"ตัวเหลือง" อันตรายใกล้ตัวลูกน้อย!! เพราะดื่มนมแม่ไม่เพียงพอ - amarinbabyandkids
ตัวเหลือง

ลูกตัวเหลือง อันตรายใกล้ตัว!! ที่คุณแม่อาจไม่รู้

event
ตัวเหลือง
ตัวเหลือง

จากประสบการณ์ของคุณแม่ในเฟซบุ๊ก ที่พบว่าลูก “ตัวเหลือง” คุณแม่บางท่านบอกว่าห้ามลูกดื่มน้ำ ให้ปลุกลูกขึ้นมาดื่มนมแม่ทุก 2 ชั่วโมง แต่คุณแม่บางท่านก็บอกว่าต้องดื่มน้ำ เพราะลูกดื่มน้ำแล้วตัวไม่เหลือง คุณแม่บางท่านก็บอกว่าในน้ำนมแม่มีน้ำเพียงพออยู่แล้ว ให้เน้นดื่มนมแม่ก็พอ

อาการตัวเหลืองคืออะไร?

อาการตัวเหลืองในเด็กเกิดจากการสะสมของสารบิลิรูบินในกระแสเลือด เกิดจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว โดยทั่วไปสารบิลิรูบินที่เกิดขึ้นจะไม่ทำให้เกิดอาการตัวเหลือง เพราะตับจะเผาผลาญและกำจัดออกทางลำไส้ แต่ทารกแรกคลอดมักจะตัวเหลืองในช่วงสองสามวันแรก เนื่องจากเอนไซม์ในตับซึ่งทำหน้าที่เผาผลาญบิลิรูบินยังไม่สมบูรณ์พอ นอกจากนี้ทารกแรกคลอดมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นเม็ดเลือดแดงที่แตกตัวก็จะมีจำนวนมากกว่าด้วยเช่นกัน เป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบได้ถึง 25-50% ของทารกแรกเกิดทั้งหมดเลยทีเดียว

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด มีหลายชนิด จากหลายสาเหตุต่างกัน

1.ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด แบบปกติ อาการแสดงสามารถสังเกตได้ตั้งแต่วันที่ 2 – 3 และเห็นชัดเมื่อวันที่ 3 – 4 ซึ่งจะถือเป็นภาวะตัวเหลืองแบบปกติ ถ้าระดับบิลิรูบินไม่สูงจนเกินไป (ไม่เกิน 12 mg/dl ในทารกครบกำหนด และ ไม่เกิน 15 mg/dl ในทารกคลอดก่อนกำหนด) มีสาเหตุหลัก ดังนี้

เกิดจากปริมาณบิลิรูบินมากขึ้นจากการแตกของเม็ดเลือดแดง เพราะ ทารกแรกเกิดมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ และ เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่า ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายเยอะกว่า เกิดจากมีการดูดซึมของบิลิรูบิน จากลำไส้มีปริมาณมาก จากการที่ได้รับน้ำนมในปริมาณที่น้อย และลำไส้ยังทำงานได้ไม่ดี เกิดจากการกำจัดบิลิรูบินของตับยังไม่ดี

2.ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ที่เกิดจากจากนมแม่ พบในทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่เพียง100% โดยจะพบว่ามีสารบิลิรูบินสูงขึ้นแต่จะค่อยๆลดระดับลงเองเมื่อทารกอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้ไม่น่ากังวล เพราะเมื่อทารกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เม็ดเลือดแดงก็ไม่แตกเพิ่มขึ้น และตับก็ยังทำงานเป็นปกติ โดย ภาวะตัวเหลือง การรักษาให้งดนมแม่ ระดับบิลิรูบินจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง และถ้ากลับมาให้นมแม่ซ้ำ บิลิรูบินสูงขึ้นในบางรายแต่ต่ำกว่ารอบแรกและไม่เป้นอันตรายต่อทารกอันตราย

3.ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ที่เกิดจากการได้รับนมน้อย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงอายุ 2 – 4 วัน เกิดจากทารกดูดนมไม่เก่งประกอบกับน้ำนมแม่ยังมีไม่มากทำให้ทารกขาดน้ำและพลังงาน ทำให้มีการดูดซึมบิลิรูบินทางลำไส้มากขึ้น การรักษาภาวะนี้รักษาโดยการให้นมเสริมบ่อยขึ้นโดยอาจให้นมทุก 2 – 3 ชั่วโมง จะทำให้บิลิรูบินลดลงได้

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

4.ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ที่จากการแตกของเม็ดเลือดแดง ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกจากหมู่เลือดของแม่และของทารกไม่เข้ากัน มีความผิดปกติของรูปร่างเม็ดเลือดแดงภาวะพร่องเอนไซม์ Glucose-6-phosphate dehydrogenase (G-6-PD Deficiency) ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย โรคธาลัสซีเมีย ภาวะเลือดข้นเกินไปภาวะเลือดออกบริเวณหนังศีรษ ภาวะนี้รักษาตามสาเหตุ

5.ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ที่จากการดูดซึมบิลิรูบินทางลำไส้เพิ่มขึ้น เกิดในทารกดูดนมได้น้อย ลำไส้ของทารกมีการทำงานที่ลดลง ทารกกลืนเลือดปริมาณมากเข้าไป ภาวะลำไส้อุดตันซึ่งทำให้บิลิรูบินตกค้างและถูกดูดซึมมากขึ้น

6.ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ที่จากการกำจัดบิลิรูบินได้น้อยกว่าปกติ มีหลายสาเหตุเช่นกัน เช่น เกิดจาก ภาวะพร่องเอนไซม์ UDP-Glucuronyl Transferase, ภาวะขาดธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ท่อน้ำดีอุดตัน การได้รับยาบางชนิด

7.ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด จากการสร้างบิลิรูบินมากกว่าปกติ ร่วมกับการขับถ่ายบิลิรูบินน้อยกว่าปกติ เป็นภาวะที่พบได้บ่อย เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดา เช่น การติดเชื้อซิฟิลิส หรือ หัดเยอรมัน ภาวะขาดออกซิเจน, ทารกที่แม่เป็นเบาหวาน ภาวะหายใจลำบาก

อ่านต่อ >> สาเหตุและวิธีรักษาอาการตัวเหลืองของลูก คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up