พ่อแม่มักจะตื่นเต้นกับเด็กๆในขวบปีแรกๆ และหวังว่าลูกๆของพวกเขาจะได้เริ่มต้นชีวิตที่มีความสุขและมีสุขภาพดี…แต่โชคร้ายที่มีพ่อแม่หลายคนไม่มีข้อมูลความรู้เพียงพอที่จะป้องกันลูกๆ ของพวกเขาจากพิษสารเคมี!!!
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารหรือขวดนมสำหรับทารกนั้น จะพบสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย BPA free ติดอยู่ที่บรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน เปรียบเหมือนส่วนหนึ่งของป้ายโฆษณาเครื่องหมายการค้าที่ขาดไม่ได้ และสัญลักษณ์นี้สำคัญอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ
BPA คืออะไร?
ในปัจจุบัน คงเป็นที่คุ้นหูกันดีกับคำว่า BPA Free หรือ การปลอดสาร BPA ซึ่งคำว่า BPA นี้ มีที่มาจากสาร Bisphenol A ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่นำมาใช้ในการทำพลาสติกใส สำหรับใช้เป็น ภาชนะบรรจุอาหาร ขวดน้ำ ขวดนมเด็ก ถ้วยหัดดื่ม เป็นต้น ซึ่งค้นพบตั้งแต่ปี 1891 และได้นำมาใช้กับการผลิตพลาสติกในปี 1950 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีนักวิจัยค้นพบถึงความเป็นไปได้ที่ว่า สาร BPA มีผลต่อสุขภาพในช่วงการตั้งครรภ์ และการพัฒนาการในเด็ก
ซึ่งในปี 2010 ประเทศแคนาดาได้ประกาศออกมาว่า สาร BPA เป็นสารพิษ และต่อมาในปี 2012 องค์การอาหารและยา ได้ประกาศห้ามใช้สาร BPA กับของใช้เด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวดนม ในหลายองค์กรได้เสนอให้หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่อาจมีพิษในกระป๋องของสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็ก รวมถึงของใช้เด็กด้วย ซึ่งข้อเสนอนี้ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลิตบรรจุภัณฑ์และของใช้เด็ก
โทษของ BPA
- มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้
- มีผลต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป
- เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนและไฮเปอร์แอคทีฟ
- ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคหัวใจ
- ยิ่งสะสมในร่างกายมากเท่าใดก็จะยิ่งไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกายมากขึ้น
- ที่สำคัญคือ เด็กทารกเมื่อได้รับสาร BPA ก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
- สาร BPA ยังช่วยเร่งการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิง และยังลดการผลิตสเปิร์มในผู้ชายอีกด้วย
- ในหญิงตั้งครรภ์ หากได้รับสารBPA จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ความผิดปกติของโครโมโซม อาจทำให้เกิดโรคดาวน์ซินโดรม (โรคไฮเปอร์) Hyperactivity หรือแท้ง นอกจากนี้ BPA ยังส่งผลถึงจิตใจซึ่งอาจจะทำให้แม่และลูกที่เกิดมาไม่มีความรู้สึกของสายสัมพันธ์ระหว่างกัน (Bonding)
BPA เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
BPA มีคุณสมบัติ ช่วยให้ขวดนม หรือพลาสติก มีความแข็งแรง ใส ไม่แตกง่าย แต่เมื่อบริโภคอาหารจากบรรจุภัณฑ์ที่มีสาร BPA ก็เท่ากับว่าได้รับสารเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งภาชนะที่ทำด้วยสาร BPA สามารถซึมลงไปในอาหารหรือเครื่องดื่ม ได้ เมื่อภาชนะนั้นสัมผัสความร้อน เช่น การต้ม นึ่ง หรือสเตอริไลซ์พลาสติกทำให้สารพิษหลุดและร่อนออกมาปะปนในอาหารยิ่งขึ้น สาร BPA จะแทรกซึมลงในของเหลวและอาหารที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะที่มีสาร BPA เช่น ขวดนม ขวดน้ำพลาสติก กล่องบรรจุอาหาร แล้วจึงเข้าสู่ร่างกายเมื่อรับประทานหรือดื่มเข้าไป
อ่านต่อ >> “วิธีการหลีกเลี่ยงจากสารอันตราย Bisphenol A (BPA)” คลิกหน้า 2
วิธีการหลีกเลี่ยงจากสารอันตราย Bisphenol A (BPA)
>> จากผลการวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับผลกระทบของสาร BPA โดยเฉพาะในเด็ก จึงทำให้สินค้าเกี่ยวกับของใช้เด็กหลายยี่ห้อระดับโลกได้คำนึงถึงและให้ความใส่ใจกับประเด็นนี้กันจำนวนมาก โดยหันมาผลิตของใช้เด็ก เช่น ของเล่นเด็กและขวดนม โดยใช้พลาสติกที่ปราศจากสาร BPA หรือ BPA Free กันมากขึ้น … อย่างไรก็ตามหากยังไม่มั่นใจ ก็สามารถอ่านรายละเอียดได้ว่าของใช้เด็กนั้นผลิตจากพลาสติกประเภทโพลีโพลเพลีน (Polypropylene – PP) หรือไม่ ซึ่งพลาสติกประเภทโพลีโพลเพลีนนี้ เป็นพลาสติกที่ปราศจากสาร BPA หรือ BPA Free ได้รับรองจาก FDA (Food and Drug Administration คือ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา) ให้สามารถใช้ PP ผลิตอุปกรณ์ขวดนมสำหรับเด็กอ่อนได้ ส่วนวัตถุดิบตัวเลือกชนิดอื่น ๆ แม้ว่าจะมีการรับรอง หลายชนิดยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบหาสารอื่นที่มีอันตรายเพิ่มเติม ส่วนพลาสติกที่ผสมสาร BPA เรียกว่า พลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonates – PC)
ในขวดนมหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติกประเภทรีไซเคิลที่มีตัวเลข 7 และกำกับด้วยข้อความ OTHER เนื่องจากพลาสติกชนิดนี้เป็นพวก โพลีคาร์บอเนต (polycarbonate plastic) และภาชนะพลาสติกประเภทรีไซเคิลที่มี เลข 3 ประเภท PVC ซึ่งทำให้สาร Bisphenol A จะสามารถปนเปื้อนออกมาจากภาชนะได้ถ้าภาชนะชิ้นนั้นสัมผัสกับความร้อน และหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ ภาชนะปลอดสาร Bisphenol A ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด โดยสังเกตสัญญาลักษณ์ BPA Free
รวมถึงควรหลีกเลี่ยง ผลิตภัณฑ์บรรจุเครื่องดื่ม หรืออาหาร ที่มีสัญลักษณ์ของ #3-PVC #6-PS หรือ #7-Polycarbonate แต่สามารถใช้พลาสติกที่มีสัญลักษณ์เหล่านี้ #1-PET, #2-HDPE, #4-LDPE และ #5-PP ได้อย่างปลอดภัย
อ่านต่อ >> “การเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุที่นำมาผลิตขวดนมในปัจจุบัน” คลิกหน้า 3
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุที่นำมาผลิตขวดนมในปัจจุบัน
ชนิดของพลาสติกและการนำไปใช้
- PET (PETE) หรือ Polyethylene Terephthalate พลาสติก PET เป็นขวดใสใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลมขนาด 2 ลิตร ขวดน้ำมันพืช และกระปุกเนยถั่ว
- HDPE หรือ High Density Polyethylene เป็นขวดสีขาว ทึบแสง หรือสีทึบอื่น ๆ มักใช้บรรจุน้ำดื่ม นม ยาเม็ด ผงซักล้าง น้ำยาล้างห้องน้ำ แป้งฝุ่น
- PVC หรือ Polyvinyl Chloride พลาสติกพีวีซีมักใช้เป็นท่อประปา เฟอร์นิเจอร์ ขวดน้ำ แผ่นฟิล์มถนอมอาหาร ภาชนะบรรจุน้ำสลัดและน้ำยาซักล้าง
- LDPE หรือ Low Density Polyethylene มักใช้เป็นถุงซักแห้ง ภาชนะเก็บอาหาร สารเคลือบกระป๋อง
- PP หรือ Polypropylene มักใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร อาหารทารก ฝาขวด หลอดดูดน้ำ
- PS หรือ Polystyrene มักถูกนำมาใช้ผลิตถ้วย ชาม ถาดอาหาร ภาชนะบรรจุอาหารกลับบ้าน
- Other หมายถึงพลาสติกชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากชนิดที่ 1-6 มักเป็นพวก Polycarbonate ซึ่งใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ทัพเพอร์แวร์ แกลลอนน้ำดื่ม และขวดนัลจีน (nalgene) รวมทั้งใช้ในการเคลือบด้านในของกระป๋องบรรจุอาหาร (metal can linings)
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารต่างๆ โดยเฉพาะอาหารหรือขวดนมสำหรับทารกนั้น จะพบสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย BPA free ติดอยู่ที่บรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน เปรียบเหมือนส่วนหนึ่งของป้ายโฆษณาเครื่องหมายการค้าที่ขาดไม่ได้ เพิ่อให้ผู้บริโภคได้รู้เท่าทันเกี่ยวกับพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
นอกจากภาชนะบรรจุอาหารสำหรับทารกแล้ว BPA free ยังนำไปใช้กับของเล่นพัฒนาการเด็กที่สามารถทนกับการกัดเล่น หรืออมเข้าปากของเด็กอีกด้วย รวมถึง เครื่องมือการแพทย์ เครื่องสำอาง ให้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ดังนั้น ในการแนะนำการเลือกใช้ของพลาสติกให้ปลอดภัยอาจให้สังเกตจากสัญลักษณ์ BPA free หรือกลุ่มสัญลักษณ์ประเภทของพลาสติกก็จะช่วยให้ผู้บริโภคใช้ของเครื่องใช้พลาสติกได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น
ส่วนประเทศไทยก็มีความพยายามที่จะยกเลิกการใช้สาร BPA ในการผลิตพลาสติก โดยเฉพาะขวดนมทารก แต่ก็ดูเหมือนยังต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง โดยสาร BPA ถูกห้ามใช้แค่สินค้าเครื่องสำอาง แต่ยังมีข่าวว่า มีขวดนมที่ผลิตจาก Polycarbonate วางจำหน่ายในท้องตลาดมากกว่า 80% และการสุ่มตรวจก็มักพบว่า มีสาร BPA ปนเปื้อนในน้ำนมที่ใช้ขวดนมอีกด้วย !!!
อย่างไรก็ดี คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นพลิกดูสัญลักษณ์สักนิด ให้อุ่นใจ ก่อนให้ลูกน้อยดื่มกิน ดีกว่านะคะ ด้วยความปรารถนาดีจาก Amarin Baby & Kids
อ้างอิงจาก : www.greenshopcafe.com , www.wongkarnpat.com , www.mom2kids.com , www.babyfirst.co.th
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : daily.rabbit.co.th