AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน ให้ครบ ป้องกันลูกป่วย

กรมควบคุมโรคเตือนคุณพ่อ คุณแม่ให้พาลูกน้อยแรกเกิด – 4 ขวบ ฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน ให้ครบ เพราะพบผู้ป่วยโรคไอกรนต่อเนื่องในภาคใต้ และพบประปรายในพื้นที่อื่นๆ จากการเฝ้าระวังพบว่า ตั้งแต่ 1 ม.ค.-11 ส.ค. 59 พบผู้ป่วย 47 คน จากจังหวัดยะลา 29 คน นครราชสีมา 3 คน และอื่นๆ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากเด็กแรกเกิด – 4 ขวบ รองลงมาคือ 5-14 ปี และ 25-34 ปี ภาคที่เป็นมากที่สุดคือภาคใต้ รองลงมาคือภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยภาคเหนือยังไม่พบผู้ป่วย และคาดว่าจะพบผู้ป่วยต่อเนื่อง จึงขอแนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่พาลูกหลานไปฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด และถ้ามีอาการไอมาก ไอเป็นชุด หรือไอนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ ให้รีบพบแพทย์ เพื่อตรวจและรับการรักษาทันที หรือถ้าสงสัยสามารถโทรไปสอบถามข้อมูลได้ที่ 1422

กระทรวงสาธารณะสุข เตือนถึงโรคไอกรนด้วยเช่นกัน ว่าเป็นโรคที่อันตราย เสี่ยงโรคแทรกซ้อน และอาจทำให้ถึงชีวิต โดยเผยว่ามีเด็กไทยป่วย และเสียชีวิตด้วยโรคไอกรน จึงอยากให้พาลูกหลานไปฉีดวัคซีน โดยเฉพาะครอบครัวที่ต้องย้ายตลอด เช่น ครอบครัวที่ทำงานการเกษตร อุตสาหกรรม รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่พาลูกหลานมาทำงานด้วย

อ่านต่อ “ฉีดวัคซีนป้องกันไอกรนให้ครบ ป้องกันลูกน้อยป่วย” คลิกหน้า 2

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดได้กับทุกคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค ทุกเพศ ทุกวัย ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งได้พัฒนาเป็นวัคซีนรวม 1 เข็ม สามารถป้องกันโรคได้ 3 โรค คือ คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก เป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กๆ ทุกคนต้องฉีด โดยฉีด 5 ครั้ง คือ อายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 1 ขวบครึ่ง และ 4 ขวบ ถ้าได้รับวัคซีนครบจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคไอกรนน้อยมาก หรือถ้าป่วยอาการจะไม่รุนแรง เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันบางส่วนที่ได้จากวัคซีน

คุณหมอกล่าวต่อว่า ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ป่วยเป็นไอกรน มักจะมีอาการรุนแรง เพราะระดับภูมิต้านทานโรคยังน้อย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบ ปอดบวม เช่นเมื่อปี 2556 ที่มีผู้ป่วย 46 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ โดยเฉพาะเด็กอายุ 1-3 เดือน พบประมาณ 33% และพบเด็ก 2 เดือนเสียชีวิต 2 คน

คนที่ 1 เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนคือปอดอักเสบ ได้รับการฉีดวัคซีนรวมเพียง 1 ครั้ง ทำให้ร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้

คนที่ 2 เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนคือสมองอักเสบ ซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีน เนื่องจากป่วยก่อนวันฉีดวัคซีน

อ่านต่อ “สาเหตุของโรคไอกรน และอาการของโรคไอกรน” คลิกหน้า 3

สาเหตุของโรคไอกรน

ไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ส่วนใหญ่เด็กจะติดเชื้อจากผู้ใหญ่ในครอบครัวที่มีการติดเชื้อไอกรน แต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ถ้าลูกน้อยได้รับภูมิคุ้มกันมาจากแม่ไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้มีอาการรุนแรง และเสียชีวิต โดยทั่วไปโรคนี้ในวัยผู้ใหญ่จะไม่แสดงอาการ ทำให้ไม่มีอาการไอกรน จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน

ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 6-20 วัน ที่พบบ่อย 7-10 วัน ถ้าสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค

อาการของโรคไอกรน

นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ และเกิดอาการไอ ไอเป็นชุดๆ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จนทำให้เด็กหายใจไม่ทัน มีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู๊ป สลับกับการไอเป็นชุดๆ สามารถติดต่อกันได้จากการไอ จาม เมื่อพบว่าลูกน้อยไอผิดปกติให้รีบรักษาโดยด่วน บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน

1.สัปดาห์ที่ 1 เด็กจะเริ่มมีน้ำมูก ไอ เหมือนโรคหวัดธรรมดา มีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล ยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่จะสังเกตได้ว่าไอนานเกิน 10 วัน โดยไอแห้งๆ

  1. สัปดาห์ที่ 3 ไอเป็นชุดๆ ไม่มีเสมหะ เริ่มไอกรน ไอถี่ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง หายใจเข้าดังวู๊ป

อ่านต่อ “สาเหตุของโรคไอกรน และอาการของโรคไอกรน” คลิกหน้า 4

วิธีการป้องกันโรคไอกรน

การป้องกันการเสียชีวิตในภาวะนี้ทำได้โดยต้องพาลูกน้อยไปโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มป่วย เพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาได้ทันท่วงที เพราะมียาปฏิชีวนะรักษาได้ และลดโรคแทรกซ้อน ทำให้รักษาชีวิตไว้ได้

1.พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนตามที่กำหนดเอาไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กให้ครบตามช่วงวัย

2.หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปในสถานที่ที่แออัด หรือพื้นที่ที่มีโรคระบาด

3.ถ้าย้ายที่อยู่บ่อย เช่น รับจ้างก่อสร้าง ทำงานการเกษตร ควรพาลูกไปฉีดวัคซีนที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

การดูแลรักษาลูกน้อยเมื่อเป็นโรคไอกรน

1.ให้ลูกน้อยนอนพักผ่อน

2.ดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ

3.อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี

4.ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 6-10 สัปดาห์

เครดิต: H focus เจาะลึกระบบสุขภาพ, กระทรวงสาธารณะสุข, Eduzones