วัคซีน คือ ยาป้องกันภัยของลูกน้อย
เมื่อทารกน้อยเกิดมายังมีร่างกายบอบบางอ่อนแอ ไม่สามารถป้องกันสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากครรภ์ของมารดา ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นควัน มลพิษ และจุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัว คุณหมอจึงต้องให้ “วัคซีน” ภูมิคุ้มกันชั้นดี เปรียบเสมือนฮีโร่ต่อสู้และเกราะกำบังป้องกันโรคภัยต่าง ๆให้ลูกน้อยค่ะ
แม้ว่าเด็กจะได้รับภูมิต้านทานผ่านสายรกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาแล้ว แต่ภูมิต้านทานจะค่อย ๆ ลดและหมดไป ตอนอายุ 6 เดือน ดังนั้นเด็กจึงต้องต้องฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยให้เด็ก ฉีดวัคซีน พื้นฐาน 6 ชนิด สำหรับป้องกัน 10 โรค ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง เพื่อให้เด็กทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรง และมีภูมิต้านทานต่อโรคได้ดี สามารถแบ่งได้ตามวัย ดังนี้…
บีซีจี (BCG)
วัณโรค สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการหายใจหรือเข้าทางบาดแผล เด็กจึงต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ที่บริเวณไหล่ซ้าย ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด เพื่อป้องกัน การอาเจียน มีไข้ ปวดศีรษะรุนแรง และคอแข็ง
ตับอักเสบบี (HBV)
เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องไปพบคุณหมอเพื่อฝากครรภ์และตรวจเลือด เพื่อหาภาวะ การติดเชื้อโรคต่าง ๆ รวมทั้งพาหะไวรัสตับอักเสบบีด้วย เพราะโรคตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ตั้งแต่ในครรภ์ผ่านสายรก ถ้าคุณแม่มีเชื้อ (พาหะ) เด็กต้อง ฉีดวัคซีนชนิดนี้ตั้งแต่เกิด, 1 และ 6 เดือน หรือฉีดเป็น วัคซีนรวมกับคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน ตอนติดเชื้อแล้ว แรก ๆ จะไม่แสดงอาการ แต่เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเพื่อทำลายเซลล์ ตับจนตับ อักเสบ ตับแข็ง และเป็นโรคมะเร็งตับได้
อ่านต่อ >> “วัคซีนพื้นฐานที่ลูกน้อยต้องได้รับ” คลิกหน้า 2
คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดเซลล์ (DTwP)
- โรคคอตีบ น้ำลายจากการไอ จาม หรือน้ำมูกของผู้ป่วย เป็นอีกสิ่งที่เด็กควรระวังพาหะ เพราะเมื่อเด็กได้รับเชื้อแบคทีเรียแล้วจะมีเยื่อสีขาวปนเทาอุดหลอดลม จนเกิดอาการเจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก ไอ มีไข้ต่ำ ๆ และหลอดลมอักเสบ
- โรคบาดทะยัก เด็กเล็กอยู่ในวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นกับสิ่งรอบตัวมากจึงชอบเล่นซุกซนตามที่ต่าง ๆ จนบางครั้งเกิดบาดแผลโดยไม่รู้ตัวทำให้ เชื้อบาดทะยักที่อยู่ในบริเวณนั้นเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล และปล่อยสารพิษ จับกับเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้อของเด็กหดเกร็งตลอดเวลา
- โรคไอกรน เชื้อแบคทีเรียที่มากับละอองอากาศเล็ก ๆ จากการไอ หรือจามของผู้ป่วย รวมทั้งปะปนมากับเสมหะ นํ้ามูก และนํ้าลายของผู้ป่วย อาจจะทำให้เด็กไอค๊อกไอแค๊กเป็นชุด ๆ ติดต่อกัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้นจนหายใจไม่ทัน สลับกับการหายใจเข้าลึก ๆ จนมีเสียงดังวู๊ป เด็กต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนรวม 3 โรค จำนวน 3 ครั้ง และฉีดกระตุ้นอีก 2 ครั้ง หลังจากนั้นควรฉีดวัคซีนบาดทะยักและคอตีบ (Td) กระตุ้นซ้ำทุก ๆ 10 ปี (อ่านต่อบทความ >> ฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน ให้ครบ ป้องกันลูกป่วย )
