AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกติดเชื้อ เพราะดูดนมผิดวิธีจริงหรือไม่?

มีคุณแม่คนหนึ่ง เล่าประสบการณ์ของลูกน้อยวัย 18 วัน ที่มีอาการไข้ในช่วงเวลากลางคืนมาแล้ว 2 คืน คุณแม่จึงพาลูกน้อยไปหาหมอ เพราะสังเกตเห็นความผิดปกติที่ท้องของลูกน้อย ที่มีลักษณะโตใสผิดปกติ เบื้องต้นคุณหมอสันนิษฐานว่า ลูกติดเชื้อเพราะดูดนมผิดวิธี เพราะมีลมเต็มท้อง

ลูกติดเชื้อเพราะดูดนมผิดวิธี

คุณแม่เล่าว่าลูกน้อยชอบดูดลมเข้าไปก่อนแทบทุกครั้งที่จะดูดนมแม่ ทำให้ลมเข้าท้องมากเกินไป คุณแม่คิดว่าการพาลูกน้อยมาที่โรงพยาบาลอาจจะทำให้เชื้อโรคเข้าเด็กแรกเกิดได้ง่าย คุณแม่รู้สึกสงสารลูกมาก

หลังจากนั้นไม่นาน คุณหมอแจ้งว่าลูกน้อยติดเชื้อในกระแสเลือด ยังต้องรอผลเพาะเชื้ออีก 3 วันทำการ ส่วนการรับประทานลมเข้าไปนั้น ไม่มีผลต่อการที่ทำให้ลูกน้อยท้องอืดจนโตผิดปกติ เพราะสาเหตุการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้หลายทางมาก

อัปเดตข้อมูลเพิ่มเติม (21 ก.พ. 60)

คุณแม่อัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมว่า  โรคนี้คุณหมอหาสาเหตุไม่ได้ ว่าที่น้องป่วยเกิดจากอะไร เพราะสามารถติดต่อได้หลายทางมาก

จากประสบการณ์ของคุณแม่ เรามาดูกันว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้น เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เพื่อที่คุณพ่อ คุณแม่จะได้ช่วยกันป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเจ็บป่วยแบบในกรณีนี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากอะไร” คลิกหน้า 2

ติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากอะไร?

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คืออาการติดเชื้อที่สามารถทำลายระบบภายในอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลเฉียบพลัน และถ้าเชื้อนั้นมีความรุนแรง ก็อาจคร่าชีวิตได้ในเวลาอันสั้น เพราะเลือดคือองค์ประกอบหลักของร่างกายที่ไหลไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ

การติดเชื้อไม่ว่าจะติดเชื้อจากส่วนใดของร่างกาย ถ้ามีการอักเสบ หรือติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเข้ากระแสเลือด และทำให้เกิดภาวะช็อกจนเสียชีวิตได้

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และมักจะติดเชื้อแค่เพียงตัวเดียว รองลงมาคือเชื้อรา เชื้อไวรัส และก็มีบางกรณีที่ติดเชื้อหลายๆ ชนิดได้เช่นกัน

เชื้อในกระแสเลือดมีเชื้ออะไรบ้าง?

การติดเชื้อในกระแสเลือดส่วนใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายชนิด และอาจเป็นการติดเชื้อที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1.เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ (Gram negative bacteria)

2.เชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Gram positive bacteria)

3.เชื้อแบคทีเรียชนิด Classic pathogens เช่น H.influenzae, Neisseria, meningitidis, Streptococcus pyogenes และ S.pneumoniae

4.เชื้อรา

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ใครมีความเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด” คลิกหน้า 3

ใครมีความเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด?

ถึงแม้ว่าจะมียาปฏิชีวนะชนิดใหม่จำนวนมาก และเทคโนโลยีทางการแพทย์ก็ก้าวไกล แต่การติดเชื้อในกระแสเลือดก็ยังเป็นสาเหตุต้นๆ ที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิต ซึ่งคนที่มีความเสี่ยง ได้แก่

1.เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มร่างกายไม่แข็งแรง

2.คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เคมีบำบัด หรือเป็นโรคเม็ดเลือดขาวบางชนิด ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงพอ อาจติดเชื้อ หรือเกิดอักเสบได้ง่าย

3.ผู้ป่วยที่ต้องใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกาย เช่น ท่อช่วยหายใจ สายปัสสาวะ ใส่ท่อเข้าหลอดเลือดเพื่อให้สารอาหาร และน้ำต่างๆ หรือมีสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย เช่น ลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น

