ยุง เป็นสัตว์ตัวเล็กก็จริงแต่กลับมีพิษสงอยู่ไม่ใช่น้อย มียุงบางพันธุ์ยังเป็นพาหะนำโรคไข้ซิกา ไข้เลือดออก หรือไข้มาลาเรีย และคร่าชีวิตมนุษย์ตัวโตอย่างเรา ๆ มานับไม่ถ้วน
โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ทารกตัวน้อย และเด็ก ๆ มีโอกาสเสี่ยงกับโรคเหล่านั้นมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องระวังตัว และหา ยากันยุง วิธีจัดการหรือป้องกันเจ้าตัวต้นเหตุของโรคร้ายนี้
ข้อควรรู้…ก่อนจะใช้ยากันยุง
ในยากันยุงทั่วไปจะมีสารเคมีที่เป็นสารออกฤทธิ์คือ DEET (ชื่อทางเคมี N,N-diethyl-meta-toluamide or N,N-diethyl-3-methylbenzamide) เป็นสารสำคัญที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ซึ่งผลิตออกมาในหลายรูปแบบ เช่น โลชั่นสเปรย์ โดยปริมาณ DEET ที่ใช้ทาผิวหนังและใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงคือ 4-100% โดยปกติร่างกายของคนเราจะส่งกลิ่นออกมามาก ซึ่งจะปล่อยสารประกอบต่าง ๆ ออกมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน กลิ่นเหล่านี้ก็จะเป็นตัวล่อให้ยุงเข้ามากัด นักวิทยาศาสตร์ได้ติดตามปฏิกิริยาทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทรับกลิ่นของยุงเมื่อปล่อยให้มันได้กลิ่นของ DEET และพบว่า DEET ช่วยปกปิดกลิ่นเหงื่อของร่างกายจากยุงได้ แต่ไม่สามารถปกปิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจได้
ความเข้มข้นของ DEET ในผลิตภัณฑ์ไล่ยุงอยู่ระหว่าง 5-25% โดยน้ำหนัก ปริมาณ % ที่มากขึ้นไม่ได้หมายถึงประสิทธิภาพในการไล่ยุงจะมากขึ้น แต่หมายถึงระยะเวลาในการป้องกันยุงนานขึ้น เช่นที่ 6% จะป้องกันยุงได้ 2 ชั่วโมง ในขณะที่ 20% จะป้องกันยุงได้ 4 ชั่วโมง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้ ยาทากันยุงที่มี DEET เป็นองค์ประกอบ
หากคุณพ่อคุณแม่ พลั้งเผลอหรือไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาทากันยุงที่มี DEET อย่างถูกวิธี ก็อาจได้รับผลข้างเคียงจาก DEET อันได้แก่ ลมพิษ ผื่นแดง ระคายเคือง ปากชา หรือยิบๆ มึนงง ไม่มีสมาธิ ปวดหัว คลื่นไส้
- หากใช้ DEET ทา ในความเข้มข้นสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจพบอาการที่รุนแรงขึ้นเช่น เป็นตุ่มน้ำพุพอง, ผิวไหม้ แผลเป็นถาวร
- หากรับประทาน DEET เข้าไป ในปริมาณเล็กน้อย เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาการที่พบได้แก่ ปวดท้อง อาเจียน คลื่นไส้ หากรับประทาน DEET ในปริมาณมาก จะทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง, หัวใจเต้นช้าลง มีการทำลายระบบประสาท ได้แก่ disorientation, ชัก , coma, เสียชีวิต
อ่านต่อ >> “ข้อห้ามสำคัญในการใช้ผลิตภัณฑ์กันยุง” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ข้อห้ามสำคัญในการใช้ผลิตภัณฑ์กันยุง
- ห้ามรับประทานเด็ดขาด
- ห้ามใช้สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี และหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร
- ห้ามทาหรือฉีดพ่นบริเวณบาดแผลหรือผิวหนังที่มีผื่นหรือการอักเสบ
- ห้ามทาหรือฉีดพ่นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น เปลือกตา ขอบตา ริมฝีปาก รักแร้
- ถ้าใช้แล้วเกิดผื่นหรือเกิดผลข้างเคียง ควรล้างออกด้วยน้ำสบู่ แล้วไปพบแพทย์พร้อมกับนำผลิตภัณฑ์ไปด้วย
สารสกัดจากพืชที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์กันยุง
นอกจากผลิตภัณฑ์กันยุง จะมี DEET ยังมีส่วนผสมตัวอื่นๆ ด้วยทั้งน้ำและแอลกอฮอล์ รวมไปถึงสารสกัดหรือน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชต่างๆ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยป้องกันยุงและแมลงได้ เช่น
- น้ำมันตะไคร้หอม
- น้ำมันหอมระเหยมะนาวเหลือง
- น้ำมันหอมระเหยส้ม
- น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส
- น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์
- น้ำมันหอมระเหยสะระแหน่
แล้วจะมีผลิตภัณฑ์กันยุง แบบไหนที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับทุกคน
ในครอบครัวบ้าง ตามไปดูกันค่ะ
> ตารางเทียบรายละเอียดของสเปรย์กันยุง ตามฉลากบนบรรจุภัณฑ์ <
(คลิกที่นี่!! เพื่อขยายภาพตาราง ขนาดใหญ่)
สามารถดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดในตาราง ไฟล์ PDF ได้ด้านล่างนี้เลยค่ะ
>> ตารางเทียบรายละเอียดของสเปรย์กันยุง 1 <<
อ่านต่อ >> “ตารางเทียบรายละเอียดของแผ่นแปะกันยุง” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
> ตารางเทียบรายละเอียดของสเปรย์กันยุง ตามฉลากบนบรรจุภัณฑ์ <
(คลิกที่นี่!! เพื่อขยายภาพตาราง ขนาดใหญ่)
สามารถดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดในตาราง ไฟล์ PDF ได้ด้านล่างนี้เลยค่ะ
>> ตารางเทียบรายละเอียดของสเปรย์กันยุง 2 <<
> ตารางเทียบรายละเอียดของแผ่นแปะกันยุง <
(คลิกที่นี่!! เพื่อขยายภาพตาราง ขนาดใหญ่)
สามารถดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดในตาราง ไฟล์ PDF ได้ด้านล่างนี้เลยค่ะ
>> ตารางเทียบรายละเอียดของแผ่นแปะกันยุง <<
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!