AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ปล่อยลูกนอนคว่ำ จนเสียชีวิต !!

ปล่อยลูกนอนคว่ำ จนเสียชีวิต เรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของคุณแม่ท่านหนึ่งที่เพิ่งมีลูกน้อยวัยได้เพียง 3 เดือน แต่ต้องมาเสียไปเพียงเพราะปล่อยให้ลูกนอนคว่ำ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีเรื่องราวของคุณแม่ท่านนี้มาเป็นอุทาหรณ์เตือนใจให้หลายๆ ครอบครัวได้ระมัดระวังลูกน้อยที่บ้านกันค่ะ

 

ปล่อยลูกนอนคว่ำ จนเสียชีวิต !!

เป็นอีกหนึ่งเรื่องจริงจากแม่ที่ ปล่อยลูกนอนคว่ำ จนเสียชีวิต เรื่องจริงที่แม่แชร์มานี้เป็นของคุณแม่ ผู้ใช้เฟสบุ๊ค Sataratsamee Soda ที่อยากเตือนแม่ๆ ทุกคนที่อาจจะเผลอให้ลูกนอนคว่ำ คุณแม่ได้แชร์เรื่องไว้ตามนี้ค่ะ…

####เตือนแม่ๆ ทุกคนนะคะ ####

#การปล่อยลูกน้อยนอนคว่ำ เราคนนึงค่ะที่ปล่อยน้องนอนคว่ำตั้งแต่สะดือหลุดได้ 12 วัน น้องมีพัฒนาการดีแข็งแรงทุกอย่าง กลับหน้าเองตลอด ตั้งแต่เริ่มนอนคว่ำ จน 3 เดือนค่ะ จนน้องพลิกกลับมาหงายเอง ชูคอเอง เพราะความชะล่าใจของแม่ค่ะ พอน้องอายุได้แค่ 3 เดือนกับ 2 วัน วันนั้นแม่นั่งรีดผ้าอยู่หน้าห้องแม่เทียวดูน้องทุก 30 นาที พอเวลา 1.30 คุณแม่เข้าไปดูน้องครั้งสุดท้ายจับน้องว่าฉี่ไหม น้องก็กลับหน้าขยับตัวอยู่เลยค่ะ

และพอเวลา 02.00 แม่เข้าไปอีกครั้งเพื่อจะปลุกน้องขึ้นมากินนม จับน้องที่กำลังนอนคว่ำหน้า แต่น้องกับไม่ขยับตัว คุณแม่เริ่มใจสั่น และรีบดูว่าน้องมีอะไรปิดจะจมูกไหม แต่ไม่ค่ะ พอดูหน้าน้องกับคว่ำลงไปกับที่นอน น้องเริ่มซีด ตาโรย คุณแม่กับคุณพ่อรีบอุ้มน้องขึ้นรถ ทั้งผายปอดทั้งปั๊มหัวใจลูก ไปจนถึงโรงพยาบาล หมอก็พยายามช่วยเต็มที่ค่ะ และแล้วน้องก็ต้องจากคุณพ่อกับคุณแม่ไปค่ะ ด้วยความที่เป็นลูกคนแรกหมอช่วยยื้ออยู่ 3 ชั่วโมง เต็มค่ะ จนหมอบอกกับแม่ว่าให้ปล่อยน้องไปนะคะคุณแม่ เพราะหมอทำทุกวิถีทางแล้ว หัวใจน้องไม่ตอบสนอง เท่านั้นแหละค่ะแม่แทบล้มทั้งยืน ทำอะไรไม่ถูก เลยค่ะ พอเห็นแม่ๆ ลงรูปลูกนอนคว่ำหน้าทีไรรู้สึกกลัวทุกทีค่ะ ####อยากให้แม่ๆ ดูแลน้องอย่างใกล้ชิดอย่าละห่างสายตานะคะ เพราะบางทีเขาไม่มีเสียงร้องอะไรเลย เพื่อเตือนเรา พอจะรู้อีกทีก็สายไปแล้ว####

บทความแนะนำ คลิก >> 8 เทคนิคดี๊..ดี ฝึกลูกน้อยชันคอ เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย

จากเหตุการณ์นี้เป็นเพียงเสี้ยววินาทีที่คุณแม่ปล่อยให้ลูกนอนคว่ำอยู่คนเดียว เพราะเห็นว่าลูกพลิกคว่ำได้แล้วจึงให้นอนเล่นตามลำพัง จนกระทั่งก็เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ทำให้ต้องสูญเสียลูกไปแบบไม่คาดคิด…

อ่านต่อ ให้ลูกนอนคว่ำ หรือนอนหงาย หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

จับลูกนอนคว่ำ หรือนอนหงายดีนะ?

