยที่มีความทรงจำมากมายที่กำลังพัฒนา เมื่อวัยขวบปีแรก สิ่งที่จำได้คือสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับแม่ เมื่อถึงวัย 5 เดือน ลูกน้อยก็จะนึกถึงสิ่งของที่ตัวเองชอบ เช่น ของเล่น และกิจวัตรประจำวัน  เช่น เวลาอาหาร เวลานอน ลองมา ฝึกความจำ ให้ลูกน้อยพัฒนาสมองให้ดียิ่งขึ้นกัน

การ ฝึกความจำ ในวัยขวบปีแรก

1.วัย 3-6 เดือน

คุณพ่อ คุณแม่ สามารถฝึกความจำให้ลูกน้อย โดยการให้ลูกดูอัลบั้มรูปถ่ายบ่อยๆ ให้ลูกน้อยได้เห็นหน้าญาติๆ พร้อมกับพูดคุย บอกเล่ารายละเอียด ลูกน้อยจะได้คุ้นเคย และจดจำใบหน้าเหล่านั้นได้ เมื่อพวกเขามาหา

ฝึกความจําลูก วัย 3-6 เดือน

2.วัย 6-9 เดือน

ซ่อนของเล่นให้ลูกน้อยหา อาจจะซ่อนไว้ในกล่อง ใต้ผ้าห่ม แล้วให้ลูกน้อยลองทาย ว่าของสิ่งนั้นอยู่ที่ไหน ชวนกันค้นหา ช่วยกันหา

ฝีกความจำลูกน้อย วัย 6-9 เดือน

3.วัย 9-12 เดือน

วางของเล่นชิ้นเล็กๆ ไว้ในแก้วน้ำสีทึบ โชว์ให้ลูกดูว่าอยู่ในแก้วใบไหน แล้วนำแก้วอีกใบมาวางข้างๆ กัน สลับแก้วน้ำไปมา แล้วให้ลูกน้อยทายว่าอยู่แก้วไหน

ฝึกความจำลูกน้อย วัย 9-12 เดือน

อ่านต่อ “การฝึกความจำในวัยอนุบาล” คลิกหน้า 2

การฝึกความจำในวัยอนุบาล

1.เขียนบันทึก

ฝึกความจำในวัยอนุบาล

ฝึกให้ลูกเขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ ลงไปในสมุดเป็นประจำทุกวัน ช่วยฝึกทักษะภาษาเขียน การลำดับเหตุการณ์ ช่วยให้รวบรวมความคิด ฝึกการจดจำเรื่องต่างๆ ที่พบมาในแต่ละวัน ให้ลูกน้อยเตรียมปฏิทินเอาไว้ เพื่อฝึกเขียนแผนการในแต่ละวัน

2.เล่นเกมพัฒนาความจำ

ฝึกความจำในวัยอนุบาล

หากิจกรรมสนุกๆ พัฒนาความจำให้ลูกน้อย เช่น เกมปริศนาอักษรไขว้ เกมหาคำศัพท์ เกมบิงโก เกมต่อจิ๊กซอว์ นอกจากช่วยเพิ่มความจำแล้ว ยังช่วยฝึกสมาธิ และฝึกความอดทนในการพยายามแก้ปัญหาด้วย

3.เพิ่มความจำด้วยดนตรี

ฝึกความจำในวัยอนุบาล

ดนตรีช่วยให้คลายความเครียด พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ ช่วยเพิ่มทักษะความจำที่ได้ผลดี เพราะการที่ได้ฟังเพลง ร้องเพลง เล่นดนตรี ต้องใช้ความจำการจำทำนอง เนื้อร้อง และจังหวะ การเล่นดนตรี ฝึกอ่านโน้ตดนตรี จึงช่วยฝึกความจำโดยตรง

4.ฝึกสมาธิ

ฝึกความจำในวัยอนุบาล

การฝึกสมาธิในเด็กเล็ก อาจจะไม่จำเป็นต้องให้สงบนิ่ง นั่งสมาธิ เอามือประสาน เพราะอาจจะไม่ได้ผลกับเด็กบางคน ทำให้รู้สึกอึดอัด การทำสมาธิของเด็กๆ จึงเป็นการทำสมาธิกับตนเอง เช่น นอนหนุนตักคุณพ่อ คุณแม่ ใต้ต้นไม้อย่างเงียบสงบ 15 นาที จะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด เตรียมสมองให้พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และช่วยในการจดจำได้เป็นอย่างดี