4.คนที่ช้าปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ตัวยาอาจเข้าไปทำลายแบคทีเรียชนิดที่ดีต่อร่างกาย ตัวที่ช่วยกำจัดเชื้อราบางชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด

5.การติดเชื้อทางผิวหนัง เช่น ถูกไฟไหม้ เกิดแผลถลอกขนาดใหญ่ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่าย

อาการเมื่อติดเชื้อในกระแสเลือด

1.มีไข้สูงกว่า 38 องศา หรือร่างกายมีอุณภูมิต่ำกว่า 36 องศา หรืออาจไม่มีไข้แต่ติดเชื้อรุนแรง

2.หัวใจเต้นเร็วกว่า 90 ครั้งต่อนาที หายใจเร็วกว่า 20 ครั้งต่อนาที หรือวัดความดันเลือดมากกว่า 32 มิลลิเมตรปรอท

3.ตรวจพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 12,000 ตัวต่อมิลลิลิตร หรือน้อยกว่า 4,000 ตัวต่อมิลิลิตร อาการนี้อาจพบในผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็ได้

4.คนที่ติดเชื้อที่ปอด จะมีไข้สูง ไอมีเสมหะเล็กน้อย น้ำหนัดลด อาจไอมีเสมหะปนเลือด บางคนมีอาการปวดท้อง แสดงถึงภาวะติดเชื้อในช่องท้อง แต่อาจเป็นโรคปอดอักเสบก็ได้ บางคนมีอาการปวดหลังรุนแรง เพราะติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลัง บางคนอาจแสดงอาการไม่ชัดเจน เช่น คนเป็นโรคเบาหวาน อาจมีฝีในตับจากการติดเชื้อ โดยที่ไม่มีอาการปวดท้องเลย

5.รอยโรคที่ผิวหนัง ส่วนใหญ่จะเป็นตุ่มหนอง ผื่นแดง เกิดจากการกระจายเชื้อมาที่ผิวหนังโดยตรง

6.บางคนพบความดันเลือดตก ส่งผลให้อวัยวะภายในได้รับเลือดและออกซิเจนไม่เพียงพอ อาจมีอาการสับสน กระวนกระวาย หมดสติ มีปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลย และอาจหายใจหอบ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงแค่ไหน” คลิกหน้า 4

ติดเชื้อในกระแสเลือดแค่ไหนคือรุนแรง?

จริงๆ แล้วร่างกายคนเราเจอเชื้อโรคทุกวัน แต่ภูมิคุ้มกันของเราสามารถกำจัดเชื้อเหล่านั้นได้ ถ้าร่างกายแข็งแรงพอ แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อโดยการหลั่งเม็ดเลือดขาวออกมามากเกินไป อาจก่อภาวะหลอดเลือดรั่ว หรือภาวะเกล็ดเลือดเกาะตัวจนขัดขวางทางเดินเลือด และออกซิเจน

อาจทำให้มีความดันเลือดต่ำ ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลว ซึ่งถือว่าเข้าขั้นวิกฤต ควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด ถ้าเชื้อโรคนั้นเกิดดื้อยา หรือเชื้อนั้นมีความรุนแรงเกินกำลังที่เม็ดเลือดขาวจะกำจัดได้ หรือรักษาช้าเกินไป อาจทำให้ตกอยู่ในภาวะฉุกเฉิน และอาจเสียชีวิตจากการทำงานในร่างกายล้มเหลวได้

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งในทุกๆ วันคุณพ่อ คุณแม่ และลูกน้อยจะต้องจะต้องพบเจอกับเชื้อโรค และเชื้อแบคทีเรีย จึงต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายด้วยการดูแลตัวเอง ดังนี้

1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลูกน้อยควรได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

2.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะลูกน้อยควรนอนหลับให้เพียงพอตามช่วงวัย

3.ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในกระแสเลือด

4.หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

5.หมั่นสังเกตสุขภาพร่างกายของทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะลูกน้อย เมื่อเกิดความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ การติดเชื้อในกระแสเลือดนั้น สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

เครดิต: ขวัญไง จะใครล่ะ, กระปุกดอทคอม, หมอชาวบ้าน, สำนักระบาดวิทยา, กรมการแพทย์

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะแม่ล้างมือไม่สะอาด

ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะถูกคนอื่นหอม

ทารกแรกเกิด “ติดเชื้อในกระแสเลือด” อันตราย..แต่ป้องกันได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save