โรคหน้าฝนในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง
โรคหน้าฝนในเด็ก

โรคหน้าฝนในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง

event
โรคหน้าฝนในเด็ก
โรคหน้าฝนในเด็ก

จากสภาพอากาศในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตก กระจายความเปียกชื้นไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ถือเป็นฤดูร่าเริงของเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคหน้าฝนในเด็ก เพราะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากภูมิต้านทานร่างกายยังไม่แข็งแรง อาจติดเชื้อได้ง่าย

โรคหน้าฝนในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง

นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์สาขาโรคติดเชื้อ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึงโรคหน้าฝนที่เด็กๆ เสี่ยงมากที่สุดเอาไว้ ดังนี้

1.ไข้หวัดใหญ่

โรคหน้าฝนในเด็ก

โรคหน้าฝนในเด็ก โรคนี้พบบ่อยในทุกเพศทุกวัย เกือบทั้งปี เพราะไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ซึ่งเป็นมากในช่วงหน้าฝน เด็กจะมีอาการตัวร้อน 2 – 3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่น แตกต่างจากหวัดธรรมดาตรงที่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน และอันตรายถึงชีวิต

ประเทศไทยพบไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งเป็นโรคที่กลายพันธุ์มาจากไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ได้รับเชื้อจากสัตว์ เช่น นก หรือหมู ความรุนแรงของโรคไม่ต่างกันมากนัก

อาการ มีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ เด็กอายุน้อยวกว่า 5 ขวบ หรือมีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน มีโอกาสเสี่ยงอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น

การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ควรฉีด 1-2 เดือน ก่อนฤดูกาลระบาดของโรคทุกๆ ปี สามารถฉีดได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ถ้าเป็นแล้วให้หลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย สวมหน้ากาก ล้างมือ ทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย จะช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้

 

2.มือ เท้า ปาก

โรคหน้าฝนในเด็ก

เกิดจากเชื้อไวรัส พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฤดูฝน พบมากในเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี อาการมักหายไปเอง 3 – 10 วัน ติดต่อทางการไอ จาม น้ำลาย อุจจาระ มีระยะฟักตัว 3-6 วัน พบเชื้อทางน้ำลาย 2 – 3 วัน ก่อนมีอาการจนถึง 1 – 2 สัปดาห์หลังมีอาการ

อาการ มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า แผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางคนอาจมีผื่นที่ขา เมื่อเป็นแล้วเด็กบางคนจะรับประทานอาหารและน้ำไม่ค่อยได้ เพราะเจ็บปากมาก แม่แต่น้ำลายก็ไม่กลืน ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ อย่าให้มีไข้สูงเกินไป เพราะอาจชักได้ บางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ คุณพ่อ คุณแม่ต้องสังเกตอาการ รีบพาไปหาหมอทันที

การป้องกัน ดูแลเรื่องอาหาร น้ำดื่ม ไม่ควรให้ลูกอยู่ในสถานที่แออัด ควรมีกระติกน้ำ หรือแก้วส่วนตัวเอาไว้ไปใช้ที่โรงเรียน ฝึกให้ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน

3.ไข้เลือดออก

โรคหน้าฝนในเด็ก

ยุงลาย เป็นพาหะนำโรค มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ระบาดได้ทั้งปี โดยเฉพาะหน้าฝน เพราะน้ำขังมาก

อาการ ถ้าได้รับเชื้อแล้วไข้จะสูงเกิน 3 วันขึ้นไป กินยาลดไข้เท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง ตาแดง ปากแดง ส่งผลให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้ปวดท้อง โดยเฉพาะชายโครงด้านขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งของตับ เพราะตับโต จะมีอาเจียนร่วมด้วย พร้อมทั้งภาวะขาดน้ำ

การป้องกัน อย่าให้ยุงกัด จำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อย่ารอให้เกิดอาการรุนแรงแล้วรักษา เช่น ไข้สูงเกินไป ช็อก หรือเลือดออกง่าย ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที

อ่านต่อ “ไข้เลือดออก และอีสุกอีใส” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up