จับลูกนอนคว่ำ หรือจะเป็นท่านอนหงายดี เคยสงสัยกันไหมคะ? พ่อแม่มือใหม่ หรือจะมือเก่ามีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกมาแล้วก็ตาม ต้องรู้ว่าในเด็กแรกคลอดวัยทารกช่วง 1-3 เดือนแรก เป็นช่วงที่ลูกยังไม่สามารถช่วยเหลือ หรือขยับตัวพลิกคว่ำ พลิกหงายได้เอง ยังคงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากพ่อแม่ และพี่เลี้ยงเด็ก ในการช่วยจัดท่านอน ขยับพลิกคว่ำ พลิกหงาย หรือนอนในท่าตะแคง เป็นต้น อยู่ตลอดเวลา

ท่านอนของเด็กทารกจะมีอยู่ 2 ท่าที่พ่อแม่จะคุ้นเคยกันดี นั่นคือ ท่านอนหงาย กับท่านอนคว่ำ สมัยก่อนเด็กแรกเกิดคนเฒ่า คนแก่ ย่ายาย มักจะให้หลานตัวน้อยนอนหลับท่านอนคว่ำกันซะส่วนใหญ่ เพราะการ จับลูกนอนคว่ำ จะช่วยให้รูปศีรษะของเด็กทุยสวย ศีรษะจะไม่แบนจนเสียรูปทรง แต่ถ้าในปัจจุบันตามวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดท่านอนให้เด็กทารกแรกเกิด ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรให้ทารกนอนในท่านอนหงาย เพื่อป้องกันภาวะการตายเฉียบพลัน

มีการวิจัยพบว่าการนอนคว่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคการตายฉับพลันของเด็กทารกเรียกกันว่าโรค SIDS (sudden infant death syndrome)

ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการ “ให้เด็กนอนหงาย” (back to sleep) โดยแนะนำให้จัดท่านอนเด็กเป็นท่านอนหงายเสมอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 พบว่าการตายจากโรค SIDS ลดลง จากการวิจัยหลายแหล่งพบว่าการนอนคว่ำมีความเสี่ยงต่อการกดทับจมูกปากจนขาดอากาศหายใจ[1]

ข้อควรระวังในการจับลูกนอนคว่ำ!!

บทความแนะนำ คลิก >> ทารกนอนคว่ำ เสี่ยงหลับไม่ตื่น ไหลตายไม่รู้ตัว

ดังนั้นจึงแนะนำคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยทารกแรกคลอดว่า ในช่วงที่ลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่ควรจัดท่านอนให้ลูกด้วยการ จับลูกนอนคว่ำ เพราะทารกแรกเกิดยังไม่สามารถยกศีรษะ หรือตะแคงหน้าได้เอง การนอนคว่ำโดยที่ไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่ด้วย อาจทำให้ลูกขาดอากาศหายใจได้ ดังนั้น ควรเปลี่ยนจากท่านอนคว่ำมาเป็นท่านอนหงายก่อนจะดีที่สุดค่ะ

อ่านต่อ การจัดท่านอนที่เหมาะกับวัยของลูก หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ท่านอน ที่เหมาะสมกับวัยของลูก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าท่านอนสำหรับลูกตั้งแต่แรกเกิดนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการให้ลูกนอนในท่าคว่ำ หากเป็นเด็กทารกแรกเกิดต้องมีพ่อแม่ดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากลูกยังขยับคอไม่เป็น หากให้นอนในท่าคว่ำเพียงลำพังอาจขาดอากาศหายใจลงได้ ดังเพื่อให้การนอนของลูกมีคุณภาพ เราลองไปดูท่านอนที่เหมาะสมกับลูกกันค่ะ

เด็กในช่วง 0-3 เดือน ถือเป็นช่วงเวลาแบะเบาะ ที่ลูกไม่สามารถขยับร่างกายได้มากเท่าไหร่ เนื่องจากกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรง ดังนั้นการจัดท่านอนให้ลูก ควรเป็นท่านอนหงายหรือนอนตะแคง ไม่ควรให้ลูกนอนคว่ำบนที่นอน โดยที่ไม่มีใครอยู่ด้วยเด็ดขาด

เด็กในช่วง 4-6 เดือน จะสามารถชันคอได้บ้าง แนะนำให้จัดท่านอนลูก อาจเป็นท่านอนคว่ำ การนอนคว่ำของลูกในช่วงวัยระหว่างนี้เป็นการฝึกให้ลูกชันคอขึ้นได้อย่างแข็งแรง

เด็กในช่วง 6 เดือน++  เป็นช่วงที่พัฒนาการกล้ามเนื้อหลัง และคอแข็งแรงขึ้นมาก ซึ่งการจัดท่านอนให้ลูกอาจไม่ต้องเคร่งครัดมากเท่าช่วงแรกๆ เนื่องจากลูกนอนได้ทุกท่า ทั้งนอนคว่ำ นอนง่าย พลิกตะแคงซ้าย-ขวา ขยับปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการนอนของตัวเองได้อย่างอัตโนมัติ

บทความแนะนำ คลิก >> สามีนอนกรน ทำอย่างไรดี?

การนอนของลูกให้ระวังอย่าปล่อยลูกนอนบนเตียงที่สูงมาก เนื่องจากการหลับแล้วพลิกตัว อาจตกเตียงได้รับอุบัติเหตุ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันลูกจากการนอนแล้วขนาดอากาศหายใจ หรือเกิดอุบัติเหตุตกเตียง คุณพ่คุณแม่ หรือผู้ช่วยเลี้ยงลูก ควรสลับเปลี่ยนเข้ามาดูแลลูกขณะนอนหลับ ไม่ควรปล่อยให้ลูกเด็กนอนเพียงลำพังเด็ดขาด …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ปัญหาการนอนหลับในเด็ก และการแก้ไข
เคล็ดลับ ฝึกลูกนอนเป็นเวลา ช่วยพัฒนาการดี


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟสบุ๊ค คุณSataratsamee Soda
1ผศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. เด็กนอนอย่างไรปลอดภัย. www.doctor.or.th