เข้าสู่ฤดูฝน ฝนก็ตกไฟก็ดับบ่อย หากน้ำนมสต็อกละลาย อย่าทิ้งค่ะ เพราะมีการทดสอบแล้วว่าน้ำนมที่ละลายเอามาฟรีซใหม่นั้น
>> ไม่มีกรณีหรือตัวอย่างนมแม่ที่มีแบคทีเรีย (เพราะในน้ำนมแม่มีสารฆ่าเชื้อหรือ anti-bacteria agents) **ไม่เสีย** แต่ก่อนนำไปให้ลูกดูดคุณแม่ก็ชิมก่อนได้ เพื่อความสบายใจ
>> วิตามินลดลงเล็กน้อย
ในส่วนของวิตามิน A คงเหลือเท่าเดิม ส่วนวิตามิน C ลดลงเหลือครึ่งหนึ่งหากปล่อยให้ละลาย 8 ชม. และเหลือ 1 ส่วน 4 เมื่อเอาไปเข้าตู้เย็นใหม่ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยระบุว่าวิตามินซี ยังเพียงพอสำหรับทารกที่เกิดครบกำหนดและทารกที่อายุมากขึ้น
>> ส่วนกรดไขมัน (ไขมันดีสร้างสมอง) ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะละลายกี่รอบ
>> น้ำนมแม่ที่ละลายในตู้เย็นถึง 8 ชม. สามารถนำมาแช่แข็งได้ใหม่
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สบายใจได้เลยว่า แม้ฝนตกหนักไฟดับนาน นมสต็อกที่ละลายในตู้เย็นและถูกนำมาฟรีซใหม่ ยังสามารถนำมาให้ลูกกินได้ ไม่เสื่อมคุณค่าแน่นอนค่ะ
หมายเหตุ ถ้าไฟดับทิ้งนมแม่ไว้ในตู้เย็นค่ะอย่าเปิดปิดตู้เย็นบ่อย เมื่อเปิดตู้ จะสูญเสียความเย็นมากขึ้น นมจะละลายมากขึ้นค่ะ
………………………………………………………..
อีกหนึ่งกรณี คือวิธีรับมือเพื่อไม่ให้นมที่แช่ไว้อยู่ไม่ละลาย
- ถ้าคุณมีเครื่องปั่นไฟก็ถือว่าโชคดีไปค่ะ เวลานี้เหมาะที่สุดที่จะเอาออกมาใช้!
- ขอใช้ตู้เย็นข้างบ้านหรือร้านค้าใกล้เคียงถ้าเขายังมีไฟฟ้าอยู่ คุณควรเขียนชื่อที่อยู่ของคุณในหีบห่อที่ใส่ถุงนมด้วยค่ะ เพื่อป้องกันการสูญหาย หรือตามหาหยิบสลับกันไป
- ถ้าคุณทราบล่วงหน้าว่าไฟจะดับ ให้หาขวดใส่น้ำไว้แล้วใช้ไว้ในช่องแข็งให้เต็มพื้นที่ พยายามเก็บนมไว้ตรงกลางช่องช่องแช่ และให้ห่างจากผนังช่องแช่ จากข้อมูลของ USDA หากไม่เปิดตู้แช่เลย ตู้แช่ที่เต็มจะรักษาอุณหภูมิไว้ได้ประมาณ 48 ชั่วโมง ส่วนตู้ที่ไม่เต็มจะอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง
- ในช่องทำความเย็น (คูลเลอร์) ใส่ของในคูลเลอร์ให้เต็มที่สุดเพื่อยืดระยะเวลาในการละลาย อัดกระดาษหนังสือพิมพ์ตามซอกต่างๆที่ว่างอยู่ คลุมคูลเลอร์ด้วยผ้าห่มเป็นอีกวิธีที่ช่วยรักษาความเย็น
- หาซื้อน้ำแข็งมาใส่ไว้ในตู้เย็น ตามช่องว่างต่างๆ
อ่านต่อ >> วิธีการเก็บรักษานมแม่ ในสถานที่เก็บ,อุณหภูมิ และระยะเวลาเก็บ
คลิกหน้า 2
วิธีการเก็บรักษานมแม่
เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ ถุงเก็บน้ำนมแม่ ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ได้ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน
- เมื่อต้องการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้ ให้ละลาย นมแม่ ที่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน (12 ช.ม.) ถ้าลูกชอบแบบเย็นๆ ก็แกว่งเป็นวงกลมเบาๆ ให้ไขมันที่แยกชั้นละลายเข้ากัน แล้วป้อนได้เลย แต่ถ้าลูกไม่ชอบก็นำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อน ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ใน นมแม่
- ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น
- นมที่เก็บในถุงเก็บนมแม่จะละลายเร็วกว่าเก็บในขวดหรือภาชนะอื่นๆ
- น้ำนมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในตู้เย็นได้ 24 ช.ม. น้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมในขวดหรือถ้วย สามารถเก็บได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น
- ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
- สามารถผสมน้ำนมแม่ที่บีบหรือปั๊มออกมาใหม่ใส่รวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ก่อนแล้วได้ภายใน 24 ช.ม.หลังจากการเก็บครั้งแรก
- ถ้าต้องการใช้นมภายใน 8 วันหลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ ถ้าต้องการแช่แข็ง ให้แช่แข็งภายใน 24-48 ช.ม. หลังจากปั๊มออกมา (ยิ่งแช่แข็งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น)
- น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว อาจมีกลิ่นหืน แต่ไม่เสีย (นอกจากมีกลิ่นรุนแรงมากและมีรสเปรี้ยว จึงจะเสีย)
หมายเหตุ
คำแนะนำในการเก็บรักษาน้ำนมแม่ข้างต้น เป็นคำแนะนำทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ สิ่งใดก็ตามที่แตกต่างไปจากคำแนะนำดังกล่าว ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละครอบครัว ถ้ากังวลมากก็ไม่ควรทำ แต่ถ้าคิดว่าน่าจะได้ ก็ทดลองทำดูได้ อาจจะใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ ก็จำไว้เป็นประสบการณ์ของตนเองค่ะ ถ้าอยากทราบว่านมเสียหรือไม่ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ชิมค่ะ
ที่มา : http://www.breastfeedingbasics.com/html/collecting_and_storing.shtml
Save