AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เช็กเลย! ตารางวัคซีน 2561 ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่เช็กได้เลย นี่คือ กำหนดการให้วัคซีน กับ ตารางวัคซีน 2561 สำหรับเด็กแรกเกิด – 12 ปี ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดว่าเด็กทุกคนต้องฉีด

วัคซีน ไม่ใช่ยารักษาโรค แต่การให้วัคซีนแก่เด็ก ถือเป็นการป้องกันโรคติดต่อในเด็ก ที่สามารถทำอันตรายให้พิการหรือเสียชีวิตได้ หน้าที่ของวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรค โดยสร้างขึ้นมาจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคชนิดนั้นๆ ทำหน้าที่กระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งนี้การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน เป็นกลวิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง และมีความคุ้มค่ามากที่สุด ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ได้ใช้การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นเครื่องมือป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญอย่างได้ผลดียิ่ง เช่น วัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบบี โรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้สมองอักเสบเจอี และพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

กลุ่มเป้าหมายของการฉีด วัคซีน 2561

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันนั้น กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ “เด็ก” จึงมีการกำหนดแผนการให้บริการวัคซีน หรือ “ตารางการรับวัคซีน/ตารางวัคซีน/ตารางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน (Immunization schedules)” ของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศต่าง และของประเทศไทย (ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะมีตารางวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขแตกต่างกันตามลักษณะของโรคต่างๆของแต่ละประเทศนั้นๆ) และยังมีตารางวัคซีนที่แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยอีกด้วย

โดยหลังจากที่คุณแม่คลอดน้องแล้ว คุณหมอจะทำการนัดเข้ามาอีกครั้งเพื่อตรวจสุขภาพลูกน้อยอีกครั้งหลัง 1 เดือน พร้อมกับตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติใดหรือไม่ ซึ่งทางโรงพยาบาลจะมอบสมุดประจำตัวบันทึกสุขภาพ พร้อมบันทึกวัคซีนต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อลูกน้อยซึ่งวัคซีนจำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดตามวัยไว้ให้

อ่านต่อ >> ตารางวัคซีน ปี 61 ลูกต้องฉีดอะไรบ้าง” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ความสำคัญการให้วัคซีนแก่เด็ก

การให้วัคซีนแก่เด็ก มีความสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อโรคต่างๆ การให้วัคซีนในเด็กมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคติดเชื้อที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขไทย ได้กำหนดแนวทางและสนับสนุนการให้วัคซีนแก่เด็กไทย ในปี 2561 จำนวน 9 ชนิด เพื่อป้องกัน 11 โรค อันได้แก่

ซึ่งเด็กไทยจะได้รับบริการวัคซีนเหล่านี้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และกำหนดการให้วัคซีน ปี 2561 สำหรับเด็กแรกเกิด – 12 ปี ของกระทรวงสาธารณสุขก็ได้มีรายละเอียดออกมาแล้ว ซึ่งในปีนี้ได้มีการยกเลิกวัคซีนไข้เลือดออกไปแล้ว ดังภาพ ตารางวัคซีน ด้านล่างนี้…

ตารางวัคซีน 2561 สำหรับเด็กแรกเกิด – 12 ปี

(คลิกที่ภาพ เพื่อขยายดูข้อมูล ตารางวัคซีน 2561 ขนาดใหญ่!)

ขอบคุณข้อมูลจากภาพจาก : แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค

อ่านต่อ >> “ตารางข้อมูลสำหรับเด็กที่ได้รับวัคซีนล่าช้า” คลิกหน้า 3


ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

 

โดยทางกระทรวงสาธารณสุขยังได้เพิ่มข้อมูลสำหรับเด็กที่ได้รับวัคซีนล่าช้าด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถเซฟ ตารางวัคซีน 2561 เก็บไว้เลยนะคะ จะได้ไม่พลาดค่ะ พาลูกน้อยไปรับวัคซีนได้ตรงเวลาครบถ้วน

ตารางวัคซีน 2561 สำหรับเด็กที่มารับวัคซีนล่าช้า

(คลิกที่ภาพ เพื่อขยายดูข้อมูล ตารางวัคซีน 2561 ขนาดใหญ่!)

ขอบคุณข้อมูลจากภาพจาก : แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค

ทั้งนี้ถ้าครบระยะเวลาการฉีดวัคซีนของลูกวัย 6 เดือนแล้ว แต่คุณแม่ลืมพาลูกไปฉีดซ้ำ ไม่ทราบว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันในร่างกายหรือไม่ แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด ได้ให้คำอธิบายไว้ ดังนี้…

วัคซีนพื้นฐานของลูกวัย 6 เดือน คือเข็มกระตุ้นป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ และไวรัสตับอักเสบบี หรือบางคนอาจเลือกรับวัคซีนชนิดรวม 6 โรคโดยเพิ่มอีก 1 โรคในเข็มเดียวกัน คือป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ นอกจากนี้ยังมีวัคซีนทางเลือกอีก 2 ชนิดคือ โรต้าไวรัส และไอพีดี

คำถามที่เกิดขึ้นเมื่อ ลืมฉีดวัคซีน คือ

1. จำเป็นต้องเริ่มต้นฉีดใหม่ตั้งแต่ต้นหรือไม่?

คำตอบ คือ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ ให้นับต่อไปได้เลย

2. จะทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นไม่ดีหรือไม่?

คำตอบ คือ ยังขึ้นดีเหมือนเดิม ขอเพียงแต่ต้องฉีดให้ครบตามจำนวนที่กำหนด จึงควรรีบไปฉีดทันทีที่นึกได้ เพื่อไม่ให้หลงลืมอีก

3. มีอันตรายจากการฉีดวัคซีนช้าเกินไปหรือไม่?

คำตอบ คือ วัคซีนตัวอื่นๆ ไม่มีปัญหายกเว้นวัคซีนโรต้า ไม่ควรนานจนกระทั่งลูกมีอายุเกิน 32 สัปดาห์ หรือประมาณ 8 เดือน เนื่องจากวัคซีนตัวนี้ยังไม่มีข้อมูลการรับรองความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพของวัคซีนในเด็กที่อายุเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต้องรอผลการศึกษาวิจัยต่อไป

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด