AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

CDC แนะนำการเก็บรักษาสต๊อกนมแม่แบบใหม่

CDC แนะนำการเก็บรักษาสต๊อกนมแม่แบบใหม่

ข้อมูลจากเพจคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ มีคำแนะนำล่าสุดจากหน่วยงานควบคุม และป้องกันโรค CDC เกี่ยวกับ การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่ แบบใหม่ที่พึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยขอให้ยกเลิกการปฏิบัติตามคำแนะนำเดิม และใช้คำแนะนำแบบใหม่นี้เท่านั้น

การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่ แบบใหม่

เนื่องจากมีเด็กติดเชื้อจากการล้าง และนึ่งภาชนะเพียงวันละ 1 ครั้ง ถึงแม้ว่าคุณแม่ส่วนใหญ่เคยทำมาแล้ว แต่ไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นมา ก็อาจจะต้องรู้สึกเสียใจ เช่นเดียวกับการรับบริจาคนมแม่ของผู้อื่น โดยไม่ได้ผ่านธนาคารนมแม่ ถ้ามีคุณแม่ที่เป็นเอดส์แล้วบริจาคนม แม้เพียงคนเดียว คุณแม่ก็คงจะเสียใจ สำหรับวิธีการเก็บรักษาสต๊อกนมแม่ มีดังนี้

1.ล้างมือทุกครั้งก่อนปั๊มนม หรือเตรียมนมให้ลูกกิน

2.เตรียมภาชนะเก็บนมที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรค และได้มาตรฐาน เช่น ขวดพลาสติกที่ไม่มีสาร BPA มีฝาปิดสนิท และถุงเก็บนมที่มีมาตรฐาน ไม่ใช่ถุงพลาสติกใส่อาหาร

3.ถ้านำลูกไปฝากผู้อื่น และผู้อื่นเป็นคนให้นม เช่น เนอสเซอรรี่ ควรเขียนชื่อลูกน้อย และวันที่กำกับข้างภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้สลับนมกับผู้อื่น

4.ไม่ควรเทนมที่พึ่งปั๊มใหม่ รวมกับนมที่แข็งแล้ว และไม่ควรเทนมที่ปั๊มได้ในแต่ละครั้งรวมเอาไว้ในขวดเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นนมที่ยังไม่แช่แข็ง และปั๊มเอาไว้ในวันเดียวกันก็ตาม

5.ไม่ควรนำนมมื้อต่อไป มาเทลงในขวดนมที่ลูกกินเมื่อมื้อก่อน สำหรับใช้ในมื้อถัดไป เพราะขวดนมจะมีแบคทีเรียในปาดลูกน้อยปนเปื้อนอยู่แล้ว ควรเปลี่ยนขวดนมใหม่ทุกครั้งที่กินนม

6.ทำความสะอาดกรวยปั๊มนม และขวดนมหลังใช้ทุกครั้ง การล้างและนึ่งเพียงวันละครั้ง โดยการใส่เอาไว้ในตู้เย็นเอาไว้ ยังไม่ปลอดภัยเพียงพอ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การทำความสะอาด และวิธีการเตรียมนมให้ลูกกิน” คลิกหน้า 2

สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการทำความสะอาด

#ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ล้าง และนึ่งได้ทุกครั้งจะดีที่สุด โดยเฉพาะกับเด็กที่ป่วย หรือคลอดก่อนกำหนดต้องล้าง และนึ่งทุกครั้ง

#ถ้าไม่มีเวลา แนะนำให้ซื้อกรวยปั๊มเผื่อไว้หลายๆ คู่ เหมือนกับซื้อขวดนมหลายๆ ใบ และเตรียมไปที่ทำงานครั้งละ 3 คู่ กลับถึงบ้านก็ล้าง และนึ่งไว้เตรียมใช้รอบดึก ตอนเช้าก็ล้าง และนึ่งเพื่อเตรียมไปทำงาน

#ถ้ามีไมโครเวฟที่บ้าน หรือที่ทำงาน แนะนำให้ซื้อถุงชนิดพิเศษที่สามารถใส่อุปกรณ์ เพื่อใช้กับไมโครเวฟได้ เพื่อฆ่าเชื้อแทนการนึ่ง โดยเติมน้ำลงไปในถุงแล้วใส่อุปกรณ์ที่ล้างแล้วลงไป นำเข้าไมโครเวฟ 3 นาที ถุงชนิดพิเศษสามารถช้ำได้ 20 ครั้ง

#ปัจจุบันมีสเปรย์ และผ้าเปียกที่มีน้ำยาทำความสะอาดขวดนม และจุกนมชนิดพกพา ซึ่งทำจากสารออร์แกนิค เข้าปากลูกได้ มีขายทั้งในอินเทอร์เน็ต และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ใช้ทำความสะอาดแทนการล้าง และนึ่งในกรณีที่ออกนอกบ้าน

วิธีการเตรียมนมให้ลูกกิน

1.ย้ายนมที่แช่แข็งลงมาที่ช่องน้ำเย็น ให้ละลายในตู้เย็น 1 คืน วันรุ่งขึ้นให้เทใส่ขวดสะอาดในปริมาณเท่ากับที่ลูกกินในแต่ละครั้ง ฝึกให้ลูกน้อยกินแบบเย็นๆ จะดีที่สุด ไม่ทำให้ป่วย หรือเป็นหวัด เพราะสารอาหารจะอยู่ครบถ้วน และมีกลิ่นหืนน้อยกว่านมอุ่น แต่ถ้าลูกน้อยไม่ยอมกิน ให้แช่ขวดนมในน้ำอุ่น หรือเปิดก๊อกน้ำ ให้น้ำไหลผ่านขวด แต่อย่าให้น้ำโดนบริเวณฝาขวด เพื่อปรับให้เป็นนมที่มีอุณหภูมิห้อง ห้ามอุ่นบนเตา หรือเข้าไมโครเวฟ

2.นมที่ละลายแล้ว ถ้ายังไม่ได้กิน จะตั้งอยู่ในอุณหภูมิห้องแอร์ได้ 6 – 8 ชั่วโมง ถ้ากินเหลือจะอยู่ได้เพียง 2 ชั่วโมง ให้ทิ้งได้เลย

3.นมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในช่องน้ำเย็นได้ 24 ชั่วโมง ห้ามนำกลับไปแช่แข็งอีกรอบ

***ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ ให้ยึดหลักตามเกณฑ์ข้างบนเท่านั้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การเก็บสต๊อกนมแม่ในกรณีฉุกเฉิน” คลิกหน้า 3

การเก็บสต๊อกนมแม่ในกรณีฉุกเฉิน

1.ถ้าทราบล่วงหน้าว่าจะไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าใช้ไม่ได้ ให้เตรียมเครื่องปั่นไฟ หรือใช้ที่ปั๊มนมแบบใช้มือโยก หรือแบบที่มีแบตเตอร์รี่ หรือฝึกบีบด้วยมือแทน

2.ถ้าทราบล่วงหน้า แล้วไม่อยากให้นมที่แช่แข็งอยู่ในตู้แช่ละลาย ให้เตรียมเครื่องปั่นไฟ หรือย้ายไปแช่ที่อื่น

3.ถ้าไม่ทราบล่วงหน้าว่าไฟฟ้าดับ และพบว่านมที่แช่แข็งละลายไปบางส่วนแล้ว แต่ยังมีเกล็ดน้ำแข็งอยู่เกินครึ่ง ให้รีบทำให้แข็งใหม่โดยเร็ว จะยังสามารถเก็บนมไว้ใช้ได้ และรีบใช้นมส่วนนี้ให้หมดก่อน เพราะอายุการเก็บจะไม่นานเท่าเดิม

4.ถ้านมไม่มีเกล็ดน้ำแข็งแล้ว ไม่สามารถกลับไปแช่แข็งได้อีก ถ้าไม่เย็นแล้วให้ทิ้งไปได้เลย ถ้ายังเย็นอยู่สามารถใช้ได้ภายใน 48 ชั่วโมง สำหรับเด็กปกติ ที่ไม่ใช่เด็กป่วย หรือคลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าเป็นเด็กป่วย หรือคลอดก่อนกำหนด สามารถใช้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง

เครดิต: เพจคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

รับมือนมแม่สต็อกในตู้เย็นละลาย ขณะฝนตกไฟดับ

Stock milk เคล็ดลับการจัดเก็บสต็อกนมแม่

ความจุในการเก็บน้ำนม ของเต้านมแม่มีเท่าไหร่?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save

Save

Save