ปล่อยลูกนอนคว่ำ จนเสียชีวิต !!! - amarinbabyandkids

ปล่อยลูกนอนคว่ำ จนเสียชีวิต !!

Alternative Textaccount_circle
event

จับลูกนอนคว่ำ หรือนอนหงายดีนะ?

จับลูกนอนคว่ำ หรือจะเป็นท่านอนหงายดี เคยสงสัยกันไหมคะ? พ่อแม่มือใหม่ หรือจะมือเก่ามีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกมาแล้วก็ตาม ต้องรู้ว่าในเด็กแรกคลอดวัยทารกช่วง 1-3 เดือนแรก เป็นช่วงที่ลูกยังไม่สามารถช่วยเหลือ หรือขยับตัวพลิกคว่ำ พลิกหงายได้เอง ยังคงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากพ่อแม่ และพี่เลี้ยงเด็ก ในการช่วยจัดท่านอน ขยับพลิกคว่ำ พลิกหงาย หรือนอนในท่าตะแคง เป็นต้น อยู่ตลอดเวลา

ท่านอนของเด็กทารกจะมีอยู่ 2 ท่าที่พ่อแม่จะคุ้นเคยกันดี นั่นคือ ท่านอนหงาย กับท่านอนคว่ำ สมัยก่อนเด็กแรกเกิดคนเฒ่า คนแก่ ย่ายาย มักจะให้หลานตัวน้อยนอนหลับท่านอนคว่ำกันซะส่วนใหญ่ เพราะการ จับลูกนอนคว่ำ จะช่วยให้รูปศีรษะของเด็กทุยสวย ศีรษะจะไม่แบนจนเสียรูปทรง แต่ถ้าในปัจจุบันตามวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดท่านอนให้เด็กทารกแรกเกิด ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรให้ทารกนอนในท่านอนหงาย เพื่อป้องกันภาวะการตายเฉียบพลัน

มีการวิจัยพบว่าการนอนคว่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคการตายฉับพลันของเด็กทารกเรียกกันว่าโรค SIDS (sudden infant death syndrome)

ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการ “ให้เด็กนอนหงาย” (back to sleep) โดยแนะนำให้จัดท่านอนเด็กเป็นท่านอนหงายเสมอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 พบว่าการตายจากโรค SIDS ลดลง จากการวิจัยหลายแหล่งพบว่าการนอนคว่ำมีความเสี่ยงต่อการกดทับจมูกปากจนขาดอากาศหายใจ[1]

ข้อควรระวังในการจับลูกนอนคว่ำ!!

  • ห้ามจัดท่านอนคว่ำให้ลูกขณะนอนหลับ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ SIDS
  • ไม่ควรมีสิ่งของนุ่มนิ่ม เช่น ตุ๊กตา ผ้าห่ม หมอนข้าง ฯลฯ วางอยู่ใกล้ๆ ขณะลูกนอนคว่ำ เพราะลูกอาจเผลอนอน ทับแล้วหายใจไม่ออก เนื่องจากยกศีรษะขึ้นยังไม่เป็น
  • ไม่แนะนำให้ฝึกลูกนอนคว่ำมากกว่าวันละ 2-3 ครั้ง และแต่ละครั้งไม่ควรนานมากกว่า 5-10 นาที
  • ไม่ควรจับลูกนอนคว่ำภายใน 1 ชั่วโมง หลังทานนม เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกอาเจียนออกมา
บทความแนะนำ คลิก >> ทารกนอนคว่ำ เสี่ยงหลับไม่ตื่น ไหลตายไม่รู้ตัว

ดังนั้นจึงแนะนำคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยทารกแรกคลอดว่า ในช่วงที่ลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่ควรจัดท่านอนให้ลูกด้วยการ จับลูกนอนคว่ำ เพราะทารกแรกเกิดยังไม่สามารถยกศีรษะ หรือตะแคงหน้าได้เอง การนอนคว่ำโดยที่ไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่ด้วย อาจทำให้ลูกขาดอากาศหายใจได้ ดังนั้น ควรเปลี่ยนจากท่านอนคว่ำมาเป็นท่านอนหงายก่อนจะดีที่สุดค่ะ

อ่านต่อ การจัดท่านอนที่เหมาะกับวัยของลูก หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up