โปลิโอชนิดกิน (OPV)
คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถรู้ว่าอาหารและน้ำดื่มที่ลูกรับประทานเข้าไปนั้นสะอาดเสมอไป เพราะอาจมีเชื้อไวรัสโปลิโอเล็ก ๆแฝงอยู่ในนั้น เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปทำลายเซลล์ประสาทไขกระดูกสันหลังและระบบประสาทต่าง ๆ จนกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นอัมพาตได้ เด็กต้องกินหรือหยอดวัคซีนชนิดนี้เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน แล้วต้องหยอด เพื่อกระตุ้นอีก 2 ครั้ง คือ 18 เดือน และในช่วง 4-6 ปี
อ่านต่อ >> “วัคซีนพื้นฐานที่ลูกน้อยต้องได้รับ” คลิกหน้า 3
หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR)
- โรคหัดและโรคหัดเยอรมัน แม้ทั้ง 2โรค จะมีชื่อเรียกคล้าย ๆ กัน แต่เกิดจากเชื้อไวรัสคนละตัว เมื่อติดเชื้อหัดเยอรมันเด็กจะมีไข้สูง 1 -2 วัน และผื่นขึ้น 3-5 วัน แล้วยุบได้เองโดยไม่เหลือรอยทิ้งไว้แตกต่างจากหัด ที่เด็กจะมีไข้ 3-4 วัน และจะมีผื่นขึ้นทั้งตัวเมื่อยุบแล้วจะเหลือรอยสีน้ำตาลทิ้งไว้ แม้ว่าอาการหัดเยอรมัน จะรุนแรงน้อยกว่าหัด แต่หากมารดาติดเชื้อตั้งแต่ท้องอาจจะทำให้ลูกในครรภ์พิการได้ เด็กควรรับการฉีดวัคซีนเมื่ออายุ9-12 เดือน ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถป้องกันได้ตลอดไป
- โรคคางทูม เด็ก ๆ รู้ไหมว่าเพียงแค่ผู้ป่วยโรคนี้ไอหรือจามใส่หน้า หรือเผลอไปสัมผัสสิ่งของจะทำให้เชื้อไวรัสเข้าร่างกายทำให้ต่อมน้ำลายบริเวณแก้มหน้าหู เหนือขากรรไกร (พาโรติด) บวมอักเสบ จนโย้ลงมากลายเป็นคางทูมได้ เด็กจะต้องฉีดวัคซีนแบบวัคซีนรวม 3 โรค เมื่ออายุ 9-12 เดือนขึ้นไป และฉีดวัคซีนกระตุ้น เมื่ออายุ 4-6 ปี
อ่านต่อ >> “วัคซีนพื้นฐานที่ลูกน้อยต้องได้รับ” คลิกหน้า 4
ไข้สมองอักเสบเจอี (JE)
โรคของสัตว์บางชนิดที่ระบาดมายังคนได้โดยติดต่อผ่านทางยุงตัวเล็ก ๆ ที่บินไปกัดสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบอยู่ ได้แก่ หมู วัว ม้า และควาย ทำให้ได้รับเชื้อไวรัสเข้ามาทางเลือด แล้วเมื่อยุงบินมากัดเด็กเชื้อเหล่านั้นจะเข้ามาในร่างกายของเด็กและแบ่งจำนวนเพิ่มจำนวนเรื่อย ๆ จนเด็กรู้สึกปวดศีรษะ อาเจียน และมีไข้สูง ตลอดเวลา ถ้าเชื้อแบ่งตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขึ้นสมองเมื่อไหร่จะทำให้เด็กเป็นโรคไข้สมองอักเสบจนเด็กเสียชีวิตได้
- เด็กจะต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ 2 เข็ม ระหว่างอายุ 9-18 เดือน โดยฉีดเข็มที่ 1 และ 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2-2 1/2 ปีนอกจากนี้ยังมีวัคซีนที่สะดวก คือ วัคซีนรวม ซึ่งเป็นวัคซีน รวมโรคหลาย ๆ ชนิดไว้ในเข็มเดียวกัน เพื่อให้เด็กได้รับการคุ้มกันต่อหลายโรคได้รอบด้านมากขึ้นและยังทำให้ได้เจ็บตัวน้อยลง
หากทราบแล้วว่าวัคซีนพื้นฐาน 6 ชนิดให้ลูกน้อยสำคัญอย่างไรและมีอะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจาก Amarin Baby & Kids
อ่านต่อบทความน่าสนใจอื่นๆ
คลิก >> ตารางการฉีดวัคซีน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 ขวบ ประจำปี 2559
คลิก >> รวมแพ็คเกจค่าฉีดวัคซีนเหมาจ่าย สำหรับลูกน้อยประจำปี 2559
คลิก >> เคล็ดลับ ปราบอาการเจ็บของลูกหลังฉีดวัคซีน
คลิก >> วัคซีนสำหรับแม่ท้อง ฉีดอย่างไรให้ปลอดภัย
คลิก >> พาลูกไปฉีดวัคซีน เรื่องความสะอาดที่คุณแม่ต้องระวัง
คลิก >> ฉีดวัคซีนแล้วตาย เพราะลูกน้อยแพ้วัคซีน กรณีที่ไม่ควรประมาท
ขอบคุุณที่มาบทความจาก www.maeban.co.th