5.รับประทานอาหารเพิ่มความจำ

ฝึกความจำในวัยอนุบาล

ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเพิ่มความจำ เช่น ผัก ผลไม้ ซึ่งมีวิตามินบี 2 กรดโฟลิค ช่วยป้องกันสมองเสื่อม และเนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารทะเล ซึ่งมีธาตุเหล็ก ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายในเรื่องของความจำ

6.ออกกำลังกาย

ฝึกความจำในวัยอนุบาล

การออกกำลังกายจะช่วยเรื่องความจำเป็นอย่างดี เพราะขณะที่ลูกน้อยเคลื่อนไหว กระโดด วิ่ง จะกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้สมองพร้อมเปิดรับการเรียนรู้ใหม่ๆ อาจจะใช้กิจกรรม เช่น เต้นแอโรบิก ช่วยให้ลูกจำท่าเต้น ทำนองเพลง และจังหวะของเพลง

7.นอนหลับให้เพียงพอ

ฝึกความจำในวัยอนุบาล

ฝึกให้ลูกน้อยนอนหลับอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง และไม่ควรนอนมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ตื่นตัวน้อยลง มีผลต่อความจำ และไม่ควรนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง เพราะลูกน้อยจะขาดสมาธิ ทำให้การจดจำน้อยลงเช่นกัน

อ่านต่อ “การฝึกความจำในวัยประถม” คลิกหน้า 3

การฝึกความจำในวัยประถม

1.ทำความเข้าใจแทนการท่องจำ

ฝึกความจำในวัยประถม

ให้ลูกน้อยทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่เรียน แทนการท่องจำ การท่องจำในช่วงก่อนสอบ คือการสร้างความจำระยะสั้น ถ้าลูกน้อยมีความเข้าใจในเนื้อหาจะเป็นการฝึกความทรงจำระยะยาว คิดได้เป็นลำดับขั้นตอน มีข้อมูลอยู่ในสมองยาวนานกว่า

2.อ่านหนังสือออกเสียง

ฝึกความจำในวัยประถม

การอ่านหนังสือออกเสียงจะช่วยให้ได้เห็นเนื้อหา ได้ยินเนื้อหา และกระตุ้นความทรงจำในสมองได้ดี หรืออาจจะให้ลูกน้อยทบทวนด้วยการสอนคนอื่นให้เข้าใจ แล้วลูกน้อยจะจำไปตลอดชีวิต

3.สร้างสูตรเป็นของตัวเอง

ฝึกความจำในวัยประถม

การนำเนื้อหาที่ยาวๆ มาจดเป็นสูตรย่อสั้นๆ เป็นการฝึกทบทวนความเข้าใจในเนื้อหา และฝึกความทรงจำมากยิ่งขึ้น เมื่อลูกน้อยหยิบสูตรนั้นขึ้นมา ก็จะสามารถจำได้ว่าคืออะไร

อ่านต่อ “การฝึกความจำในวัยประถม” คลิกหน้า 5

4.รับประทานอาหารที่มี DHA

ฝึกความจำในวัยประถม

DHA เป็นสิ่งที่สำคัญต่อสมอง ช่วยในเรื่องของความทรงจำ พบได้ในอาหารประเภทปลา น้ำมันตับปลา วอลนัท ช่วยป้องกันอัลไซเมอร์

5.ออกกำลังกายสมอง

ฝึกความจำในวัยประถม

ถ้าอยากให้ลูกน้อยร่างกายแข็งแรงต้องออกกำลังกาย แต่ถ้าอยากให้ความจำดี ต้องออกกำลังกายสมอง เช่น การเล่นเกมฝึกสมอง การเล่นอักษรไขว้ เป็นต้น

6.พักผ่อนสมอง

ฝึกความจำในวัยประถม

ถ้าสมองเหนื่อยล้า ก็ควรจะพักบ้าง การนอนหลับ ฟังเพลงเบาๆ ก็จะช่วยให้สมองผ่อนคลาย หยุดคิดถึงเรื่องที่ทำให้เครียดสักพัก สมองก็จะได้รับการพักผ่อน

เครดิต: ผู้จัดการออนไลน์, เด็กดี

Save

Save