AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ภาวะพังผืดใต้ลิ้นของลูกแก้ไขได้

 

ตั้งแต่วินาทีแรกที่ลูกคลอดออกมาพยาบาล กุมารแพทย์ จะเช็กความสมบูรณ์ของลูกว่ามีปัญหาอะไรหลังคลอดหรือไม่ หาก ไม่มีก็สามารถให้ลูกเข้าเต้ากินนมแม่ได้ทันที ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีอาการหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกทุกคนนั่นคือภาวะ พังผืดใต้ลิ้น ที่หากไม่รักษาตั้งแต่แรก อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวทารกได้ในระยะสั้นและระยะยาว

 

พังผืดใต้ลิ้น คืออะไร?

มีคุณแม่ที่พึ่งคลอดลูกได้ 2 เดือนกว่า และพบว่าว่าลูกมีภาวะพังผืดใต้ลิ้นเกิดขึ้น แต่ไม่ได้ให้คุณหมอตัดออก เนื่องจากกลัวว่าลูกจะเจ็บ แต่ก็กังวลว่าจะมีผลเสียต่อลูกในอนาคต จึงอยากทราบว่าควรที่จะตัดพังผืดใต้ลิ้น ออกไปหรือไม่?

เพื่อให้อีกหลายๆ ครอบครัว ที่มีลูกแรกคลอด แล้วพบว่าลูกมีอาการของพังผืดเกิดขึ้นใต้ลิ้น และสงสัยว่าคืออะไร ควรตัดออกดีไหม ไปทำความเข้าใจพร้อมกันดังนี้ค่ะ

พังผืดใต้ลิ้น (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie) คือเยื่อบางๆ ที่ยึดบริเวณด้านล่างของโคนลิ้นติดไว้กับพื้นล่างของช่องปาก ใกล้ๆ บริเวณนี้จะมีกล้ามเนื้อ เส้นเลือด และระบบน้ำเหลืองที่ส่งไปเลี้ยงที่ลิ้น ถ้าเยื่อดังกล่าวหนาหรือสั้นเกินไป จะทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้การดูดนมแม่เป็นไปได้ยาก เพราะการดูดนมแม่ต้องใช้ลิ้นแลบออกมาและรีดน้ำนมจากบริเวณลานนมเข้าปาก

แต่ถ้าเป็นการดูดนมขวดจะไม่มีปัญหา เพราะเป็นการขยับเหงือกเท่านั้น เมื่อลูกดูดนมแม่ลำบาก จะส่งผลให้น้ำหนักตัวไม่ขึ้น เด็กไม่ชอบดูดนมแม่ ดูดไปหลับไปเพราะเมื่อยลิ้น หรือขอดูดนมตลอดเวลาเพราะได้น้ำนมไม่พอ แม่มีปัญหาหัวนมแตกและเจ็บมาก

ผลของลิ้นติดต่อทารก ปกติภาวะลิ้นติดจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเด็กอายุ 2-3 ปี แต่ในเด็กเล็กอาจเกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น ดูดนมไม่ได้ดี อมหัวนมแล้วมักหลุด น้ำหนักตัวไม่ค่อยขึ้นจากการได้น้ำนมไม่พอ แม่เจ็บหัวนมหรือหัวนมเป็นแผล แม่สร้างน้ำนมน้อยลงๆ   ซึ่งเด็กกลุ่มนี้อาจจะต้องได้รับการแก้ไขโดยการผ่าตัดที่โดยเเพทย์เฉพาะทาง

อ่านต่อ >> ใต้ลิ้นลูกมีพังผืด ต้องได้รับการแก้ไขอย่างไร? หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

พังผืดใต้ลิ้น ที่มีข้อบ่งชี้ว่าเด็กมีลิ้นติดที่ควรได้รับการแก้ไข

  1. เจ็บหัวนมหรือมีร่องรอยฟกช้ำหรือเป็นแผล
  2. หัวนมผิดรูปไป หลังจากให้ลูกดูดนมแล้ว
  3. มีรอยกดหรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังลูกดูดนมแล้ว
  4. ลูกมักดูดไม่ได้ หรือดูดแล้วหลุด เลยทำให้ดูดได้แต่ลม
  5. ได้ยินเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากปากลูกขณะดูดนมแม่
  6. น้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้นหรือขึ้นช้า

อาการแสดง  

  1. ลูกแลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปากหรือเหงือกบน
  2. ไม่สามารถกระดกปลายลิ้นขึ้นไปสัมผัสเพดานปากได้
  3. ไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นไปด้านข้างได้
  4. เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นจะแบนไม่มน หรือเป็นเหลี่ยม ไม่แหลมมนอย่างทั่ว ๆ ไป
  5. ปลายลิ้นอาจเป็นร่องหยักเข้ามา หรือเป็นรูปหัวใจ

 

เมื่อลูกดูดนมแม่ลำบาก จะส่งผลให้น้ำหนักตัวไม่ขึ้น เด็กไม่ชอบดูดนมแม่ ดูดไปหลับไปเพราะเมื่อยลิ้น หรือขอดูดนมตลอดเวลาเพราะได้น้ำนมไม่พอ แม่จะมีปัญหาหัวนมแตกและเจ็บมาก ดังนั้นต้องขอบคุณการรณรงค์เรื่องนมแม่ เพราะทำให้วินิจฉัยภาวะพังผืดใต้ลิ้นได้เร็วขึ้น มิฉะนั้นอาจไม่ทราบว่าลูกเป็น จนถึงเวลาที่ลูกพูด จะมีปัญหาพูดไม่ชัด ร.เรือ ล.ลิง และตัวควบกล้ำ เพราะกระดกลิ้นได้ไม่ดี

