รู้ทัน..ไวรัสลงกระเพาะ และลำไส้ในเด็ก
ไวรัสลงกระเพาะ โรต้า เด็กท้องเสีย

รู้ทัน…ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ในเด็ก

event
ไวรัสลงกระเพาะ โรต้า เด็กท้องเสีย
ไวรัสลงกระเพาะ โรต้า เด็กท้องเสีย

คุณพ่อคุณแม่หลายคนที่มีลูกน้อยเคยเป็นโรค “ไวรัสลงกระเพาะ” อาจสงสัยว่าถ้าเป็นแล้ว ลูกจะมีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่ หรือมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคไวรัสลงกระเพาะได้หรือไม่? มาดูคำตอบจากคุณหมอกันค่ะ

Q : ตอนนี้ลูกอายุจะ 1 ขวบแล้วค่ะ ตอนช่วง 7-8 เดือน เขาเคยท้องเสียและอาเจียนด้วย หมอบอกว่าเป็นไวรัสลงกระเพาะ  แต่ช่วงนี้ลูกท้องเสียบ่อยอีก จะกลับมาเป็นโรคเดิมได้หรือไม่ และถ้าจะให้ลูกได้รับวัคซีนไวรัสโรต้าจะช่วยได้หรือไม่คะ

ในกรณีที่มีอาการอาเจียนหรือถ่ายเหลวรุนแรง ปวดท้องมาก หมอจะตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคดูว่าอาจเป็นโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันหรือไม่ เช่น โรคไส้ติ่งอักเสบ โรคลำไส้อุดตัน โรคลำไส้กลืนกัน โรคแพ้นมวัว เป็นต้น

บางครั้งการอาเจียนท้องเสียบ่อยๆ อาจเกิดจากการแพ้อาหารที่ลูกกิน เรียกว่าเป็นการแพ้แบบแอบแฝงหรือว่าแพ้สะสม โดยลูกเคยกินอาหารชนิดนั้นมาก่อน วันดีคืนดี วันร้ายคืนร้ายก็จะสำแดงอาการแพ้ออกมาเป็นอาการอาเจียน ท้องเสีย พอได้รับการรักษาตามอาการ  อาการก็ดีขึ้น พอกลับไปกินอาหารที่แพ้อีกก็แสดงอาการผิดปกติได้อีก  หากงดอาหารที่แพ้ได้ตลอดอาการก็จะหายไปไม่เป็นอีก ส่วนใหญ่อาการแพ้อาหารจะดีขึ้นเมื่อโตขึ้น

ไวรัสลงกระเพาะ โรต้า เด็กท้องเสีย

ส่วนโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ (viral gastroenteritis) ก็อาจมีโอกาสเป็นอีกได้ ถ้าหากได้รับเชื้อไวรัสคนละสายพันธุ์กับที่เคยเป็น เพราะมีเชื้อไวรัสหลายสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคนี้ โดยการติดต่อของเชื้อไวรัส เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ จากการคลุกคลีกับผู้ป่วยโดยตรงหรือการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้ออยู่แล้วเอามือเข้าปาก โดยหลังการสัมผัสเชื้อโรคจนกระทั่งแสดงอาการอาจใช้เวลาสั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงจนถึง 2 วัน

อาการของโรค

เริ่มจากอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีไข้ต่ำๆ หรือมีไข้สูงก็ได้ เบื่ออาหาร ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีมูกแต่ไม่มีเลือด กลิ่นไม่เหม็นคาว ส่วนใหญ่มีอาการ 3 – 7 วัน แต่บางรายอาจนานถึง 2 สัปดาห์ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับภูมิต้านทาน บางคนรุนแรงน้อย อาเจียนไม่กี่ครั้ง ให้ยากินระงับอาเจียนก็ดีขึ้น แต่บางคนต้องฉีดยาหรือนอนโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด

อ่านต่อ “สาเหตุของโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ และวิธีดูแลลูก” คลิกหน้า 2

banner300x250-1

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up