ปัญหาผิวหนัง ยอดฮิตของลูกเบบี๋ รับมือได้ ง่ายนิดเดียว - amarinbabyandkids
ปัญหาผิวหนัง

ปัญหา “ผิวหนัง” ยอดฮิตของลูกเบบี๋ รับมือได้

event
ปัญหาผิวหนัง
ปัญหาผิวหนัง

วัยทารกเป็นช่วงที่ระบบต่างๆ ของร่างกายลูกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ลูกจึงป่วยหรือมีปัญหามากมาย ให้คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกต และดูแลอยู่บ่อยๆ ไม่เว้นแม้แต่ ปัญหาผิวหนัง บทความนี้เราจะมาเจาะลึกโรค และปัญหาผิวที่พบบ่อยของลูกวัยเบบี๋ และเทคนิคดูแลลูกน้อยให้มีผิวสวย

แก้ ปัญหาผิวหนัง ให้ลูกน้อย

1.โรคสะเก็ดขุย หรือสะเก็ดน้ำเหลืองที่หนังศีรษะ

มักจะนิยมเรียกว่า ผื่นฮอร์โมน โดยมีชื่อเป็นทางการว่า Seborrheic Dermatitis ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด

อาการ มีขุยมันสีขาว หรือสะเก็ดเหนียวสีเหลืองกระจายทั่วหนังศีรษะ หรือเป็นกระจุกอยู่บริเวณกระหม่อมด้านหน้า โดยไม่มีอาการผมร่วง บางรายอาจกระจายมาที่ไรผม ใบหน้า คิ้ว หรือหลังหูได้ มักมีอาการตั้งแต่อายุ 3 – 12 สัปดาห์ และหายภายในไม่กี่สัปดาห์ หรือเมื่ออายุ 3 – 4 เดือน

การรักษา สามารถใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันมะพร้าวทานวดบริเวณที่เป็นขุย ทิ้งไว้ 10 – 15 นาที แล้วสระผมด้วยแชมพูอ่อนสำหรับเด็ก จะช่วยทำให้สะเก็ดหลุดลอกออก ถ้ามีผื่นแดงบริเวณสะเก็ด หรือมีสะเก็ดมาก ควรพาไปพบแพทย์เพื่อใช้โลชั่นที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ที่มีฤทธิ์อ่อนๆ ทาได้

การป้องกัน ผื่นชนิดนี้ไม่มีแนวทางป้องกันใดๆ ที่เห็นผลอย่างชัดเจน

ปัญหาผิวหนัง2.โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

เป็นโรคผื่นแพ้ทางผิวหนังที่เรื้อรังที่สุดในเด็ก สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน และจากปัจจัยทางพันธุกรรม โดยเฉพาะด้านภูมิแพ้ในครอบครัวเป็นปัจจัยหลัก ร่วมกับการมีปัจจัยกระตุ้นทางด้านอื่นๆ เช่น อาหาร สภาพอากาศ อากาศร้อนหรือเย็น ไรฝุ่น สาร หรือสิ่งระคายเคือง การติดเชื้อ เป็นต้น

อาการ จะมีอาการคันมาก ร่วมกับมีผิวแห้ง และมีการกระจายตัวของผื่นแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ในวัยทารกจะเริ่มมีอาการช่วงอายุ 2 – 3 เดือนขึ้นไป ผื่นจะกระจายตัวตามบริเวณแก้ม ด้านนอกของแขนและขาที่สัมผัสสารระคายเคือง อาจพบผื่นที่ใบหู หนังศีรษะ และตามตัวด้านหน้าได้ ส่วนในวัยเด็กโต ผื่นจะขึ้นตามคอ ข้อพับ แขนและขา

การรักษา เบื้องต้นควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และควรวินิจฉัยแยกจากโรคอื่นๆ รวมทั้งหาสาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ผื่นเห่อมากขึ้น ซึ่งส่วนมากเมื่อได้รับคำวินิจฉัยแล้ว แพทย์มักจะต้องให้ยา 3 กลุ่มหลักคือ 1) ยาทาที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ 2) ยาลดอาการคัน และ 3) ยาปฏิชีวนะ ถ้ามีอาการแสดงของการติดเชื้อร่วมด้วย

การป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ผื่นกำเริบ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีประวัติชัดเจน เช่น การแพ้อาหาร แพ้เหงื่อหรือสารเคมีอื่นๆ และควรหลีกเลี่ยงการขัดถูผิว หรือการอาบน้ำบ่อยเกินไป ไม่ควรอาบน้ำที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป เพราะทำให้ผิวหนังแห้งมากขึ้น และควรทำให้ผิวหนังทั่วตัวชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยการทาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวทันทีหลังอาบน้ำ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “ปัญหา “ผิวหนัง” ยอดฮิตของลูกเบบี๋ รับมือได้” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up