อ่านต่อ >> การรักษาเมื่อพบว่าใต้ลิ้นลูกมีพังผืด หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

การรักษาภาวะพังผืดใต้ลิ้น

ในเด็กทารกเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ให้ความสำคัญและมีการพัฒนามากขึ้น  ในอดีตเราใช้การผ่าตัด   ซึ่งเด็กทุกรายจำเป็นต้องดมยาสลบ ทำให้สร้างความวิตกกังวลแก่พ่อแม่ของเด็กอย่างมาก  แม้ทางการแพทย์จะมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยต่อเด็กทารกก็ตาม  แต่ก็อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ  อีกทั้งจะต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลต่ออย่างน้อย 2 – 3 วัน ปัจจุบันเราได้ประยุกต์วิธีการผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่  ซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นวิธีที่ปลอดภัย  และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับการรักษาด้วยการดมยาสลบ และที่สำคัญที่สุดคือ หลังผ่าตัดแล้ว ทารกสามารถกลับมาดูดนมแม่ได้ทันที และไม่ต้องกังวลเรื่องแผลผ่าตัด   ซึ่งจะหายเองภายใน สัปดาห์  มีคุณแม่หลายท่านสงสัยว่าผ่าตัดแล้ว  ลิ้นจะยาวขึ้นมั้ย คำตอบคือไม่  แต่จะทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นเป็นไปตามปกติคือ ไม่ติด เพราะเป็นการตัดเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากให้พอเหมาะอย่างไรก็ตาม ภาวะพังผืดใต้ลิ้นมีแนวโน้มที่จะยืดออกได้เอง หากยังไม่มีปัญหาการดูดนมแม่  แพทย์จะทำการนัดมาตรวจเป็นระยะๆ เนื่องจากลิ้นเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งในการพูด  โดยเฉพาะปลายลิ้นที่ต้องช่วยในขณะออกเสียงควบกล้ำ  ดังนั้นในเด็กโตที่มีพังผืดยึดมาถึงบริเวณปลายลิ้นก็อาจพูดไม่ได้  พูดช้า  และมีปมด้อยได้

 

 

อย่างไรก็ตาม ภาวะพังผืดใต้ลิ้นมีแนวโน้มที่จะยืดออกได้เอง หากยังไม่มีปัญหาการดูดนมแม่  แพทย์จะทำการนัดมาตรวจเป็นระยะๆ เนื่องจากลิ้นเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งในการพูด โดยเฉพาะปลายลิ้นที่ต้องช่วยในขณะออกเสียงควบกล้ำ  ดังนั้นในเด็กโตที่มีพังผืดยึดมาถึงบริเวณปลายลิ้นก็อาจพูดไม่ได้  พูดช้า  และมีปมด้อยได้

อ่านต่อ >> ปัญหาการพูดของลูกจากการที่มีพังผืดใต้ลิ้น หน้า 4

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

พังผืดใต้ลิ้น กับปัญหาการพูดของลูก

ในลูกวัยทารกที่พบว่าตั้งแต่แรกเกิดมีภาวะของใต้ลิ้นมีพังผืดเกิดขึ้น หากไม่ได้รับการผ่าตัดออกตั้งแต่ต้น ในช่วงระยะแรกอาจมีผลกระทบต่อการดูดนมแม่จากเต้า นั่นเพราะพังผืดที่ยึดอยู่ใต้ลิ้น ทำให้ลูกไม่สามารถขยับปาก และใช้ลิ้นในการดันใต้ฐานนมแม่ไม่ถนัด ทำให้ลูกดูดนมแล้วปากหลุดจากเต้านมตลอดเวลา และแม่ก็จะเจ็บระบมเต้านม

ส่วนผลกระทบต่อตัวลูกในระยะยาว คือ เมื่อลูกโตขึ้น และยังมีพังผืดยึดมาถึงบริเวณปลายลิ้น ในเด็กบางคนอาจมีปัญหาพูดไม่ได้ พูดช้า และพูดไม่ชัด โดยเฉพาะการออกเสียงตัวควบกล้ำ  ร.เรือ ล.ลิง ที่สำคัญการเข้าสังคมกับเพื่อนๆ ลูกอาจถูกล้อเลียน จนเกิดเป็นปมด้อยขึ้นได้

 

Must Read >> พังผืดใต้ลิ้น ทารก สาเหตุทำลูกดูดนมแม่ยาก

 

ดังนั้นเมื่อคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกอาการผิดปกติในการดูดนม ควรปรึกษากุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที ในการตรวจวินิจฉัยว่าลูกมีพังผืดใต้ลิ้นหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากพบว่าลูกมีพังผืดใต้ลิ้น ปัจจุบันสามารถรับการรักษาได้ทันทีตั้งแต่ลูกยังอยู่ในวัยทารก โดยแพทย์ที่มีความชำนาญจะผ่าตัดให้ซึ่งใช้เวลาไม่นาน และหลังจากผ่าตัดเสร็จ ลูกก็สามารถดูดนมแม่ได้ทันที และเมื่อลูกถึงวัยที่ต้องพูด อ่าน ออกเสียง ก็จะสามารถทำได้ดีเป็นไปตามพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัยค่ะ

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ลูกตัวเหลือง อันตรายใกล้ตัว!! ที่คุณแม่อาจไม่รู้
ไขทารก มีประโยชน์กับลูกหรือไม่ ทำไมต้องกำจัด?
ผดร้อนในทารก อาการทางผิวหนังจากอากาศร้อน

 


บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.breastfeedingthai.com